นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีวุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา 9 คน ส่งจดหมายลงวันที่ 17 ธันวาคม ถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อประท้วงไทย ที่ส่งชนกลุ่มน้อยชาวม้งมากกว่า 4,000 คน ออกจากค่ายผู้อพยพห้วยน้ำขาว จ.เพชรบูรณ์ ที่ขอลี้ภัยทางการเมืองกลับไปประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยอ้างเหตุผลว่า อาจถูกทางการลาวลงโทษเพราะพวกเขาเคยสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกันในสมัยสงครามเวียดนามว่า จุดยืนของสหรัฐอเมริกาก็จะเป็นอย่างนี้มาตลอด แต่เราก็ถือว่า เราปฏิบัติตามกฎหมาย และเราก็จะระมัดระวังมีมาตรการดูแลไม่ให้กระทบเรื่องของสิทธิ ส่วนในทางปฏิบัติก็จะใช้หลักนี้แล้วผู้ปฏิบัติก็จะประเมินสถานการณ์
โดยหลักเราก็ต้องส่งกลับ เพียงแต่ว่าการส่งกลับก็จะมีระยะเวลาขั้นตอนของมัน ซึ่งจะดูตามความเหมาะสม รวมทั้งจะส่งกลับเมื่อไรก็ตามความเหมาะสมเช่นกัน
ทั้งนี้สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา 9 คน ประกอบด้วย วุฒิสมาชิกจากพรรคเดโมแครต 7 คน คือ รัสส์ ไฟโกลด์, แพทริค เลียฮี่, บาบาร่า บ็อกเซอร์, เชลดอน ไวท์เฮาส์, มาร์ค บีกิช, เอมี่ โคลบูชาร์, อัล แฟรงเคน กับอีก 2 คนจากพรรครีพับลิกัน คือ ริชาร์ด ลูการ์ กับ ลิซา เมอร์คอฟสกี้ ได้ส่งจดหมายลงวันที่ 17 ธันวาคม ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อประท้วงไทยอาจจะขับชนกลุ่มน้อยชาวม้งมากกว่า 4000 คนกลับไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเกรงว่าชาวม้งเหล่านี้อาจจะถูกลงโทษ
หนังสือดังกล่าวมีขึ้นหลังจากไทย แถลงยืนยันเมื่อวันพุธที่ 9 ธ.ค.ว่า จะดำเนินการดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้ แม้จะมีเสียงคัดค้านอย่างรุนแรงจากนานาชาติ
จดหมายระบุว่า พวกตนตระหนักดีว่าราชอาณาจักรไทยต้องแบกรับภาระเรื่องผู้อพยพจำนวนมากบนแผ่นดินไทย แต่ก็ขอสนับสนุนไม่ให้ดำเนินการส่งกลับกับไปปยังลาวแม้แต่คนเดียวในช่วงนี้
เนื้อความในจดหมายได้ตำหนิรัฐบาลไทยว่าขาดความโปร่งใส ในขั้นตอนการกลั่นกรองผู้ลี้ภัย โดยระบุว่า พวกตนเชื่อว่า การขาดความโปร่งใสในการกลั่นกรองและกระบวนการส่งกลับประเทศ ยิ่งทำให้ชีวิตของชาวม้งเหล่านี้ยากลำบาก มากขึ้น และเพิ่มความวิตกให้กับนานาชาติเกี่ยวกับชาวม้งเหล่านี้
วุฒิสมาชิกสหรัฐกลุ่มนี้เรียกร้องให้ไทยทำงานร่วมกับกลุ่มที่สามซึ่งเป็นคณะทำงานอิสระเพื่อให้มีกระบวนการกลั่น กรองที่โปร่งใส สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศด้วย
ชาวม้งกลุ่มนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายผู้อพยพห้วยน้ำขาวในจ.เพชรบูรณ์ ทางภาคเหนือของไทย และพวกเขากำลังขอลี้ภัยทางการเมือง โดยอ้างเหตุผลว่า อาจถูกทางการลาวลงโทษ เพราะพวกเขาเคยสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกันในสมัยสงครามเวียดนาม
โดยหลักเราก็ต้องส่งกลับ เพียงแต่ว่าการส่งกลับก็จะมีระยะเวลาขั้นตอนของมัน ซึ่งจะดูตามความเหมาะสม รวมทั้งจะส่งกลับเมื่อไรก็ตามความเหมาะสมเช่นกัน
ทั้งนี้สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา 9 คน ประกอบด้วย วุฒิสมาชิกจากพรรคเดโมแครต 7 คน คือ รัสส์ ไฟโกลด์, แพทริค เลียฮี่, บาบาร่า บ็อกเซอร์, เชลดอน ไวท์เฮาส์, มาร์ค บีกิช, เอมี่ โคลบูชาร์, อัล แฟรงเคน กับอีก 2 คนจากพรรครีพับลิกัน คือ ริชาร์ด ลูการ์ กับ ลิซา เมอร์คอฟสกี้ ได้ส่งจดหมายลงวันที่ 17 ธันวาคม ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อประท้วงไทยอาจจะขับชนกลุ่มน้อยชาวม้งมากกว่า 4000 คนกลับไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเกรงว่าชาวม้งเหล่านี้อาจจะถูกลงโทษ
หนังสือดังกล่าวมีขึ้นหลังจากไทย แถลงยืนยันเมื่อวันพุธที่ 9 ธ.ค.ว่า จะดำเนินการดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้ แม้จะมีเสียงคัดค้านอย่างรุนแรงจากนานาชาติ
จดหมายระบุว่า พวกตนตระหนักดีว่าราชอาณาจักรไทยต้องแบกรับภาระเรื่องผู้อพยพจำนวนมากบนแผ่นดินไทย แต่ก็ขอสนับสนุนไม่ให้ดำเนินการส่งกลับกับไปปยังลาวแม้แต่คนเดียวในช่วงนี้
เนื้อความในจดหมายได้ตำหนิรัฐบาลไทยว่าขาดความโปร่งใส ในขั้นตอนการกลั่นกรองผู้ลี้ภัย โดยระบุว่า พวกตนเชื่อว่า การขาดความโปร่งใสในการกลั่นกรองและกระบวนการส่งกลับประเทศ ยิ่งทำให้ชีวิตของชาวม้งเหล่านี้ยากลำบาก มากขึ้น และเพิ่มความวิตกให้กับนานาชาติเกี่ยวกับชาวม้งเหล่านี้
วุฒิสมาชิกสหรัฐกลุ่มนี้เรียกร้องให้ไทยทำงานร่วมกับกลุ่มที่สามซึ่งเป็นคณะทำงานอิสระเพื่อให้มีกระบวนการกลั่น กรองที่โปร่งใส สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศด้วย
ชาวม้งกลุ่มนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายผู้อพยพห้วยน้ำขาวในจ.เพชรบูรณ์ ทางภาคเหนือของไทย และพวกเขากำลังขอลี้ภัยทางการเมือง โดยอ้างเหตุผลว่า อาจถูกทางการลาวลงโทษ เพราะพวกเขาเคยสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกันในสมัยสงครามเวียดนาม