ASTVผู้จัดการรายวัน – แนะชงเอ็มบีดับบลิวจีให้รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบาย ขยายฐานผู้ใช้บรอดแบนด์ในไทย คาด 5 ปี มีเม็ดเงินสูงถึง 8 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันเป็นโอกาสของไทยที่สร้างคอนเทนต์ขายตลาดโลก กระทุ้ง กทช. รีบปล่อยไลเซนส์ 3G ไวแมกซ์ ด้าน ดีแทค-เอไอเอส คาดปีหน้ายังไม่ได้ให้บริการ 3 G
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่คณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะประธานคณะทำงาน (ตามวาระ) โครงการบรอดแบนด์ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนประเทศไทย หรือ Meaningful Broadband Working Group (MBWG) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี 1992 แต่ยังเป็นแค่เรื่องข้อมูลเพียงอย่างเดียว พอถึงปี 2000เริ่มมีการให้บริการผ่านเทคโนโลยีเอดีเอสแอล ทำให้เกิดมัลติมีเดียมากขึ้น แต่การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ ผ่านเทคโนโลยีนี้ยังมีข้อจำกัด เพราะสื่อที่ใช้ยังเป็นสายทองแดง
แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเกิดขึ้นเร็วมาก ถ้าเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์กับจำนวนประชากรในไทยมีแค่ 7% ซึ่งต่ำกว่าเวียดนาม ขณะที่จีนมีผู้ใช้ถึง 90 ล้านราย แซงสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ใช้บรอดแบนด์อยู่ที่ 80 ล้านราย และถ้าจีนดำเนินการติดตั้งระบบ 3G และ 4Gเสร็จภายใน 2 ปี จะทำให้การเข้าถึงบรอดแบนด์ขั้นพื้นฐานของจีนสูงมาก ส่วนเกาหลีมีผู้ใช้บรอดแบนด์สูงถึง 99% ส่วนการลงทุนด้านโทรคมนาคมไทยอยู่อันดับที่ 18 ซึ่งต่ำกว่าเวียดนาม ขณะที่การใช้จ่ายด้านไอทีก็ถือว่าต่ำ
สิ่งที่ศุภชัยมองว่ายังเป็นอุปสรรคคือฮาร์ดแวร์หรือฮาร์ดไซต์ กับซอฟต์แวร์หรือซอฟต์ไซต์ ที่เป็นฮาร์ดไซต์ความครอบคลุมของบรอดแบนด์ที่ผู้ใช้จะเข้าถึงยังน้อย อย่างโทรศัพท์พื้นฐานมีการใช้งานทั้งหมดประมาณ 4 ล้านเลขหมาย จากจำนวนประชากร 19 ล้านครัวเรือน ส่วนมือถือที่มีการใช้จีพีอาร์เอสก็มีแค่หลักแสน ด้านอุปกรณ์สื่อสารหรือดีไวซ์อย่างโน้ตบุ๊กราคาลดลงมาก เชื่อว่าถ้าจีนลงระบบ 3Gและ 4Gเสร็จ จะช่วยขับเคลื่อนให้ราคาโน้ตบุ๊กลดลงอีก ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบรอดแบนด์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ให้ความรู้กับผู้ปกครอง อย่างเกาหลีจะมีกองทุนสำหรับให้ความรู้เรื่องบรอดแบนด์กับแม่บ้าน เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในสถาบันครอบครัว ขณะที่สมาร์ทโฟนก็เป็นอีกตัวที่จะทำให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
นายศุภชัยกล่าวว่า รัฐบาลไทยต้องกระตุ้นเรื่องบรอดแบนด์ โดยเฉพาะภาคการศึกษา เพราะขณะนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 17 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่และคนวัยทำงาน และสิ่งที่จะตามมาคือกฎหมาย วัฒนธรรม และระบบสังคม หรือโซเชียล แวลู ทั้งนี้ หากบรอดแบนด์มีการขยายตัวจะทำให้เกิดการทำธุรกรรมผ่านช่องทางนี้มากขึ้น ซึ่งกฎหมายต้องตามให้ทัน
ส่วนกรณีที่ผู้หวั่นว่าหาก 3Gเกิดผู้ใช้จะย้ายระบบจาก 2Gไป 3G จะทำให้เสียรายได้กว่า 3 แสนล้านบาทนายศุภชัยย้ำว่าไม่จริง เพราะการเก็บค่าใบอนุญาตหรือไลเซนส์ 3Gจะได้มากกว่าการแบ่งรายได้จำนวน 25% ตามสัมปทานเดิม ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลเองก็น่าจะหาแนวทางว่าทำอย่างไรจะให้เอกชนมีอิสระมากขึ้นในการทำสิ่งใหม่ๆ อย่าง 3Gก็ต้องทำให้เกิดโดยเร็วเพราะขณะนี้ทั่วโลกกำลังไป 4G แล้ว ทำอย่างไม่จำกัดขีดความสามารถของเอกชน ไวแมกซ์ก็เช่นกัน
“การลงทุนด้านเทคโนโลยีอาจมีถูกบ้างผิดบ้าง ซึ่งก็ต้องเรียนรู้เพราะจะได้ศึกษาว่าจะต้องลงทุนเท่าไหร่”
ผู้บริหารทรูมองถึงสิ่งที่โตแบบก้าวกระโดดหากผู้บริโภคเข้าถึงบรอดแบนด์จำนวนมากคือ คอนเทนต์กับแอปพลิเคชัน ถ้าไทยมีการพัฒนาคอนเทนต์มากๆ สามารถกระจายไปทั่วโลกได้ ซึ่งเป็นผลพ่วงขนาดใหญ่ที่จะตามมา และหากมีการลงทุนเกี่ยวกับบรอดแบนด์จะสามารถเสริมสร้างผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือGDPได้กว่า 1.38% และถ้าคนไทยมีการเข้าถึงบรอดแบนด์ภายใน 5ปีจะมีเม็ดเงินในตลาดนี้สูงถึง 8 แสนล้านบาท
ด้านเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการ กรรมการในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในฐานะประธานผู้ร่วมก่อตั้งMBWG กล่าวว่า เรื่องคอนเทนต์เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และถ้ามีการใช้บรอดแบนด์อย่างแพร่หลายก็จะเป็นโอกาสทางการตลาดของคนไทย
ส่วนการลดบทบาทของหน่วยงานที่กำกับดูแล กฎหมายเขียนไว้ว่าให้ทำงานตามกรอบอย่างเคร่งคัด การทำแต่ละอย่างก็ต้องรับฟังจากสาธารณะและต้องใช้เวลา
“เห็นด้วยกับการดีเร็กกูเรต ซึ่งกทช.ก็กำลังดูว่าจะลด หรือยกเลิกอะไรได้ อย่างผู้ประกอบการรายใดลงทุนเกี่ยวกับการลากสายเคเบิลจะยกเลิกค่าธรรม”
สำหรับโครงการMBWG น่าจะนำเสนอรัฐบาลให้มีการกำหนดเป็นนโยบายเกี่ยวกับเรื่องบรอดแบนด์ที่ชัดเจน เพราะขับเคลื่อนให้บริการประเภทนี้เกิด อย่าง 3Gในไทยก็สมควรที่จะเกิด แต่มีนักวิจัย นักวิชาการบางคนที่ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงออกมาให้ข้อมูลข่าวสารกับสาธารณะ อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวต้องเดินหน้าต่อไป
ดีแทค-เอไอเอสถอนแผน3Gปีหน้า
นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าว่า ในปี 2553 บริษัทจะไม่มีแผนการทำการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 G อย่างแน่นอน เนื่องจากหากเปิดประมูล 3 G ได้ในเดือน มีนาคม-เมษายนปีหน้า เอกชนต้องใช้เวลาสร้างโครงข่ายราว 6 เดือนหรือมากกว่า
ดังนั้นในปีหน้าดีแทคจะยังไม่มีรายได้จาก 3G ส่วนเงินลงทุนโครงข่ายนั้นดีแทคมีการเตรียมการไว้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้นำออกมาใช้หรือไม่
อย่างไรก็ดีการในปีหน้าดีแทคจะเน้นลงทุนขยายโครงข่ายเพื่อให้บริการสื่อสารข้อมูลเป็นหลัก เพราะผู้บริโภคมีความต้องการใช้งานสื่อสารข้อมูลเพิ่มมากขึ้นตามตลาดโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับเดือนธันวาคมนี้ ดีแทคจะนำเครื่องแบล็กเบอร์รี่เข้ามาจำหน่าย
สำหรับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.ใหม่ 4 รายที่จะเข้ารับตำแหน่งแทนกทช.เดิมที่จับฉลากลาออกไป 3ราย และแทนกทช.ที่ลาออกไป 1 รายนั้นเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ามาศึกษาเรื่องที่กทช.ชุดเดิมทำไว้ใหม่ทั้งหมด
ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าว่า เอไอเอสได้เตรียมแผนการลงทุนโครงข่าย 3 Gไว้ แต่คาดว่าอาจจะไม่ได้ใช้เนื่องจากความคาดเคลื่อนในการประมูลมีขึ้นตลอดเวลา ส่วนแผนการดำเนินธุรกิจ 3 G ในปีหน้าเอไอเอสจะไม่เตรียมการไว้ และจะไปเน้นแผนการดำเนินธุรกิจ 2 G เป็นหลัก
ส่วนการสรรหากทช.ใหม่ 4 รายยังไม่สามารถคาดการณ์ใดๆได้ เนื่องจากหลังจากการได้รายชื่อ กทช.ใหม่แล้วจะต้องรอการเสนอโปรดเกล้าซึ่งไม่สามารถระบุเวลาได้ และหลังจากโปรเกล้าเรียบร้อยแล้ว กทช.ทั้งหมดจะต้องเลือกประธานบอร์ดคนใหม่ และเสนอโปรดเกล้าอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่สามารถระบุระยะเวลาสิ้นสุดได้เช่นกัน
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่คณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะประธานคณะทำงาน (ตามวาระ) โครงการบรอดแบนด์ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนประเทศไทย หรือ Meaningful Broadband Working Group (MBWG) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี 1992 แต่ยังเป็นแค่เรื่องข้อมูลเพียงอย่างเดียว พอถึงปี 2000เริ่มมีการให้บริการผ่านเทคโนโลยีเอดีเอสแอล ทำให้เกิดมัลติมีเดียมากขึ้น แต่การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ ผ่านเทคโนโลยีนี้ยังมีข้อจำกัด เพราะสื่อที่ใช้ยังเป็นสายทองแดง
แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเกิดขึ้นเร็วมาก ถ้าเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์กับจำนวนประชากรในไทยมีแค่ 7% ซึ่งต่ำกว่าเวียดนาม ขณะที่จีนมีผู้ใช้ถึง 90 ล้านราย แซงสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ใช้บรอดแบนด์อยู่ที่ 80 ล้านราย และถ้าจีนดำเนินการติดตั้งระบบ 3G และ 4Gเสร็จภายใน 2 ปี จะทำให้การเข้าถึงบรอดแบนด์ขั้นพื้นฐานของจีนสูงมาก ส่วนเกาหลีมีผู้ใช้บรอดแบนด์สูงถึง 99% ส่วนการลงทุนด้านโทรคมนาคมไทยอยู่อันดับที่ 18 ซึ่งต่ำกว่าเวียดนาม ขณะที่การใช้จ่ายด้านไอทีก็ถือว่าต่ำ
สิ่งที่ศุภชัยมองว่ายังเป็นอุปสรรคคือฮาร์ดแวร์หรือฮาร์ดไซต์ กับซอฟต์แวร์หรือซอฟต์ไซต์ ที่เป็นฮาร์ดไซต์ความครอบคลุมของบรอดแบนด์ที่ผู้ใช้จะเข้าถึงยังน้อย อย่างโทรศัพท์พื้นฐานมีการใช้งานทั้งหมดประมาณ 4 ล้านเลขหมาย จากจำนวนประชากร 19 ล้านครัวเรือน ส่วนมือถือที่มีการใช้จีพีอาร์เอสก็มีแค่หลักแสน ด้านอุปกรณ์สื่อสารหรือดีไวซ์อย่างโน้ตบุ๊กราคาลดลงมาก เชื่อว่าถ้าจีนลงระบบ 3Gและ 4Gเสร็จ จะช่วยขับเคลื่อนให้ราคาโน้ตบุ๊กลดลงอีก ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบรอดแบนด์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้ให้ความรู้กับผู้ปกครอง อย่างเกาหลีจะมีกองทุนสำหรับให้ความรู้เรื่องบรอดแบนด์กับแม่บ้าน เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในสถาบันครอบครัว ขณะที่สมาร์ทโฟนก็เป็นอีกตัวที่จะทำให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
นายศุภชัยกล่าวว่า รัฐบาลไทยต้องกระตุ้นเรื่องบรอดแบนด์ โดยเฉพาะภาคการศึกษา เพราะขณะนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 17 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่และคนวัยทำงาน และสิ่งที่จะตามมาคือกฎหมาย วัฒนธรรม และระบบสังคม หรือโซเชียล แวลู ทั้งนี้ หากบรอดแบนด์มีการขยายตัวจะทำให้เกิดการทำธุรกรรมผ่านช่องทางนี้มากขึ้น ซึ่งกฎหมายต้องตามให้ทัน
ส่วนกรณีที่ผู้หวั่นว่าหาก 3Gเกิดผู้ใช้จะย้ายระบบจาก 2Gไป 3G จะทำให้เสียรายได้กว่า 3 แสนล้านบาทนายศุภชัยย้ำว่าไม่จริง เพราะการเก็บค่าใบอนุญาตหรือไลเซนส์ 3Gจะได้มากกว่าการแบ่งรายได้จำนวน 25% ตามสัมปทานเดิม ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลเองก็น่าจะหาแนวทางว่าทำอย่างไรจะให้เอกชนมีอิสระมากขึ้นในการทำสิ่งใหม่ๆ อย่าง 3Gก็ต้องทำให้เกิดโดยเร็วเพราะขณะนี้ทั่วโลกกำลังไป 4G แล้ว ทำอย่างไม่จำกัดขีดความสามารถของเอกชน ไวแมกซ์ก็เช่นกัน
“การลงทุนด้านเทคโนโลยีอาจมีถูกบ้างผิดบ้าง ซึ่งก็ต้องเรียนรู้เพราะจะได้ศึกษาว่าจะต้องลงทุนเท่าไหร่”
ผู้บริหารทรูมองถึงสิ่งที่โตแบบก้าวกระโดดหากผู้บริโภคเข้าถึงบรอดแบนด์จำนวนมากคือ คอนเทนต์กับแอปพลิเคชัน ถ้าไทยมีการพัฒนาคอนเทนต์มากๆ สามารถกระจายไปทั่วโลกได้ ซึ่งเป็นผลพ่วงขนาดใหญ่ที่จะตามมา และหากมีการลงทุนเกี่ยวกับบรอดแบนด์จะสามารถเสริมสร้างผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือGDPได้กว่า 1.38% และถ้าคนไทยมีการเข้าถึงบรอดแบนด์ภายใน 5ปีจะมีเม็ดเงินในตลาดนี้สูงถึง 8 แสนล้านบาท
ด้านเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการ กรรมการในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในฐานะประธานผู้ร่วมก่อตั้งMBWG กล่าวว่า เรื่องคอนเทนต์เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และถ้ามีการใช้บรอดแบนด์อย่างแพร่หลายก็จะเป็นโอกาสทางการตลาดของคนไทย
ส่วนการลดบทบาทของหน่วยงานที่กำกับดูแล กฎหมายเขียนไว้ว่าให้ทำงานตามกรอบอย่างเคร่งคัด การทำแต่ละอย่างก็ต้องรับฟังจากสาธารณะและต้องใช้เวลา
“เห็นด้วยกับการดีเร็กกูเรต ซึ่งกทช.ก็กำลังดูว่าจะลด หรือยกเลิกอะไรได้ อย่างผู้ประกอบการรายใดลงทุนเกี่ยวกับการลากสายเคเบิลจะยกเลิกค่าธรรม”
สำหรับโครงการMBWG น่าจะนำเสนอรัฐบาลให้มีการกำหนดเป็นนโยบายเกี่ยวกับเรื่องบรอดแบนด์ที่ชัดเจน เพราะขับเคลื่อนให้บริการประเภทนี้เกิด อย่าง 3Gในไทยก็สมควรที่จะเกิด แต่มีนักวิจัย นักวิชาการบางคนที่ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงออกมาให้ข้อมูลข่าวสารกับสาธารณะ อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวต้องเดินหน้าต่อไป
ดีแทค-เอไอเอสถอนแผน3Gปีหน้า
นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าว่า ในปี 2553 บริษัทจะไม่มีแผนการทำการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 G อย่างแน่นอน เนื่องจากหากเปิดประมูล 3 G ได้ในเดือน มีนาคม-เมษายนปีหน้า เอกชนต้องใช้เวลาสร้างโครงข่ายราว 6 เดือนหรือมากกว่า
ดังนั้นในปีหน้าดีแทคจะยังไม่มีรายได้จาก 3G ส่วนเงินลงทุนโครงข่ายนั้นดีแทคมีการเตรียมการไว้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้นำออกมาใช้หรือไม่
อย่างไรก็ดีการในปีหน้าดีแทคจะเน้นลงทุนขยายโครงข่ายเพื่อให้บริการสื่อสารข้อมูลเป็นหลัก เพราะผู้บริโภคมีความต้องการใช้งานสื่อสารข้อมูลเพิ่มมากขึ้นตามตลาดโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับเดือนธันวาคมนี้ ดีแทคจะนำเครื่องแบล็กเบอร์รี่เข้ามาจำหน่าย
สำหรับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.ใหม่ 4 รายที่จะเข้ารับตำแหน่งแทนกทช.เดิมที่จับฉลากลาออกไป 3ราย และแทนกทช.ที่ลาออกไป 1 รายนั้นเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ามาศึกษาเรื่องที่กทช.ชุดเดิมทำไว้ใหม่ทั้งหมด
ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าว่า เอไอเอสได้เตรียมแผนการลงทุนโครงข่าย 3 Gไว้ แต่คาดว่าอาจจะไม่ได้ใช้เนื่องจากความคาดเคลื่อนในการประมูลมีขึ้นตลอดเวลา ส่วนแผนการดำเนินธุรกิจ 3 G ในปีหน้าเอไอเอสจะไม่เตรียมการไว้ และจะไปเน้นแผนการดำเนินธุรกิจ 2 G เป็นหลัก
ส่วนการสรรหากทช.ใหม่ 4 รายยังไม่สามารถคาดการณ์ใดๆได้ เนื่องจากหลังจากการได้รายชื่อ กทช.ใหม่แล้วจะต้องรอการเสนอโปรดเกล้าซึ่งไม่สามารถระบุเวลาได้ และหลังจากโปรเกล้าเรียบร้อยแล้ว กทช.ทั้งหมดจะต้องเลือกประธานบอร์ดคนใหม่ และเสนอโปรดเกล้าอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่สามารถระบุระยะเวลาสิ้นสุดได้เช่นกัน