นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหาในฐานะประธานอนุกรรมาธิการศึกษา และตรวจสอบโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบ้านกุ่ม จ.อุบลราชธานี และนายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงครามร่วมแถลงข่าวเสนอให้รัฐบาลยกเลิกบันทึกความเข้าใจ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบ้านกุ่ม เนื่องจากการที่คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลถึงบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ในการก่อสร้างเขื่อนพลังงงานน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า ที่รัฐบาลไทยได้เซ็นกับสาธารณรัฐประชาชาธิปไตยประชาชนชาว (สปป.ลาว) ในรัฐบาลชุดที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี นาย นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในยุคนั้นเป็นผู้ดำเนินการ
นายประสาร กล่าวว่า จากการสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบบ่า ร่างเอ็มโอยูฉบับนี้ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 57 และ 190 ที่บัญญัติให้ต้องทำประชาพิจารณ์ นอกจากนี้ในการดำเนินการยังไม่ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางด้านพลังงาน แต่กลับดำเนินการโดยกระทรวงต่างประเทศซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความโปร่งใส และขาดหลักธรรมาภิบาล
นายประสาร กล่าวว่า ในการสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยอมรับว่า หากมีการสร้างเขื่อนจะส่งผลกระทบต่อชุมชน ระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวของจ.อุบลราชธานี โดยเฉพาะเขื่อน 3 พันโบก ที่อำเภอโพธิ์ไทร จะทำให้น้ำท่วมทั้งหมด ถือว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุนดังนั้นอนุกรรมาธิการ จะเสนอต่อรัฐบาลให้ยกเลิกบันทึกความร่วมมือดังกล่าว เพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง และให้เกิดความชัดเจนต่อชุมชนในลุ่มน้ำโขงที่ยังเคลือบแคลงในท่าทีของรัฐบาลว่าจะสร้างต่อหรือไม่ หากรัฐบาลยังไม่ยกเลิกชาวบ้านก็มีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองให้ดำเนินการต่อไป
นายประสาร กล่าวว่า จากการสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบบ่า ร่างเอ็มโอยูฉบับนี้ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 57 และ 190 ที่บัญญัติให้ต้องทำประชาพิจารณ์ นอกจากนี้ในการดำเนินการยังไม่ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางด้านพลังงาน แต่กลับดำเนินการโดยกระทรวงต่างประเทศซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขาดความโปร่งใส และขาดหลักธรรมาภิบาล
นายประสาร กล่าวว่า ในการสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยอมรับว่า หากมีการสร้างเขื่อนจะส่งผลกระทบต่อชุมชน ระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวของจ.อุบลราชธานี โดยเฉพาะเขื่อน 3 พันโบก ที่อำเภอโพธิ์ไทร จะทำให้น้ำท่วมทั้งหมด ถือว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุนดังนั้นอนุกรรมาธิการ จะเสนอต่อรัฐบาลให้ยกเลิกบันทึกความร่วมมือดังกล่าว เพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง และให้เกิดความชัดเจนต่อชุมชนในลุ่มน้ำโขงที่ยังเคลือบแคลงในท่าทีของรัฐบาลว่าจะสร้างต่อหรือไม่ หากรัฐบาลยังไม่ยกเลิกชาวบ้านก็มีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองให้ดำเนินการต่อไป