ASTVผู้จัดการรายวัน - ในหลวงพระราชทานพระบรมราโชวาท 5 รัฐมนตรีใหม่ ให้ซื่อสัตย์และสุจริตต่อหน้าที่และต้องทำให้ได้จริง "รองฯ ไตรรงค์" น้อมรับกระแสพระราชดำรัส ระบุชี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือช่วยกันแก้เศรษฐกิจ เชื่อต่างชาติเข้าใจปัญหาการเมือง
วานนี้ (18 ม.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นำรัฐมนตรีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่ จำนวน 5 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่
โอกาสนี้ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ความว่า เป็นประเพณีที่รัฐมนตรีจะเข้ารับตำแหน่งก็ต้องปฏิญาณตนว่า จะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อันนี้ก็ไม่เป็นปัญหาว่า ควรจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ข้อสำคัญก็ขอให้ได้ทำได้จริง เพราะว่า ถ้าไม่ได้ทำก็จะมีการตำหนิ ติเตียนรัฐบาลทั้งรัฐบาล ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะไม่เป็นมงคล และจะเสียหาย ฉะนั้น ก็ขอให้ปฏิบัติตามที่ได้กล่าวตามคำปฏิญาณว่าจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และข้อนี้ ก็เป็นของธรรมดาที่รัฐมนตรี และคณะรัฐบาล
หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้นำรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข และนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่แล้ว ได้เดินทางโดยรถตู้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมสตรีถึงทำเนียบรัฐบาล
นายชินวรณ์ บุณเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนรับใส่เกล้าฯ และจะนำพระราชดำรัสมาขยายผลในเรื่องของความซื่อสัตย์ต่อตนเองของเด็กและเยาวชน โดยจะเดินทางเข้ากระทรวงศึกษาธิการในวันที่ 19 มกราคม เวลา 07.19 น. เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพบปะข้าราชการผู้ใหญ่ในกระทรวง ก่อนจะเดินทางมาเข้าร่วมประชุม ครม.นัดแรก
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทำประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวม เมื่อเป็นประโยชน์กับส่วนรวมแล้ว จะเป็นประโยชน์กับตัวเองด้วย และหากประโยชน์สุขเกิดแก่ประชาชนแล้วนั่นจะหมายถึงความสุขของคนทำงานที่จะได้รับด้วย ตนมีความพร้อมเต็มที่ และมั่นใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ได้
**"ไตรรงค์" ชี้ต้องช่วยกันแก้ ศก.
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พร้อมน้อมรับกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานในหลายเรื่อง โดยเน้นเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต เนื่องจากพระองค์ได้เน้นหลายครั้งซึ่งฟังแล้วเป็นมงคล เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีจะนำแนวทางพระราชดำรัสไปปฏิบัติอย่างไร นายไตรรงค์ กล่าวว่า มีหลายเรื่องที่ตนจะนำใส่เกล้าฯไปปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องทำอย่างจริงจัง
เมื่อถามว่า แนวนโยบายเร่งด่วนในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจต้องทำอย่างไรบ้าง นายไตรงรงค์ กล่าวว่า เรื่องนโยบายไม่มีอะไรก่อนหลัง แต่ต้องทำไปพร้อมๆกัน ยอมรับว่าเศรษฐกิจโดยรวมของโลกดีขึ้น จึงทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว คาดว่าในปี 2553 เศรษฐกิจไทยจะเป็นบวก ส่วนจะบวกสามหรือบวกสี่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลก เพราะ 70 % ของเศรษฐกิจไทย ต้องพึ่งตลาดโลก โดยเฉพาะการส่งออก ถ้าเศรษฐกิจโลกทรุด เศรษฐกิจไทยก็ทรุดตาม
"แต่เชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นอย่างช้าๆ เป็นรูปไปน์เชฟ คือ ผลสะท้อนที่ได้รับจะยาวกว่า ซึ่งเราจะไปคาดหวังกลุ่มประเทศจี 3 คืออเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศอียูมากไม่ได้ เพราะคำสั่งซื้อเพิ่มมาก จึงต้องหันกลับมามองตลาดเอเชียและอาหรับ นี่คือเรื่องแรกที่รัฐบาลต้องดำเนินการ เรื่องที่สองต้องดูอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศจี 3 ถ้าเกิดปัญหาเงินเฟ้อจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยดังนั้น 6 เดือนแรก คงจะไม่ส่งผลกระทบ" นายไตรรงค์ กล่าวและว่า
ส่วนเรื่องที่สามต้องคำนึงถึงปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลง จึงต้องจับตาเฝ้าระวัง และเรื่องที่สี่ปัญหามาบตาพุด รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจและมีแนวทาง มีกฎเกณฑ์นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้นักลงทุนได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะต้องดูสภาพแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนด้วย ไม่ใช่เน้นเฉพาะการลงทุนเท่านั้น
เมื่อถามว่า ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจมากมายรัฐบาลจะรับมือไหวหรือไม่ นายไตรรงค์ กล่าวว่า แนวทางการทำงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ตนจะแก้ไขโดยไม่ได้เป็นรองนายกฯด้านเศรษฐกิจเพียงคนเดียว แต่ได้บอกพรรคร่วมรัฐบาล และน้องๆพรรคภูมิใจไทย ให้ทุกคนเข้ามาช่วยทำงาน ทุกพรรคในสภา ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ทุกคนต้องร่วมมาเป็นรองนายกฯช่วยแก้ปัญหา เพราะชาติไม่ใช่ของคนชื่อไตรงรงค์คนเดียว
เมื่อถามว่า ประชาชนจะฝากความหวังไว้ในการแก้ปัญหาปากท้องไว้กับรองนายกฯชื่อไตรรงค์ได้หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า การแก้ปัญหาต้องแก้หลายคน ตนทำคนเดียวไม่ได้ แต่ตนเข้าใจแนวทางนี้ดี เพราะเรียนด้านเศรษฐศาสตร์ มา 40 ปี ทั้งปริญญาตรี โท และเอก ปัจจุบันก็เป็นประธานอนุกรรมาธิการเศรษฐกิจมหภาค ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรวมนักเศรษฐกิจมือหน่างของชาติมาอยู่ในกรรมการชุดนี้ และตนจะคัดเลือก คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ไม่เช่นนั้นจะโดนบ้องหู เพื่อเชิญมาเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ที่มาช่วยเพื่อชาติโดยไม่รับเงินเดือน
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว 3 - 3.5 จะสามารถทำได้หรือไม่ นายไตรงรงค์ กล่าวว่า เศรษฐกิจขยายตัวตามอัตราดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้
**การเมืองไม่กระทบต่างชาติ
นายไตรรงค์ กล่าวว่า ปัญหาการเมืองภายในไม่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนต่างชาติ เพราะเคยชินในระบอบประชาธิปไตย หากทุกกลุ่ม ทุกค่าย ทุกสี ชุมนุมภายใต้สิทธิ เสรีภาพของประชาชน โดยไม่ทำให้เกิดความรุนแรง ต่างชาติก็จะเข้าใจถึงการชุมนุมของทุกสี หากเป็นไปด้วยความสงบถือเป็นธรรมชาติของประชาชนที่สะท้อนรัฐบาลรับทราบ แต่ถ้ารุนแรงหรือทำผิดกฎหมาย ต่างชาติก็จะมองประเทศไทยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนไม่มีใครอยากมาลงทุน
เมื่อถามต่อว่า มองว่าการชุมนุมเพื่อหวังผลนำไปสู่ความแตกหักหรือไม่ นายไตรรงค์ กล่าวว่า การชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลปรับปรุงนโยบาย หรือเพื่อหวังผลในการเลือกตั้งครั้งหน้า ก็ยังอยู่ในเกมของระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้ายึดสถานที่ราชการก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย.
วานนี้ (18 ม.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นำรัฐมนตรีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่ จำนวน 5 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่
โอกาสนี้ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ความว่า เป็นประเพณีที่รัฐมนตรีจะเข้ารับตำแหน่งก็ต้องปฏิญาณตนว่า จะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต อันนี้ก็ไม่เป็นปัญหาว่า ควรจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ข้อสำคัญก็ขอให้ได้ทำได้จริง เพราะว่า ถ้าไม่ได้ทำก็จะมีการตำหนิ ติเตียนรัฐบาลทั้งรัฐบาล ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะไม่เป็นมงคล และจะเสียหาย ฉะนั้น ก็ขอให้ปฏิบัติตามที่ได้กล่าวตามคำปฏิญาณว่าจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และข้อนี้ ก็เป็นของธรรมดาที่รัฐมนตรี และคณะรัฐบาล
หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้นำรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข และนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่แล้ว ได้เดินทางโดยรถตู้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมสตรีถึงทำเนียบรัฐบาล
นายชินวรณ์ บุณเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตนรับใส่เกล้าฯ และจะนำพระราชดำรัสมาขยายผลในเรื่องของความซื่อสัตย์ต่อตนเองของเด็กและเยาวชน โดยจะเดินทางเข้ากระทรวงศึกษาธิการในวันที่ 19 มกราคม เวลา 07.19 น. เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพบปะข้าราชการผู้ใหญ่ในกระทรวง ก่อนจะเดินทางมาเข้าร่วมประชุม ครม.นัดแรก
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทำประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวม เมื่อเป็นประโยชน์กับส่วนรวมแล้ว จะเป็นประโยชน์กับตัวเองด้วย และหากประโยชน์สุขเกิดแก่ประชาชนแล้วนั่นจะหมายถึงความสุขของคนทำงานที่จะได้รับด้วย ตนมีความพร้อมเต็มที่ และมั่นใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ได้
**"ไตรรงค์" ชี้ต้องช่วยกันแก้ ศก.
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พร้อมน้อมรับกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานในหลายเรื่อง โดยเน้นเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต เนื่องจากพระองค์ได้เน้นหลายครั้งซึ่งฟังแล้วเป็นมงคล เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีจะนำแนวทางพระราชดำรัสไปปฏิบัติอย่างไร นายไตรรงค์ กล่าวว่า มีหลายเรื่องที่ตนจะนำใส่เกล้าฯไปปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องทำอย่างจริงจัง
เมื่อถามว่า แนวนโยบายเร่งด่วนในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจต้องทำอย่างไรบ้าง นายไตรงรงค์ กล่าวว่า เรื่องนโยบายไม่มีอะไรก่อนหลัง แต่ต้องทำไปพร้อมๆกัน ยอมรับว่าเศรษฐกิจโดยรวมของโลกดีขึ้น จึงทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว คาดว่าในปี 2553 เศรษฐกิจไทยจะเป็นบวก ส่วนจะบวกสามหรือบวกสี่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลก เพราะ 70 % ของเศรษฐกิจไทย ต้องพึ่งตลาดโลก โดยเฉพาะการส่งออก ถ้าเศรษฐกิจโลกทรุด เศรษฐกิจไทยก็ทรุดตาม
"แต่เชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นอย่างช้าๆ เป็นรูปไปน์เชฟ คือ ผลสะท้อนที่ได้รับจะยาวกว่า ซึ่งเราจะไปคาดหวังกลุ่มประเทศจี 3 คืออเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศอียูมากไม่ได้ เพราะคำสั่งซื้อเพิ่มมาก จึงต้องหันกลับมามองตลาดเอเชียและอาหรับ นี่คือเรื่องแรกที่รัฐบาลต้องดำเนินการ เรื่องที่สองต้องดูอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศจี 3 ถ้าเกิดปัญหาเงินเฟ้อจะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยดังนั้น 6 เดือนแรก คงจะไม่ส่งผลกระทบ" นายไตรรงค์ กล่าวและว่า
ส่วนเรื่องที่สามต้องคำนึงถึงปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลง จึงต้องจับตาเฝ้าระวัง และเรื่องที่สี่ปัญหามาบตาพุด รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจและมีแนวทาง มีกฎเกณฑ์นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้นักลงทุนได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะต้องดูสภาพแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนด้วย ไม่ใช่เน้นเฉพาะการลงทุนเท่านั้น
เมื่อถามว่า ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจมากมายรัฐบาลจะรับมือไหวหรือไม่ นายไตรรงค์ กล่าวว่า แนวทางการทำงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ตนจะแก้ไขโดยไม่ได้เป็นรองนายกฯด้านเศรษฐกิจเพียงคนเดียว แต่ได้บอกพรรคร่วมรัฐบาล และน้องๆพรรคภูมิใจไทย ให้ทุกคนเข้ามาช่วยทำงาน ทุกพรรคในสภา ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ทุกคนต้องร่วมมาเป็นรองนายกฯช่วยแก้ปัญหา เพราะชาติไม่ใช่ของคนชื่อไตรงรงค์คนเดียว
เมื่อถามว่า ประชาชนจะฝากความหวังไว้ในการแก้ปัญหาปากท้องไว้กับรองนายกฯชื่อไตรรงค์ได้หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า การแก้ปัญหาต้องแก้หลายคน ตนทำคนเดียวไม่ได้ แต่ตนเข้าใจแนวทางนี้ดี เพราะเรียนด้านเศรษฐศาสตร์ มา 40 ปี ทั้งปริญญาตรี โท และเอก ปัจจุบันก็เป็นประธานอนุกรรมาธิการเศรษฐกิจมหภาค ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งรวมนักเศรษฐกิจมือหน่างของชาติมาอยู่ในกรรมการชุดนี้ และตนจะคัดเลือก คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ไม่เช่นนั้นจะโดนบ้องหู เพื่อเชิญมาเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ที่มาช่วยเพื่อชาติโดยไม่รับเงินเดือน
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว 3 - 3.5 จะสามารถทำได้หรือไม่ นายไตรงรงค์ กล่าวว่า เศรษฐกิจขยายตัวตามอัตราดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้
**การเมืองไม่กระทบต่างชาติ
นายไตรรงค์ กล่าวว่า ปัญหาการเมืองภายในไม่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนต่างชาติ เพราะเคยชินในระบอบประชาธิปไตย หากทุกกลุ่ม ทุกค่าย ทุกสี ชุมนุมภายใต้สิทธิ เสรีภาพของประชาชน โดยไม่ทำให้เกิดความรุนแรง ต่างชาติก็จะเข้าใจถึงการชุมนุมของทุกสี หากเป็นไปด้วยความสงบถือเป็นธรรมชาติของประชาชนที่สะท้อนรัฐบาลรับทราบ แต่ถ้ารุนแรงหรือทำผิดกฎหมาย ต่างชาติก็จะมองประเทศไทยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนไม่มีใครอยากมาลงทุน
เมื่อถามต่อว่า มองว่าการชุมนุมเพื่อหวังผลนำไปสู่ความแตกหักหรือไม่ นายไตรรงค์ กล่าวว่า การชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลปรับปรุงนโยบาย หรือเพื่อหวังผลในการเลือกตั้งครั้งหน้า ก็ยังอยู่ในเกมของระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้ายึดสถานที่ราชการก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย.