ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - มาเลเซียส่งมอบคนไทย 210 คนที่ประสบปัญหาด้านแรงงานและเหยื่อการค้ามนุษย์ในมาเลย์กลับประเทศไทย "ถาวร" ขณะนี้ยังมีคนไทยอีกราว 200 คนที่จะถูกส่งกลับประเทศแต่ยังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ
วานนี้ (14 ธ.ค.) ที่ศาลาประชาคมไท่หัวสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กับนายต่วนชิดิน บินยูโซ๊ะ รองอธิบดีศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ได้ร่วมกันเป็นประธานทำพิธีส่งมอบคนไทยที่ประสบปัญหาด้านแรงงานและเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศมาเลเซีย ตามโครงการพัฒนาความร่วมมือช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และคนไทยตกทุกข์ได้ยากระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ภายใต้กิจกรรมคืนสู่เหย้าครั้งที่ 3 จากวันพ่อ 5 ธันวาคม 2552 ถึงวันแม่ 12 สิงหาคม 2552 เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเทศกาลฮารีรายอ ของประเทศมาเลเซีย
สำหรับคนไทยที่ได้รับการช่วยเหลือครั้งนี้มีทั้งหมด 210 คนแบ่งเป็นชาย 121 คน หญิง 89 คน ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 17-35 ปี ในจำนวนนี้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 29 คน และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มากที่สุดจำนวน 147 คน ที่เหลือมาจากทั่วทุกภาคของประเทศ และในจำนวนนี้มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการการค้ามนุษย์ 9 คนอายุระหว่าง 23-40 ปี เป็นชายที่ถูกหลอกเป็นลูกเรือประมง 8 คนและหญิงค้าประเวณี 1 คน มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 คน และภาคกลาง 5 คน
ส่วนที่เหลือลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและไม่มีใบอนุญาตทำงาน และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพร้างในร้านอาหารต้มยำกุ้ง ลูกเรือประมง นวดแผนโบราณ สปา เสิร์ฟอาหารในร้านคาราโอเกะ และรับจ้างกรีดยาง
นายถาวร กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย และกำลังประสานกับประเทศมาเลเซีย ในการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ในเรื่องของข้อมูลผู้เสียหาย การคุ้มครอง บำบัดฟื้นฟูส่งกลับอย่างปลอดภัย การขยายผลป้องกันปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ และการพัฒนาไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน สอดคล้องตามนโยบายองค์ภาคีความร่วมมืออาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งได้มีการพูดคุยเป็นประเด็นหลักในเวทีประชุมรัฐมนตีต่างประเทศอาเซียนเมื่อวันที่ 20-22 กรกฎาคมที่ผ่านมา
"ความสำเร็จของโครงการคืนสู่เหย้าครั้งที่ 3 นี้ เป็นความร่วมมือของทั้งสองประเทศและทีมทำงานของภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินทุนเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย และเงินงบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กระทรวงมหาดไทย "
นายถาวร กล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังมีคนไทยอีกราว 200 คนที่จะถูกส่งกลับประเทศแต่ยังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ทั้งนี้จากการสอบถามคนไทยพบว่าบางส่วนติดคุกอยู่ในประเทศมาเลเซียนานกว่า 4 เดือน
น.ส.ชนิยา ละอองเอก ชาวจังหวัดชุมพร กล่าวว่า เข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียโดยผิดกฎหมายและถูกจับกุมนานกว่า 1 สัปดาห์แต่นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์ที่ได้ช่วยเหลือให้พ้นโทษ เพราะหากถูกดำเนินคดีตามกฏหมายในมาเลเซียจะต้องถูกปรับอย่างน้อย 3 หมื่นบาทและถูกจำคุกด้วย ซึ่งตนดีใจมากที่ได้กลับบ้านเกิดอีกครั้ง
วานนี้ (14 ธ.ค.) ที่ศาลาประชาคมไท่หัวสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กับนายต่วนชิดิน บินยูโซ๊ะ รองอธิบดีศูนย์ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ได้ร่วมกันเป็นประธานทำพิธีส่งมอบคนไทยที่ประสบปัญหาด้านแรงงานและเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศมาเลเซีย ตามโครงการพัฒนาความร่วมมือช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และคนไทยตกทุกข์ได้ยากระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ภายใต้กิจกรรมคืนสู่เหย้าครั้งที่ 3 จากวันพ่อ 5 ธันวาคม 2552 ถึงวันแม่ 12 สิงหาคม 2552 เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเทศกาลฮารีรายอ ของประเทศมาเลเซีย
สำหรับคนไทยที่ได้รับการช่วยเหลือครั้งนี้มีทั้งหมด 210 คนแบ่งเป็นชาย 121 คน หญิง 89 คน ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 17-35 ปี ในจำนวนนี้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 29 คน และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มากที่สุดจำนวน 147 คน ที่เหลือมาจากทั่วทุกภาคของประเทศ และในจำนวนนี้มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการการค้ามนุษย์ 9 คนอายุระหว่าง 23-40 ปี เป็นชายที่ถูกหลอกเป็นลูกเรือประมง 8 คนและหญิงค้าประเวณี 1 คน มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 คน และภาคกลาง 5 คน
ส่วนที่เหลือลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและไม่มีใบอนุญาตทำงาน และส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพร้างในร้านอาหารต้มยำกุ้ง ลูกเรือประมง นวดแผนโบราณ สปา เสิร์ฟอาหารในร้านคาราโอเกะ และรับจ้างกรีดยาง
นายถาวร กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา พม่า ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย และกำลังประสานกับประเทศมาเลเซีย ในการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ในเรื่องของข้อมูลผู้เสียหาย การคุ้มครอง บำบัดฟื้นฟูส่งกลับอย่างปลอดภัย การขยายผลป้องกันปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ และการพัฒนาไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน สอดคล้องตามนโยบายองค์ภาคีความร่วมมืออาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งได้มีการพูดคุยเป็นประเด็นหลักในเวทีประชุมรัฐมนตีต่างประเทศอาเซียนเมื่อวันที่ 20-22 กรกฎาคมที่ผ่านมา
"ความสำเร็จของโครงการคืนสู่เหย้าครั้งที่ 3 นี้ เป็นความร่วมมือของทั้งสองประเทศและทีมทำงานของภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินทุนเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย และเงินงบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กระทรวงมหาดไทย "
นายถาวร กล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังมีคนไทยอีกราว 200 คนที่จะถูกส่งกลับประเทศแต่ยังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ทั้งนี้จากการสอบถามคนไทยพบว่าบางส่วนติดคุกอยู่ในประเทศมาเลเซียนานกว่า 4 เดือน
น.ส.ชนิยา ละอองเอก ชาวจังหวัดชุมพร กล่าวว่า เข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียโดยผิดกฎหมายและถูกจับกุมนานกว่า 1 สัปดาห์แต่นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของทั้งสองพระองค์ที่ได้ช่วยเหลือให้พ้นโทษ เพราะหากถูกดำเนินคดีตามกฏหมายในมาเลเซียจะต้องถูกปรับอย่างน้อย 3 หมื่นบาทและถูกจำคุกด้วย ซึ่งตนดีใจมากที่ได้กลับบ้านเกิดอีกครั้ง