พุทธศักราช 2553 ควรจะต้องเป็นปีทองของประเทศไทย
ขอให้เป็นโอกาสของประเทศชาติส่วนรวมบ้าง
ขอให้ประเทศชาติส่วนรวมได้ฟื้นตัว ลุกขึ้นยืน และก้าวต่อไปข้างหน้า
หลังจากที่ต้องติดหล่ม หยุดชะงัก และถูกทำลายโอกาส โดยผู้สูญเสียผลประโยชน์ส่วนตัวบางกลุ่ม เกือบจะตลอดปีที่ผ่านมา
เพื่อให้ปี 2553 เป็นปีทองของประเทศไทยอย่างแท้จริง คนไทยจะโยนให้เป็นภาระของใครคนใดคนหนึ่ง หรือจะรอให้ใครเข้ามาทำแทนไม่ได้อีกต่อไป แต่จะต้องช่วยกันลงมือทำทันที
ปัญหาที่เราจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันเปลี่ยนแปลง อย่างน้อย มีดังต่อไปนี้
1) การปฏิรูปการเมืองกับรัฐธรรมนูญ
กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2550) ทำให้ประชาชนหันมาสนใจเรื่องการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง การตรวจสอบอำนาจของนักการเมือง โครงสร้างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างองค์กรต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมากขึ้น
แต่การปฏิรูปการเมือง ไม่ใช่แค่การมีรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้น
รัฐธรรมนูญไม่ใช่ส่วนที่สำคัญที่สุดของการปฏิรูปการเมืองเลยด้วยซ้ำไป
หลายประเทศที่เขาปฏิรูปการเมืองการปกครองของเขา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรเลยด้วยซ้ำ
ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนไว้สวยงาม รัดกุม และตอบสนองจริตหรือความต้องการของคนในประเทศได้มากเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่มีการปฏิรูปในส่วนอื่นๆ ของบ้านเมือง ก็ไม่มีทางที่จะเกิดการปฏิรูปการเมืองที่แท้จริงขึ้นมาได้ เช่น แม้รัฐธรรมนูญจะเขียนให้สิทธิของประชาชนมากแค่ไหน แต่ถ้าประชาชนยังตกอยู่ในห่วงโซ่ระบบอุปถัมภ์ ถูกสื่อมวลชนปิดหูปิดตา ถูกข่มด้วยอำนาจของทุนผูกขาด ก็ไม่มีวันที่สิทธิในรัฐธรรมนูญเหล่านั้นจะเกิดผลจริงในทางปฏิบัติ เป็นต้น
เราจึงเห็นว่า ปฏิวัติรัฐประหารก็แล้ว เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ก็แล้ว แต่การเมืองก็ยังไม่ปฏิรูปเสียที
ส.ส.ก็หน้าเดิมๆ พฤติกรรมในสภาก็เหมือนเดิม (หรือเลวร้ายกว่าเดิม) เลือกตั้งทีไรก็มีการซื้อสิทธิขายเสียง โกงเลือกตั้งกันเหมือนเดิม ฯลฯ
นั่นเป็นเพราะการปฏิรูปการเมืองการปกครองจะสำเร็จได้จริง ต้องมีการปฏิรูปด้านอื่นๆ อย่างจริงจังไปพร้อมๆ กัน เช่น การให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน การตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดจริงจัง ฯลฯ
2) ทำลายการผูกขาดในธุรกิจ
การผูกขาดนำมาซึ่งกำไรพิเศษมหาศาล นักธุรกิจผูกขาดจะนำกำไรพิเศษเหล่านั้นมาใช้ในการวิ่งเต้น อุดหนุนนักการเมือง เพื่อให้ฝ่ายการเมืองใช้อำนาจปกป้องผลประโยชน์ที่เกิดจากการผูกขาดของตน
ปัจจุบัน การผูกขาดทางธุรกิจจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจเหล้า ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ ฯลฯ ธุรกิจผูกขาดเหล่านี้ ก็ยังคงสภาพเดิม แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือแม้แต่มีการรัฐประหาร ก็ยังคงเดิม ไม่มีการสร้างระบบแข่งขัน ทำลายอำนาจผูกขาด หรือกระจายกำไรพิเศษของการผูกขาดมาเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค
อันที่จริง เรามี พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า 2542 แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
3) วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์
ที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการใช้ระบบอุปถัมภ์เข้ามาครอบงำระบบการเมืองการปกครองอย่างหนาแน่น ไม่ว่าจะเป็น การเล่นพรรคเล่นพวก การใช้อำนาจเอื้อประโยชน์แก่เครือญาติหรือผู้มีพระคุณ การเข้าสู่อำนาจการเมืองผ่านระบบหัวคะแนนที่เป็นผู้อุปถัมภ์ในท้องถิ่น การใช้อำนาจทางการเมืองตอบแทนผู้ใต้อุปถัมภ์ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม เป็นต้น
ในความเป็นจริง... ระบบอุปถัมภ์ ก็คือ ระบบตอบแทนผลประโยชน์แก่กัน ระหว่างผู้ที่มีอำนาจไม่เท่ากัน โดยผู้มีอำนาจเหนือกว่าก็จะยื่นผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีอำนาจต่ำกว่า ส่วนผู้มีอำนาจต่ำกว่าก็จะติดหนี้บุญคุณไว้ ค่อยมาตอบแทนบุญคุณในภายหลัง
ระบบอุปถัมภ์ จึงเป็นระบบในการคุมคนที่ยังทรงอิทธิพล เสมือนการควบคุมทาสหรือไพร่ในสมัยโบราณ และไม่ว่าจะวางกติกาไว้อย่างไร ตราบใดที่ผู้เกี่ยวข้องกับการเมืองยังตกอยู่ใต้ระบบอุปถัมภ์ ระบบอุปถัมภ์ก็จะครอบงำเหนือกติกา
จะทำอย่างไร ให้ประชาชนในฐานะพลเมืองได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ช่วยกันพัฒนาระบบอุปถัมภ์ที่ไม่ทำลายบ้านเมือง
การช่วยให้ประชาชนเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคม เข้าถึงสิทธิและผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ทำให้คนเห็นความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของสังคมและระบบการเมือง มากกว่าจะยึดติดกับตัวบุคคล ลดการพึ่งพาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นต่างๆ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ถ้าไม่แก้ไขเรื่องนี้ หากเลือกตั้งวันพรุ่งนี้ ต่อให้มีกติกาใหม่ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งไม่ว่าจะดีเลิศแค่ไหน คนจะเข้ามามีอำนาจก็คือ คนกลุ่มเดิมๆ ที่มีสายสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับผู้อุปถัมภ์ในระดับท้องถิ่น และ ส.ส. ที่รับการอุปถัมภ์จากนายทุนหัวหน้ามุ้งหรือหัวหน้ากลุ่ม ก็จะรวมตัวกันสนับสนุนให้ “นาย” ของตน ได้มีอำนาจเป็นรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีต่อไป การเมืองก็เข้าสู่วงจรเดิมๆ
4) ปฏิรูปสื่อสารมวลชน
โดยเฉพาะโทรทัศน์และวิทยุ เพราะสังคมสมัยนี้ ประชาชนจะได้รับรู้ข่าวสารผ่านทางสื่อโทรทัศน์และวิทยุเป็นหลัก
จะเห็นว่า การเมืองได้ใช้สื่อโทรทัศน์วิทยุเพื่อสร้างภาพทางการเมือง สร้างประเด็นการเมือง กลบเกลื่อนปัญหา จนกระทั่งปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้เข้าถึงข้อมูลด้านที่เลวร้ายของตนมาตลอด
ประชาชนถูกปิดหูปิดตาในรูปแบบใหม่ เช่น ไม่ถูกปิดข่าว แต่ถูกบิดเบือนประเด็นสำคัญ
ถูกชี้นำให้คิดไปในทางที่นักการเมืองต้องการเท่านั้น สร้างข่าว สร้างเรื่อง สร้างกระแส สร้างตัวเองให้เป็นวีรบุรุษ อาศัยความจริงเพียงครึ่งเดียว เช่น กรณีอ้างว่าทักษิณเป็นคนใช้หนี้ไปเอ็มเอฟ กรณีกัมพูชาจับวิศวกรคนไทย เป็นต้น
สื่อมวลชนที่เหลือก็เอาไปหารายได้ ด้วยรายการบันเทิงและรับใช้ธุรกิจ
ทั้งหมด สะท้อนถึงความอ่อนด้อยประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ประชาชนของสื่อสารมวลชนเมืองไทย
ทั้งๆ ที่ ในความเป็นจริง คนทำงานสื่อบ้านเราไม่ได้โง่เลยแม้แต่น้อย
น่าเสียดายที่คนเราได้ความรู้ในโรงเรียนเพียง 20 ปีของชีวิต หรือน้อยกว่า 1 ใน 5 ของชีวิต สื่อจึงควรมีบทบาทที่สำคัญในการให้ความรู้และสาระเพื่อพัฒนาคนไทยให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกของสังคม
เพียงแต่ติดปัญหาที่โครงสร้างความเป็นเจ้าของสื่อ ที่กระจุกตัวอยู่ภายใต้อำนาจของผู้มีอิทธิพลและผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานราชการ เช่น กองทัพ กรมประชาสัมพันธ์ หรือเอกชนที่รับสัมปทานไปจากรัฐ เช่น ช่อง 3 ช่อง 7 หรือหน่วยงานในความดูแลของรัฐ เช่น อสมท. เป็นต้น
ผู้ยึดกุมสื่อโทรทัศน์และวิทยุไว้ในมือเหล่านี้ จะไม่ยอมให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นการทำลายฐานผลประโยชน์ของพวกตนเอง ไม่ว่าจะเป็น การทำให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบนักการเมืองทุจริต การตรวจสอบธุรกิจผูกขาดที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ฯลฯ
คนทำสื่อที่อยู่ใต้โครงสร้างอำนาจเช่นนี้ก็มีแนวโน้มที่จะยอมตนรับใช้ หรือศิโรราบ ไม่ว่าจะด้วยความเกรงใจผู้ทรงอำนาจตามแบบของระบบอุปถัมภ์ หรือด้วยผลประโยชน์ตามแบบของระบบธุรกิจก็ตาม
การปฏิรูปความเป็นเจ้าของสื่อสารมวลชน ทั้งโทรทัศน์และวิทยุ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพื่อให้คนทำสื่อได้ทำหากินสะดวกขึ้น แต่เพื่อให้คนทำสื่อสามารถทำหน้าที่ให้การศึกษา ให้ข่าวสารความรู้แก่สังคมอย่างตรงไปตรงมา และมีคุณภาพ โดยไม่ต้องถูกกด ถูกบีบ ถูกสั่ง ถูกซื้อ หรือถูกแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ต่อไป
จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการรับสื่อ โดยไม่เลือกรับแต่เฉพาะสื่อที่ตนเองชอบฟังชอบดู หรือชอบใจ แต่ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รอบด้าน
ถ้าไม่เช่นนั้น คนในสังคมของเราจะเสมือนอยู่กันคนละโลก รับความจริงคนละด้าน จะนำไปสู่ความแตกแยกและเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันใกล้อย่างแน่นอน
5) กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น
เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการเมือง
เพราะการเมืองระดับท้องถิ่น เป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากที่สุด จับต้องได้มากที่สุด และเข้าถึงได้ง่ายที่สุด
ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มีทิศทางที่เป็นการกระจุกอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็น นโยบายผู้ว่าซีอีโอซึ่งเป็นตัวแทนจากส่วนกลาง หรือการใช้จ่ายงบกลางของตัวนายกรัฐมนตรี ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในระดับท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการทำให้การปฏิบัติตามกฎหมายการกระจายอำนาจติดขัด กระทั่งไม่สามารถจัดสรรงบประมาณสู่ท้องถิ่นได้ตามกฎหมาย ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ท้องถิ่นอ่อนแอ ด้อยความสำคัญ กระทั่งว่า ประชาชนในท้องถิ่นเองไม่ให้ความสำคัญ หรือดูแคลนท้องถิ่นของตัวเอง หันมาหวังพึ่งการเมืองส่วนกลางมากขึ้น
ท้องถิ่น คือ ฐานราก ถ้าฐานรากไม่เข้มแข็ง ต้นไม้ประชาธิปไตยก็ไม่มีวันหยัดยืนงอกงาม
ถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง เรือประเทศไทยก็เหมือนมีเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นมาอีกนับหมื่นตัว ไม่ต้องคอยพึ่งแต่เครื่องยนต์ส่วนกลางเท่านั้น
6) อภิวัฒน์การเมืองภาคพลเมือง
2 ปี ที่ผ่านมา การเมืองภาคประชาชนได้พัฒนาเติบโตอย่างมาก การเรียนรู้จากการชุมนุมทางการเมืองก่อให้เกิดปัญญา และกระตุ้นจิตสำนึกให้ภาคประชาสังคมเข้มแข็ง ตื่นตัวที่จะเรียนรู้ความเป็นไปของประเทศ และควบคุมดูแลทิศทางการบริหารงานของประเทศมากขึ้น
แต่การรวมตัวที่เกิดขึ้นจากประเด็นปัญหา ประเด็นความขัดแย้ง เผชิญหน้า มักเกิดได้ง่ายแต่ก็สลายเร็ว
ความจำเป็นในการสร้างองค์กรภาคประชาชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นโดยเร็วและทันกับเหตุการณ์ของแรงเฉื่อยที่ยังคงมีอยู่
การรวมตัวของภาคพลเมืองในระดับท้องถิ่นเป็นกลุ่มขนาดเล็ก แต่กระจายไปตามสภาพปัญหาของท้องถิ่น น่าจะเป็นหนทางของการรวมตัวในระยะต้น เครือข่ายและการประสานระหว่างต่างท้องถิ่นจะเกิดได้เมื่อปัญหาร่วมระดับประเทศเกิดขึ้น
อย่าลืมว่า การรวมตัวในลักษณะการชุมนุมเรียกร้องกดดัน เกิดง่ายและนอกจากจะสลายเร็วแล้ว ต้นทุนการรวมตัวก็สูงมาก เพราะทุกคนต้องละทิ้งการงาน เดินทาง และยังต้องเสี่ยงภัยต่อการบาดเจ็บ ล้มตาย ซึ่งประเมินค่าความสูญเสียไม่ได้
7) เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมราชการและรัฐวิสาหกิจ
จากระบบอุปถัมภ์ที่ไร้ประสิทธิภาพ ชิงดี ชิงความก้าวหน้าด้วยการเอาใจและเอื้อประโยชน์ให้กับ “นาย” ผู้มีอำนาจ
จิตสำนึกของการทำงานเพื่อสังคม บริหารงานอย่างมืออาชีพ ที่เน้นระบบงาน ประสิทธิภาพ และจรรยาบรรณ จำเป็นต้องเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมราชการดั้งเดิม ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีละหน่วยงาน
ทั้งหมด คือ การร่วมสร้าง “สังคมธรรมาธิปไตย” ที่มีความหมายว่า สังคมที่มีธรรมนำหน้า ใช้ธรรมเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่เพียงจำนวนของประชาชนเป็นใหญ่
ปี 2553 ควรเป็นปีที่เราจะร่วมกันสร้างเมืองไทยให้น่าอยู่
ทำให้เป็นปีทองของประเทศไทยส่วนรวม
และเป็นโอกาสทองของคนไทยทุกคนอย่างแท้จริง!
ขอให้เป็นโอกาสของประเทศชาติส่วนรวมบ้าง
ขอให้ประเทศชาติส่วนรวมได้ฟื้นตัว ลุกขึ้นยืน และก้าวต่อไปข้างหน้า
หลังจากที่ต้องติดหล่ม หยุดชะงัก และถูกทำลายโอกาส โดยผู้สูญเสียผลประโยชน์ส่วนตัวบางกลุ่ม เกือบจะตลอดปีที่ผ่านมา
เพื่อให้ปี 2553 เป็นปีทองของประเทศไทยอย่างแท้จริง คนไทยจะโยนให้เป็นภาระของใครคนใดคนหนึ่ง หรือจะรอให้ใครเข้ามาทำแทนไม่ได้อีกต่อไป แต่จะต้องช่วยกันลงมือทำทันที
ปัญหาที่เราจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันเปลี่ยนแปลง อย่างน้อย มีดังต่อไปนี้
1) การปฏิรูปการเมืองกับรัฐธรรมนูญ
กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2550) ทำให้ประชาชนหันมาสนใจเรื่องการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง การตรวจสอบอำนาจของนักการเมือง โครงสร้างและความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างองค์กรต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมากขึ้น
แต่การปฏิรูปการเมือง ไม่ใช่แค่การมีรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้น
รัฐธรรมนูญไม่ใช่ส่วนที่สำคัญที่สุดของการปฏิรูปการเมืองเลยด้วยซ้ำไป
หลายประเทศที่เขาปฏิรูปการเมืองการปกครองของเขา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรเลยด้วยซ้ำ
ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนไว้สวยงาม รัดกุม และตอบสนองจริตหรือความต้องการของคนในประเทศได้มากเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่มีการปฏิรูปในส่วนอื่นๆ ของบ้านเมือง ก็ไม่มีทางที่จะเกิดการปฏิรูปการเมืองที่แท้จริงขึ้นมาได้ เช่น แม้รัฐธรรมนูญจะเขียนให้สิทธิของประชาชนมากแค่ไหน แต่ถ้าประชาชนยังตกอยู่ในห่วงโซ่ระบบอุปถัมภ์ ถูกสื่อมวลชนปิดหูปิดตา ถูกข่มด้วยอำนาจของทุนผูกขาด ก็ไม่มีวันที่สิทธิในรัฐธรรมนูญเหล่านั้นจะเกิดผลจริงในทางปฏิบัติ เป็นต้น
เราจึงเห็นว่า ปฏิวัติรัฐประหารก็แล้ว เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ก็แล้ว แต่การเมืองก็ยังไม่ปฏิรูปเสียที
ส.ส.ก็หน้าเดิมๆ พฤติกรรมในสภาก็เหมือนเดิม (หรือเลวร้ายกว่าเดิม) เลือกตั้งทีไรก็มีการซื้อสิทธิขายเสียง โกงเลือกตั้งกันเหมือนเดิม ฯลฯ
นั่นเป็นเพราะการปฏิรูปการเมืองการปกครองจะสำเร็จได้จริง ต้องมีการปฏิรูปด้านอื่นๆ อย่างจริงจังไปพร้อมๆ กัน เช่น การให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชน การตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดจริงจัง ฯลฯ
2) ทำลายการผูกขาดในธุรกิจ
การผูกขาดนำมาซึ่งกำไรพิเศษมหาศาล นักธุรกิจผูกขาดจะนำกำไรพิเศษเหล่านั้นมาใช้ในการวิ่งเต้น อุดหนุนนักการเมือง เพื่อให้ฝ่ายการเมืองใช้อำนาจปกป้องผลประโยชน์ที่เกิดจากการผูกขาดของตน
ปัจจุบัน การผูกขาดทางธุรกิจจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจเหล้า ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ ฯลฯ ธุรกิจผูกขาดเหล่านี้ ก็ยังคงสภาพเดิม แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือแม้แต่มีการรัฐประหาร ก็ยังคงเดิม ไม่มีการสร้างระบบแข่งขัน ทำลายอำนาจผูกขาด หรือกระจายกำไรพิเศษของการผูกขาดมาเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค
อันที่จริง เรามี พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า 2542 แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
3) วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์
ที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการใช้ระบบอุปถัมภ์เข้ามาครอบงำระบบการเมืองการปกครองอย่างหนาแน่น ไม่ว่าจะเป็น การเล่นพรรคเล่นพวก การใช้อำนาจเอื้อประโยชน์แก่เครือญาติหรือผู้มีพระคุณ การเข้าสู่อำนาจการเมืองผ่านระบบหัวคะแนนที่เป็นผู้อุปถัมภ์ในท้องถิ่น การใช้อำนาจทางการเมืองตอบแทนผู้ใต้อุปถัมภ์ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม เป็นต้น
ในความเป็นจริง... ระบบอุปถัมภ์ ก็คือ ระบบตอบแทนผลประโยชน์แก่กัน ระหว่างผู้ที่มีอำนาจไม่เท่ากัน โดยผู้มีอำนาจเหนือกว่าก็จะยื่นผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีอำนาจต่ำกว่า ส่วนผู้มีอำนาจต่ำกว่าก็จะติดหนี้บุญคุณไว้ ค่อยมาตอบแทนบุญคุณในภายหลัง
ระบบอุปถัมภ์ จึงเป็นระบบในการคุมคนที่ยังทรงอิทธิพล เสมือนการควบคุมทาสหรือไพร่ในสมัยโบราณ และไม่ว่าจะวางกติกาไว้อย่างไร ตราบใดที่ผู้เกี่ยวข้องกับการเมืองยังตกอยู่ใต้ระบบอุปถัมภ์ ระบบอุปถัมภ์ก็จะครอบงำเหนือกติกา
จะทำอย่างไร ให้ประชาชนในฐานะพลเมืองได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ช่วยกันพัฒนาระบบอุปถัมภ์ที่ไม่ทำลายบ้านเมือง
การช่วยให้ประชาชนเข้าถึงระบบสวัสดิการสังคม เข้าถึงสิทธิและผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ทำให้คนเห็นความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของสังคมและระบบการเมือง มากกว่าจะยึดติดกับตัวบุคคล ลดการพึ่งพาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นต่างๆ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ถ้าไม่แก้ไขเรื่องนี้ หากเลือกตั้งวันพรุ่งนี้ ต่อให้มีกติกาใหม่ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งไม่ว่าจะดีเลิศแค่ไหน คนจะเข้ามามีอำนาจก็คือ คนกลุ่มเดิมๆ ที่มีสายสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับผู้อุปถัมภ์ในระดับท้องถิ่น และ ส.ส. ที่รับการอุปถัมภ์จากนายทุนหัวหน้ามุ้งหรือหัวหน้ากลุ่ม ก็จะรวมตัวกันสนับสนุนให้ “นาย” ของตน ได้มีอำนาจเป็นรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีต่อไป การเมืองก็เข้าสู่วงจรเดิมๆ
4) ปฏิรูปสื่อสารมวลชน
โดยเฉพาะโทรทัศน์และวิทยุ เพราะสังคมสมัยนี้ ประชาชนจะได้รับรู้ข่าวสารผ่านทางสื่อโทรทัศน์และวิทยุเป็นหลัก
จะเห็นว่า การเมืองได้ใช้สื่อโทรทัศน์วิทยุเพื่อสร้างภาพทางการเมือง สร้างประเด็นการเมือง กลบเกลื่อนปัญหา จนกระทั่งปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้เข้าถึงข้อมูลด้านที่เลวร้ายของตนมาตลอด
ประชาชนถูกปิดหูปิดตาในรูปแบบใหม่ เช่น ไม่ถูกปิดข่าว แต่ถูกบิดเบือนประเด็นสำคัญ
ถูกชี้นำให้คิดไปในทางที่นักการเมืองต้องการเท่านั้น สร้างข่าว สร้างเรื่อง สร้างกระแส สร้างตัวเองให้เป็นวีรบุรุษ อาศัยความจริงเพียงครึ่งเดียว เช่น กรณีอ้างว่าทักษิณเป็นคนใช้หนี้ไปเอ็มเอฟ กรณีกัมพูชาจับวิศวกรคนไทย เป็นต้น
สื่อมวลชนที่เหลือก็เอาไปหารายได้ ด้วยรายการบันเทิงและรับใช้ธุรกิจ
ทั้งหมด สะท้อนถึงความอ่อนด้อยประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ประชาชนของสื่อสารมวลชนเมืองไทย
ทั้งๆ ที่ ในความเป็นจริง คนทำงานสื่อบ้านเราไม่ได้โง่เลยแม้แต่น้อย
น่าเสียดายที่คนเราได้ความรู้ในโรงเรียนเพียง 20 ปีของชีวิต หรือน้อยกว่า 1 ใน 5 ของชีวิต สื่อจึงควรมีบทบาทที่สำคัญในการให้ความรู้และสาระเพื่อพัฒนาคนไทยให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกของสังคม
เพียงแต่ติดปัญหาที่โครงสร้างความเป็นเจ้าของสื่อ ที่กระจุกตัวอยู่ภายใต้อำนาจของผู้มีอิทธิพลและผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานราชการ เช่น กองทัพ กรมประชาสัมพันธ์ หรือเอกชนที่รับสัมปทานไปจากรัฐ เช่น ช่อง 3 ช่อง 7 หรือหน่วยงานในความดูแลของรัฐ เช่น อสมท. เป็นต้น
ผู้ยึดกุมสื่อโทรทัศน์และวิทยุไว้ในมือเหล่านี้ จะไม่ยอมให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นการทำลายฐานผลประโยชน์ของพวกตนเอง ไม่ว่าจะเป็น การทำให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบนักการเมืองทุจริต การตรวจสอบธุรกิจผูกขาดที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ฯลฯ
คนทำสื่อที่อยู่ใต้โครงสร้างอำนาจเช่นนี้ก็มีแนวโน้มที่จะยอมตนรับใช้ หรือศิโรราบ ไม่ว่าจะด้วยความเกรงใจผู้ทรงอำนาจตามแบบของระบบอุปถัมภ์ หรือด้วยผลประโยชน์ตามแบบของระบบธุรกิจก็ตาม
การปฏิรูปความเป็นเจ้าของสื่อสารมวลชน ทั้งโทรทัศน์และวิทยุ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพื่อให้คนทำสื่อได้ทำหากินสะดวกขึ้น แต่เพื่อให้คนทำสื่อสามารถทำหน้าที่ให้การศึกษา ให้ข่าวสารความรู้แก่สังคมอย่างตรงไปตรงมา และมีคุณภาพ โดยไม่ต้องถูกกด ถูกบีบ ถูกสั่ง ถูกซื้อ หรือถูกแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ต่อไป
จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการรับสื่อ โดยไม่เลือกรับแต่เฉพาะสื่อที่ตนเองชอบฟังชอบดู หรือชอบใจ แต่ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รอบด้าน
ถ้าไม่เช่นนั้น คนในสังคมของเราจะเสมือนอยู่กันคนละโลก รับความจริงคนละด้าน จะนำไปสู่ความแตกแยกและเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันใกล้อย่างแน่นอน
5) กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น
เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการเมือง
เพราะการเมืองระดับท้องถิ่น เป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากที่สุด จับต้องได้มากที่สุด และเข้าถึงได้ง่ายที่สุด
ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มีทิศทางที่เป็นการกระจุกอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็น นโยบายผู้ว่าซีอีโอซึ่งเป็นตัวแทนจากส่วนกลาง หรือการใช้จ่ายงบกลางของตัวนายกรัฐมนตรี ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในระดับท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการทำให้การปฏิบัติตามกฎหมายการกระจายอำนาจติดขัด กระทั่งไม่สามารถจัดสรรงบประมาณสู่ท้องถิ่นได้ตามกฎหมาย ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ท้องถิ่นอ่อนแอ ด้อยความสำคัญ กระทั่งว่า ประชาชนในท้องถิ่นเองไม่ให้ความสำคัญ หรือดูแคลนท้องถิ่นของตัวเอง หันมาหวังพึ่งการเมืองส่วนกลางมากขึ้น
ท้องถิ่น คือ ฐานราก ถ้าฐานรากไม่เข้มแข็ง ต้นไม้ประชาธิปไตยก็ไม่มีวันหยัดยืนงอกงาม
ถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง เรือประเทศไทยก็เหมือนมีเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นมาอีกนับหมื่นตัว ไม่ต้องคอยพึ่งแต่เครื่องยนต์ส่วนกลางเท่านั้น
6) อภิวัฒน์การเมืองภาคพลเมือง
2 ปี ที่ผ่านมา การเมืองภาคประชาชนได้พัฒนาเติบโตอย่างมาก การเรียนรู้จากการชุมนุมทางการเมืองก่อให้เกิดปัญญา และกระตุ้นจิตสำนึกให้ภาคประชาสังคมเข้มแข็ง ตื่นตัวที่จะเรียนรู้ความเป็นไปของประเทศ และควบคุมดูแลทิศทางการบริหารงานของประเทศมากขึ้น
แต่การรวมตัวที่เกิดขึ้นจากประเด็นปัญหา ประเด็นความขัดแย้ง เผชิญหน้า มักเกิดได้ง่ายแต่ก็สลายเร็ว
ความจำเป็นในการสร้างองค์กรภาคประชาชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นโดยเร็วและทันกับเหตุการณ์ของแรงเฉื่อยที่ยังคงมีอยู่
การรวมตัวของภาคพลเมืองในระดับท้องถิ่นเป็นกลุ่มขนาดเล็ก แต่กระจายไปตามสภาพปัญหาของท้องถิ่น น่าจะเป็นหนทางของการรวมตัวในระยะต้น เครือข่ายและการประสานระหว่างต่างท้องถิ่นจะเกิดได้เมื่อปัญหาร่วมระดับประเทศเกิดขึ้น
อย่าลืมว่า การรวมตัวในลักษณะการชุมนุมเรียกร้องกดดัน เกิดง่ายและนอกจากจะสลายเร็วแล้ว ต้นทุนการรวมตัวก็สูงมาก เพราะทุกคนต้องละทิ้งการงาน เดินทาง และยังต้องเสี่ยงภัยต่อการบาดเจ็บ ล้มตาย ซึ่งประเมินค่าความสูญเสียไม่ได้
7) เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมราชการและรัฐวิสาหกิจ
จากระบบอุปถัมภ์ที่ไร้ประสิทธิภาพ ชิงดี ชิงความก้าวหน้าด้วยการเอาใจและเอื้อประโยชน์ให้กับ “นาย” ผู้มีอำนาจ
จิตสำนึกของการทำงานเพื่อสังคม บริหารงานอย่างมืออาชีพ ที่เน้นระบบงาน ประสิทธิภาพ และจรรยาบรรณ จำเป็นต้องเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมราชการดั้งเดิม ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีละหน่วยงาน
ทั้งหมด คือ การร่วมสร้าง “สังคมธรรมาธิปไตย” ที่มีความหมายว่า สังคมที่มีธรรมนำหน้า ใช้ธรรมเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่เพียงจำนวนของประชาชนเป็นใหญ่
ปี 2553 ควรเป็นปีที่เราจะร่วมกันสร้างเมืองไทยให้น่าอยู่
ทำให้เป็นปีทองของประเทศไทยส่วนรวม
และเป็นโอกาสทองของคนไทยทุกคนอย่างแท้จริง!