ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเตรียมเข็นแพ็กเกจภาษีอุ้มธุรกิจท่องเที่ยวอีกระรอก คาดได้ข้อสรุปภายใน 30 วัน หวังดันฟื้นตัวเต็มที่ในปีนี้ ระบุมีทั้งมาตรการใหม่และต่ออายุมาตรการเดิมตามที่ภาคเอกชนร้องขอมา
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับตัวแทนจากสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟตต้า) ว่า เพื่อเป็นการกำหนดนโยบายส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวและโรงแรมต่อเนื่อง โดยจะมีมาตรการภาษีเพิ่มเติมสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวในช่วงพักฟื้นให้สามารถดำเนินธุรกิจและแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งจะออกเป็นแพ็กเกจภาษีคาดจะใช้เวลาในการพิจารณาภายใน 30 วัน รวมถึงการขจัดภาษีซ้ำซ้อนต่างๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคด้วย
นอกจากนั้นได้รับข้อเสนอของภาคเอกชนในส่วนของการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งการเร่งรัดการปล่อยกู้ผ่านธนาคารออมสิน และการผ่อนปรนเงื่อนไขผ่านทางเอสเอ็มอีแบงก์ทั้งการปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายที่มีรายชื่อติดในเครดิตบรูโร ซึ่งส่วนนี้จะรับไปดูแลให้
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่ามาตรการภาษีจะมีทั้งมาตรการใหม่ และการขยายระยะเวลาของมาตรการเดิม เช่น การให้นิติบุคคลหักค่าใช้จ่ายด้านอบรมสัมมนาได้ 2 เท่า การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำวีซ่า ค่าแลนด์ดิ้งฟรีสำหรับเครื่องบ้นเช่าเหมาลำ ที่จะหมดอายุเดือนมีนาคมนี้ โดยส่วนของการหักค่าลดหย่อนนั้นอาจจะขยายครอบคลุมไปถึงแพ็กเกจท่องเที่ยวทั้งค่าที่พักโรงแรม ค่าเดินทาง และค่าอาหารต่างๆด้วย ตลอดจนความเท่าเทียมกันของแพ็คเกจท่องเที่ยวในและต่างประเทศ ซึ่งการลดหย่อนภาษีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบกับรายได้ของกรมสรรพากรมากนัก ส่วนการขยายเวลาทำประกัน 1 เหรียญจ่าย 1 หมื่นเหรียญให้นักท่องที่ยวกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศนั้นต้องประสานงานกับกระทรวงท่องเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
นายอภิชาติ สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว กล่าวว่า ขณะนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการของรัฐบาล โดยเฉพาะการยกเว้นค่าวีซ่าทำให้นักท่องเที่ยวจีนและอินเดียเข้ามามากขึ้น จึงอยากให้รัฐขยายมาตรการภาษีออกไปอีก 1 ปี หรืออย่างน้อยถึงเดือนตุลาคมปีนี้ เพราะช่วงนี้การท่องเที่ยวเที่ยวยังไม่ได้ฟื้นตัวเต็มที่ แม้สถานการณ์การจองห้องพักช่วงต้นปีจะดีขึ้นมาอยู่ที่ 80-90% ก็ตาม แต่ในช่วงซัมเมอร์นี้เดิมเคยพึ่งนักท่องเที่ยวจากยุโรปแต่ขณะนี้หลายประเทศยังมีปัญหาเศรษฐกิจภายใน จึงอาจต้องหันมาพึ่งพานักท่องเที่ยวจาก จีน เกาหลี และญี่ปุ่นแทน โดยเฉพาะจีนตั้งเป้าเพิ่มจาก 7 แสนคนปีก่อนเป็น 1.2 ล้านคนในปีนี้
“ภาครัฐควรสนับสนุนมาตรการภาษีช่วยเหลือภาคธุรกิจท่องเที่ยวต่อไป เพื่อประโยชน์ในการดึงเงินจากนักเที่ยวเพิ่มขึ้นและไม่กระทบกับการว่าจ้างแรงงานในประเทศ และอย่าเพิ่งไล่เก็บภาษีจากผู้ประกอบการเพราะเห็นว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งต่อไปหากสามารถขจัดภาษีซ้ำซ้อนต่างๆได้น่าจะทำให้การเสียภาษีมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ” นายอภิชาติกล่าว
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับตัวแทนจากสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟตต้า) ว่า เพื่อเป็นการกำหนดนโยบายส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวและโรงแรมต่อเนื่อง โดยจะมีมาตรการภาษีเพิ่มเติมสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวในช่วงพักฟื้นให้สามารถดำเนินธุรกิจและแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งจะออกเป็นแพ็กเกจภาษีคาดจะใช้เวลาในการพิจารณาภายใน 30 วัน รวมถึงการขจัดภาษีซ้ำซ้อนต่างๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคด้วย
นอกจากนั้นได้รับข้อเสนอของภาคเอกชนในส่วนของการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งการเร่งรัดการปล่อยกู้ผ่านธนาคารออมสิน และการผ่อนปรนเงื่อนไขผ่านทางเอสเอ็มอีแบงก์ทั้งการปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายที่มีรายชื่อติดในเครดิตบรูโร ซึ่งส่วนนี้จะรับไปดูแลให้
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่ามาตรการภาษีจะมีทั้งมาตรการใหม่ และการขยายระยะเวลาของมาตรการเดิม เช่น การให้นิติบุคคลหักค่าใช้จ่ายด้านอบรมสัมมนาได้ 2 เท่า การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำวีซ่า ค่าแลนด์ดิ้งฟรีสำหรับเครื่องบ้นเช่าเหมาลำ ที่จะหมดอายุเดือนมีนาคมนี้ โดยส่วนของการหักค่าลดหย่อนนั้นอาจจะขยายครอบคลุมไปถึงแพ็กเกจท่องเที่ยวทั้งค่าที่พักโรงแรม ค่าเดินทาง และค่าอาหารต่างๆด้วย ตลอดจนความเท่าเทียมกันของแพ็คเกจท่องเที่ยวในและต่างประเทศ ซึ่งการลดหย่อนภาษีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบกับรายได้ของกรมสรรพากรมากนัก ส่วนการขยายเวลาทำประกัน 1 เหรียญจ่าย 1 หมื่นเหรียญให้นักท่องที่ยวกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศนั้นต้องประสานงานกับกระทรวงท่องเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
นายอภิชาติ สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว กล่าวว่า ขณะนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการของรัฐบาล โดยเฉพาะการยกเว้นค่าวีซ่าทำให้นักท่องเที่ยวจีนและอินเดียเข้ามามากขึ้น จึงอยากให้รัฐขยายมาตรการภาษีออกไปอีก 1 ปี หรืออย่างน้อยถึงเดือนตุลาคมปีนี้ เพราะช่วงนี้การท่องเที่ยวเที่ยวยังไม่ได้ฟื้นตัวเต็มที่ แม้สถานการณ์การจองห้องพักช่วงต้นปีจะดีขึ้นมาอยู่ที่ 80-90% ก็ตาม แต่ในช่วงซัมเมอร์นี้เดิมเคยพึ่งนักท่องเที่ยวจากยุโรปแต่ขณะนี้หลายประเทศยังมีปัญหาเศรษฐกิจภายใน จึงอาจต้องหันมาพึ่งพานักท่องเที่ยวจาก จีน เกาหลี และญี่ปุ่นแทน โดยเฉพาะจีนตั้งเป้าเพิ่มจาก 7 แสนคนปีก่อนเป็น 1.2 ล้านคนในปีนี้
“ภาครัฐควรสนับสนุนมาตรการภาษีช่วยเหลือภาคธุรกิจท่องเที่ยวต่อไป เพื่อประโยชน์ในการดึงเงินจากนักเที่ยวเพิ่มขึ้นและไม่กระทบกับการว่าจ้างแรงงานในประเทศ และอย่าเพิ่งไล่เก็บภาษีจากผู้ประกอบการเพราะเห็นว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งต่อไปหากสามารถขจัดภาษีซ้ำซ้อนต่างๆได้น่าจะทำให้การเสียภาษีมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ” นายอภิชาติกล่าว