ศูนย์ข่าวศรีราชา - ตลาดนัดผู้ค้าพลอย จังหวัดจันทบุรี อาจต้องปิดตัว หลังเนรมิตพื้นที่ถนนศรีจันท์ ให้กลุ่มผู้ค้าพลอยและโรงงานผู้ผลิตเปิดบูธนำพลอยที่เก็บไว้ในสต๊อกออกจำหน่ายได้เพียง 3 เดือน เหตุเจอปัญหารอบด้าน ทั้งจากนักการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการปิดถนนจัดงาน ชี้ความหวังต่อลมหายใจกลุ่มผู้ค้ารายย่อยเริ่มริบหรี่แม้จะขายได้มากกว่า 10 ล้านบาท ขณะที่สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เตรียมจัดหาที่ด้านหน้าสมาคมฯ เป็นพื้นที่ขายใหม่
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เผยถึงการจัดโครงการ “ตลาดนัดผู้ค้าพลอย”ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายแนวคิดที่จะพัฒนาตลาดค้าพลอยจันท์ให้เกิดขึ้นจริง และยังเป็นการรักษาตาน้ำสำคัญในการส่งออกพลอยไปจำหน่ายทั่วโลก พร้อมทั้งสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ผู้ค้าพลอยรายย่อยของจังหวัด หลังถูกกดราคาอย่างหนักจากพ่อค้าคนกลางชาวอินเดียว่า แม้โครงการนี้จะสามารถสร้างเม็ดเงินจากการขายได้มากกว่า 10 ล้านบาท จากระยะเวลาจัดงานเพียง 3 เดือน คือ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2552 จนถึงปัจจุบัน แต่ในเร็วๆ นี้โครงการนี้อาจต้องปิดตัวลง
ทั้งนี้ เนื่องจากประสบปัญหารอบด้าน ทั้งจากนักการเมืองท้องถิ่นที่ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการดังกล่าวและชาวบ้านบางส่วนที่อาศัยอยู่บนถนนศรีจันท์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน โดยอ้างว่าการปิดถนนในช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ เพื่อเปิดตลาดนัดดังกล่าวทำให้เสียสภาพภูมิทัศน์ของจังหวัด
“การออกมาคัดค้านโครงการดังกล่าวของทั้งนักการเมืองท้องถิ่นและประชาชนบางส่วน อาจทำให้ตลาดค้าพลอยจันท์เสียโอกาสที่จะฟื้นตัว และในอนาคตอาจเหลือเพียงตำนาน เพราะปัจจุบันมูลค่าการตลาดที่เคยมีมากกว่าปีละกว่าพันล้านก็เหลือไม่ถึงร้อยล้านบาท จากปัญหาด้านตลาดส่งออกที่มีและส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลส่งคนที่ไม่รู้ปัญหาจริงเข้ามาแก้ไข เช่นเดียวกับแนวทางการบริหารสมาคมฯ เพื่อพัฒนาทิศทางตลาดส่งออกพลอยจันท์ของคณะกรรมการบริหารก็ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้ตลาดพลอยจันท์ไม่ถูกแก้ปัญหาให้ถูกจุด”
แหล่งข่าว ยังบอกอีกว่าเป้าหมายหลักของสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี ก็คือการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่วงการค้าพลอยจันทบุรี รวมทั้งผลักดันให้พลอยและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมหลักและเป็นแหล่งผลิตพลอยและอัญมณีที่สำคัญของโลก แต่การจะทำให้เรื่องดังกล่าวเกิดจริงต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่สิ่งที่สมาคมฯ ต้องเผชิญในวันนี้นอกจากจะเป็นเรื่องแนวคิดในการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันของคณะผู้บริหารสมาคมฯแล้ว ยังมีปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากนักการเมืองท้องถิ่น และผู้เสียประโยชน์ในตลาดค้าพลอย จึงทำให้อนาคตตลาดค้าพลอยจันท์ อาจเหลือเพียงตำนานเพราะการพัฒนาในหลายๆ ด้านไม่เกิดขึ้นจริง
ทั้งนี้ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้มีมติเห็นชอบที่จะผลักดันโครงการ “ตลาดนัดผู้ค้าพลอย” ให้เกิดจริงและได้จัดทำเอกสารเพื่อเสนอรายละเอียดของโครงการต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงเรื่องการจราจรหากมีการเปิดขายพลอยจากกลุ่มผู้ค้าต่างๆ จนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะสนับสนุนโครงการดังกล่าวและเปิดขายเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2552 ภายใต้ชื่อ “มหกรรมพลอยโลก ” เพื่อให้กลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายได้พบปะกันโดยตรง ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากกลุ่มลูกค้ารายย่อยชาวไทยและต่างชาติ โดยวัตถุประสงค์สำคัญก็คือการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวทั่วประเทศรู้จักตลาดค้าพลอยจันทบุรีให้มากยิ่งขึ้น และยังมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ตลาดแห่งนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเช่นตลาดน้ำดำเนินสะดวก
รูปแบบของงานนอกจากจะเปิดขายพลอยทั้งจากผู้ค้ารายใหญ่และรายย่อยที่เก็บสต๊อกพลอยไว้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำไม่ต่ำกว่า 30 บูธแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดได้เห็นบรรยากาศการซื้อ-ขายพลอย วิธีการผลิตซึ่งผู้สนใจสามารถนำกลับไปประกอบอาชีพได้ นอกจากนั้นรายละเอียดสำคัญยังอยู่ที่การฟื้นบัตรคนเดินพลอยให้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง ซึ่งผู้ที่จะเปิดขายพลอยในตลาดนัดผู้ค้าพลอยได้ จะต้องมีบัตรคนเดินพลอยเพื่อการันตีสินค้าให้แก่ผู้ซื้อที่จะมีทั้งกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายอัญมณี รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้าชม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่ถูกหลอกให้ซื้อพลอยอัดหรือพลอยย้อม
“แนวทางแก้ไขในเบื้องต้นก็คือ หากสมาคมฯ จะต้องปิดโครงการตลาดนัดผู้ค้าพลอย บนถนนศรีจันท์ ก็จะเปิดให้ผู้ค้าได้ใช้พื้นที่ด้านหน้าสมาคมฯ เพื่อเปิดซื้อ-ขายแทน แต่ปัญหาก็คือปัจจุบันนักท่องเที่ยวและกลุ่มผู้ค้าเริ่มรู้จักโครงการนี้ และติดกับสถานที่จัดงานเดิมซึ่งได้บรรยากาศมากกว่า ซึ่งสมาคมฯ ก็ต้องมาประชุมหารือเพื่อพิจารณาร่วมกันอีกครั้งว่าจะคงโครงการนี้ไว้ต่อไปหรือล้มเลิกถาวร”
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เผยถึงการจัดโครงการ “ตลาดนัดผู้ค้าพลอย”ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายแนวคิดที่จะพัฒนาตลาดค้าพลอยจันท์ให้เกิดขึ้นจริง และยังเป็นการรักษาตาน้ำสำคัญในการส่งออกพลอยไปจำหน่ายทั่วโลก พร้อมทั้งสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ผู้ค้าพลอยรายย่อยของจังหวัด หลังถูกกดราคาอย่างหนักจากพ่อค้าคนกลางชาวอินเดียว่า แม้โครงการนี้จะสามารถสร้างเม็ดเงินจากการขายได้มากกว่า 10 ล้านบาท จากระยะเวลาจัดงานเพียง 3 เดือน คือ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2552 จนถึงปัจจุบัน แต่ในเร็วๆ นี้โครงการนี้อาจต้องปิดตัวลง
ทั้งนี้ เนื่องจากประสบปัญหารอบด้าน ทั้งจากนักการเมืองท้องถิ่นที่ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการดังกล่าวและชาวบ้านบางส่วนที่อาศัยอยู่บนถนนศรีจันท์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน โดยอ้างว่าการปิดถนนในช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ เพื่อเปิดตลาดนัดดังกล่าวทำให้เสียสภาพภูมิทัศน์ของจังหวัด
“การออกมาคัดค้านโครงการดังกล่าวของทั้งนักการเมืองท้องถิ่นและประชาชนบางส่วน อาจทำให้ตลาดค้าพลอยจันท์เสียโอกาสที่จะฟื้นตัว และในอนาคตอาจเหลือเพียงตำนาน เพราะปัจจุบันมูลค่าการตลาดที่เคยมีมากกว่าปีละกว่าพันล้านก็เหลือไม่ถึงร้อยล้านบาท จากปัญหาด้านตลาดส่งออกที่มีและส่วนหนึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลส่งคนที่ไม่รู้ปัญหาจริงเข้ามาแก้ไข เช่นเดียวกับแนวทางการบริหารสมาคมฯ เพื่อพัฒนาทิศทางตลาดส่งออกพลอยจันท์ของคณะกรรมการบริหารก็ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้ตลาดพลอยจันท์ไม่ถูกแก้ปัญหาให้ถูกจุด”
แหล่งข่าว ยังบอกอีกว่าเป้าหมายหลักของสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี ก็คือการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่วงการค้าพลอยจันทบุรี รวมทั้งผลักดันให้พลอยและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมหลักและเป็นแหล่งผลิตพลอยและอัญมณีที่สำคัญของโลก แต่การจะทำให้เรื่องดังกล่าวเกิดจริงต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่สิ่งที่สมาคมฯ ต้องเผชิญในวันนี้นอกจากจะเป็นเรื่องแนวคิดในการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันของคณะผู้บริหารสมาคมฯแล้ว ยังมีปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากนักการเมืองท้องถิ่น และผู้เสียประโยชน์ในตลาดค้าพลอย จึงทำให้อนาคตตลาดค้าพลอยจันท์ อาจเหลือเพียงตำนานเพราะการพัฒนาในหลายๆ ด้านไม่เกิดขึ้นจริง
ทั้งนี้ที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้มีมติเห็นชอบที่จะผลักดันโครงการ “ตลาดนัดผู้ค้าพลอย” ให้เกิดจริงและได้จัดทำเอกสารเพื่อเสนอรายละเอียดของโครงการต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงเรื่องการจราจรหากมีการเปิดขายพลอยจากกลุ่มผู้ค้าต่างๆ จนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะสนับสนุนโครงการดังกล่าวและเปิดขายเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 18-20 กันยายน 2552 ภายใต้ชื่อ “มหกรรมพลอยโลก ” เพื่อให้กลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายได้พบปะกันโดยตรง ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากกลุ่มลูกค้ารายย่อยชาวไทยและต่างชาติ โดยวัตถุประสงค์สำคัญก็คือการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวทั่วประเทศรู้จักตลาดค้าพลอยจันทบุรีให้มากยิ่งขึ้น และยังมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ตลาดแห่งนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเช่นตลาดน้ำดำเนินสะดวก
รูปแบบของงานนอกจากจะเปิดขายพลอยทั้งจากผู้ค้ารายใหญ่และรายย่อยที่เก็บสต๊อกพลอยไว้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำไม่ต่ำกว่า 30 บูธแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดได้เห็นบรรยากาศการซื้อ-ขายพลอย วิธีการผลิตซึ่งผู้สนใจสามารถนำกลับไปประกอบอาชีพได้ นอกจากนั้นรายละเอียดสำคัญยังอยู่ที่การฟื้นบัตรคนเดินพลอยให้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง ซึ่งผู้ที่จะเปิดขายพลอยในตลาดนัดผู้ค้าพลอยได้ จะต้องมีบัตรคนเดินพลอยเพื่อการันตีสินค้าให้แก่ผู้ซื้อที่จะมีทั้งกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายอัญมณี รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้าชม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่ถูกหลอกให้ซื้อพลอยอัดหรือพลอยย้อม
“แนวทางแก้ไขในเบื้องต้นก็คือ หากสมาคมฯ จะต้องปิดโครงการตลาดนัดผู้ค้าพลอย บนถนนศรีจันท์ ก็จะเปิดให้ผู้ค้าได้ใช้พื้นที่ด้านหน้าสมาคมฯ เพื่อเปิดซื้อ-ขายแทน แต่ปัญหาก็คือปัจจุบันนักท่องเที่ยวและกลุ่มผู้ค้าเริ่มรู้จักโครงการนี้ และติดกับสถานที่จัดงานเดิมซึ่งได้บรรยากาศมากกว่า ซึ่งสมาคมฯ ก็ต้องมาประชุมหารือเพื่อพิจารณาร่วมกันอีกครั้งว่าจะคงโครงการนี้ไว้ต่อไปหรือล้มเลิกถาวร”