หนองคาย- ผู้ว่าฯ หนองคาย เผยทุกภาคส่วนเห็นด้วยเสนอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย เชื่อหากแยกแล้วจะช่วยแก้ปัญหาการบริหารงาน การดูแลประชาชนให้ทั่วถึง เตรียมทำเรื่องเสนอกระทรวงมหาดไทย ผลักดันนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามประสงค์ของประชาชนในพื้นที่
วานนี้(29 ธ.ค.)ที่ห้องประชุมปทุมเทวาภิบาล ศาลากลางจังหวัดหนองคาย นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้แถลงข่าวการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดใหม่ที่แยกตัวออกจาก จ.หนองคาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับทราบความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในต่างอำเภอหลายแห่ง รวมถึงมีการทำหนังสือเรียกร้องของประชาชนในเขตอำเภอบึงกาฬและใกล้เคียงร้องขอให้มีการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็น “จังหวัดบึงกาฬ” ซึ่งมีความพยายามเรียกร้องจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬมาตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากยังมีปัญหาติดขัดบางประการ
ประชาชนประสบปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากระยะทางจากอำเภอต่างๆ ไกลมาก เพราะสภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคายทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง กว่า 330 กิโลเมตร(กม.)อำเภอที่อยู่ไกลที่สุดจากตัวจังหวัดหนองคาย 238 กม. ไม่สะดวกในการเดินทางติดต่อราชการกับจังหวัด และการสัญจรไปมาของประชาชนในการติดต่อราชการกับหน่วยงานต่างๆ ทำให้ประชาชนและภาคราชการเกิดความห่างเหินกัน ส่งผลต่อการบริหารราชการและบริการประชาชน เกิดอุปสรรคต่อการตรวจตราดูแลทุกข์สุขของประชาชน และที่สำคัญมีผลกระทบต่อความมั่นคง ปัญหายาเสพติด และการกระทำผิดกฎหมายตามแนวชายแดน
จังหวัดหนองคายได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 366,903 คน ปรากฏว่าประชาชน 98.83% เห็นด้วยในการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 126 แห่ง 96.04% เห็นด้วย หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอและจังหวัดเห็นด้วย 100% ซึ่งได้มีการจัดแบ่งอำเภอ จากเดิมทั้งหมด 17 อำเภอ ออกเป็นอำเภอที่อยู่ในจังหวัดหนองคายเหลือ 9 อำเภอ ประชากร 506,343 คน ประกอบด้วย อ.เมืองหนองคาย, ท่าบ่อ, โพนพิสัย,ศรีเชียงใหม่, สังคม, สระใคร, เฝ้าไร่, รัตนวาปี และโพธิ์ตาก
ส่วนอำเภอที่จะอยู่ในจังหวัดบึงกาฬ มี 8 อำเภอ ประชากร 399,233 คน ประกอบด้วย อ.บึงกาฬ, เซกา, โซ่พิสัย, พรเจริญ, ปากคาด, บึงโขงหลง, ศรีวิไล และบุ่งคล้า ซึ่งในส่วนของ อ.บึงกาฬ ได้มีสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่งตั้งอยู่เพื่อรองรับการเป็นจังหวัดอยู่ก่อนแล้ว เช่น ศาลจังหวัดบึงกาฬ, อัยการจังหวัด, เรือนจำจังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น และเมื่อพิจารณาจากกฎเกณฑ์ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดแล้วนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถดำเนินการได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวอีกว่า ขั้นตอนต่อไปทางจังหวัดจะทำหนังสือแจ้งข้อมูลความต้องการแก่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยพิจารณา เมื่อเห็นชอบแล้วก็จะมีการนำเข้าพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ออกเป็น พ.ร.บ.จัดตั้ง จ.บึงกาฬ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยสามัญนิติบัญญัติในคราวต่อไป
ทั้งนี้ หากไม่มีข้อผิดพลาดการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร น่าจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน2553 และทราบผลภายในปี 2553 ว่าจะเกิดจังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทยสำเร็จหรือไม่
วานนี้(29 ธ.ค.)ที่ห้องประชุมปทุมเทวาภิบาล ศาลากลางจังหวัดหนองคาย นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้แถลงข่าวการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดใหม่ที่แยกตัวออกจาก จ.หนองคาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับทราบความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในต่างอำเภอหลายแห่ง รวมถึงมีการทำหนังสือเรียกร้องของประชาชนในเขตอำเภอบึงกาฬและใกล้เคียงร้องขอให้มีการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็น “จังหวัดบึงกาฬ” ซึ่งมีความพยายามเรียกร้องจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬมาตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากยังมีปัญหาติดขัดบางประการ
ประชาชนประสบปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากระยะทางจากอำเภอต่างๆ ไกลมาก เพราะสภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคายทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง กว่า 330 กิโลเมตร(กม.)อำเภอที่อยู่ไกลที่สุดจากตัวจังหวัดหนองคาย 238 กม. ไม่สะดวกในการเดินทางติดต่อราชการกับจังหวัด และการสัญจรไปมาของประชาชนในการติดต่อราชการกับหน่วยงานต่างๆ ทำให้ประชาชนและภาคราชการเกิดความห่างเหินกัน ส่งผลต่อการบริหารราชการและบริการประชาชน เกิดอุปสรรคต่อการตรวจตราดูแลทุกข์สุขของประชาชน และที่สำคัญมีผลกระทบต่อความมั่นคง ปัญหายาเสพติด และการกระทำผิดกฎหมายตามแนวชายแดน
จังหวัดหนองคายได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 366,903 คน ปรากฏว่าประชาชน 98.83% เห็นด้วยในการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 126 แห่ง 96.04% เห็นด้วย หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอและจังหวัดเห็นด้วย 100% ซึ่งได้มีการจัดแบ่งอำเภอ จากเดิมทั้งหมด 17 อำเภอ ออกเป็นอำเภอที่อยู่ในจังหวัดหนองคายเหลือ 9 อำเภอ ประชากร 506,343 คน ประกอบด้วย อ.เมืองหนองคาย, ท่าบ่อ, โพนพิสัย,ศรีเชียงใหม่, สังคม, สระใคร, เฝ้าไร่, รัตนวาปี และโพธิ์ตาก
ส่วนอำเภอที่จะอยู่ในจังหวัดบึงกาฬ มี 8 อำเภอ ประชากร 399,233 คน ประกอบด้วย อ.บึงกาฬ, เซกา, โซ่พิสัย, พรเจริญ, ปากคาด, บึงโขงหลง, ศรีวิไล และบุ่งคล้า ซึ่งในส่วนของ อ.บึงกาฬ ได้มีสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่งตั้งอยู่เพื่อรองรับการเป็นจังหวัดอยู่ก่อนแล้ว เช่น ศาลจังหวัดบึงกาฬ, อัยการจังหวัด, เรือนจำจังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น และเมื่อพิจารณาจากกฎเกณฑ์ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดแล้วนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถดำเนินการได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวอีกว่า ขั้นตอนต่อไปทางจังหวัดจะทำหนังสือแจ้งข้อมูลความต้องการแก่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยพิจารณา เมื่อเห็นชอบแล้วก็จะมีการนำเข้าพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ออกเป็น พ.ร.บ.จัดตั้ง จ.บึงกาฬ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยสามัญนิติบัญญัติในคราวต่อไป
ทั้งนี้ หากไม่มีข้อผิดพลาดการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร น่าจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน2553 และทราบผลภายในปี 2553 ว่าจะเกิดจังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทยสำเร็จหรือไม่