เอเจนซี-ความกังวลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในรอบทศวรรษที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อภาษาอีกด้วย โดยคำว่า “global warming” หรือภาวะโลกร้อน และคำว่า “ 9/11” ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ปี 2001 ได้ชื่อว่าเป็นคำที่ถูกใช้มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา
เมื่อวันพุธ (18) โกลบอล แลงเกวจ มอนิเตอร์ (จีแอลเอ็ม) บริษัทด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แนวโน้มการใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลก ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองออสตินในมลรัฐเทกซัสของสหรัฐฯ เผยผลการศึกษาล่าสุดที่ใช้สูตรทางคณิตศาสตร์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ภาษาอังกฤษในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก พบว่าคำที่ถูกใช้มากที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมาคือคำว่า “global warming” หรือภาวะโลกร้อน , อันดับสองคือ“ 9/11” ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ปี 2001 , ขณะที่คำว่า “Obama” อยู่ในอันดับสาม, “Bailout” หรือการเข้าอุ้มสถาบันการเงินตามมาเป็นอันดับ4 , “evacuee” หรือผู้ที่ถูกย้ายไปยังที่ปลอดภัย ซึ่งใช้เรียกเหล่าผู้ประสบภัยจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาในเมืองนิวออร์ลีนส์ของสหรัฐฯเมื่อปี 2005 ได้อันดับ 5 ร่วมกับ “derivative” หรือ ตราสารอนุพันธ์
อันดับที่ 7-10 ประกอบด้วยคำว่า “Google”, “surge ”ซึ่งหมายถึง การเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน คำนี้ใช้กันมากตอนปลายสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อเขาดำเนินแผนการเพิ่มทหารอเมริกันจำนวนมากเข้าไปในอิรัก , คำว่า “Chinglish” หรือการใช้ภาษาจีนผสมปนเปกับภาษาอังกฤษ, และคำว่า “tsunami” ซึ่งหมายถึง คลื่นยักษ์ที่คร่าชีวิตประชาชนในหลายประเทศเอเชียไปกว่า 230,000 คนเมื่อปี 2004
ส่วนวลีสุดฮิตที่ถูกใช้มากที่สุดในทศวรรษ 2000 คือ “ climate change ”หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ตามมาด้วย “financial tsunami” หรือสึนามิทางการเงิน, และ “Ground Zero” ซึ่งก็คือบริเวณซากอาคารเวิลด์เทรดทั้งสองในนิวยอร์กที่ถูกวินาศกรรมยับเยินในกรณี 9/11
ขณะที่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโลก ส่งผลให้เกิดคำยอดนิยมด้านเทคโนโลยีตามมา เช่นคำว่า “Twitter”, “blog” , และ “texting” นอกจากนั้นผลการศึกษาของจีแอลเอ็มครั้งนี้ยังพบว่าคำในแวดวงฮอลลีวูดมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาอังกฤษเช่นกันคือคำว่า “slumdog” จากภาพยนตร์รางวัลออสการ์เมื่อปีก่อนเรื่อง “สลัมด๊อก มิลเลียนแนร์” ของแดนนี บอยล์ ผู้กำกับชื่อดังชาวอังกฤษเชื้อสายไอริช ได้กลายเป็นคำที่ใช้เรียกแทนเด็กๆในสลัมนครมุมไบของอินเดียไปแล้ว
เมื่อวันพุธ (18) โกลบอล แลงเกวจ มอนิเตอร์ (จีแอลเอ็ม) บริษัทด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แนวโน้มการใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลก ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองออสตินในมลรัฐเทกซัสของสหรัฐฯ เผยผลการศึกษาล่าสุดที่ใช้สูตรทางคณิตศาสตร์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ภาษาอังกฤษในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก พบว่าคำที่ถูกใช้มากที่สุดในทศวรรษที่ผ่านมาคือคำว่า “global warming” หรือภาวะโลกร้อน , อันดับสองคือ“ 9/11” ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ปี 2001 , ขณะที่คำว่า “Obama” อยู่ในอันดับสาม, “Bailout” หรือการเข้าอุ้มสถาบันการเงินตามมาเป็นอันดับ4 , “evacuee” หรือผู้ที่ถูกย้ายไปยังที่ปลอดภัย ซึ่งใช้เรียกเหล่าผู้ประสบภัยจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาในเมืองนิวออร์ลีนส์ของสหรัฐฯเมื่อปี 2005 ได้อันดับ 5 ร่วมกับ “derivative” หรือ ตราสารอนุพันธ์
อันดับที่ 7-10 ประกอบด้วยคำว่า “Google”, “surge ”ซึ่งหมายถึง การเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน คำนี้ใช้กันมากตอนปลายสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อเขาดำเนินแผนการเพิ่มทหารอเมริกันจำนวนมากเข้าไปในอิรัก , คำว่า “Chinglish” หรือการใช้ภาษาจีนผสมปนเปกับภาษาอังกฤษ, และคำว่า “tsunami” ซึ่งหมายถึง คลื่นยักษ์ที่คร่าชีวิตประชาชนในหลายประเทศเอเชียไปกว่า 230,000 คนเมื่อปี 2004
ส่วนวลีสุดฮิตที่ถูกใช้มากที่สุดในทศวรรษ 2000 คือ “ climate change ”หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ตามมาด้วย “financial tsunami” หรือสึนามิทางการเงิน, และ “Ground Zero” ซึ่งก็คือบริเวณซากอาคารเวิลด์เทรดทั้งสองในนิวยอร์กที่ถูกวินาศกรรมยับเยินในกรณี 9/11
ขณะที่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโลก ส่งผลให้เกิดคำยอดนิยมด้านเทคโนโลยีตามมา เช่นคำว่า “Twitter”, “blog” , และ “texting” นอกจากนั้นผลการศึกษาของจีแอลเอ็มครั้งนี้ยังพบว่าคำในแวดวงฮอลลีวูดมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาอังกฤษเช่นกันคือคำว่า “slumdog” จากภาพยนตร์รางวัลออสการ์เมื่อปีก่อนเรื่อง “สลัมด๊อก มิลเลียนแนร์” ของแดนนี บอยล์ ผู้กำกับชื่อดังชาวอังกฤษเชื้อสายไอริช ได้กลายเป็นคำที่ใช้เรียกแทนเด็กๆในสลัมนครมุมไบของอินเดียไปแล้ว