ASTVผู้จัดการรายวัน – “ศศิธารา”เล็งใช้เวทีประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หารือนายกฯ “อภิสิทธิ์” 3 ประเด็นหลัก ทั้งปัญหาโครงสร้างการทำงานรูปแบบใหม่ การสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย และมาตรการกระตุ้นนักท่องเที่ยว หวังสร้างการรับรู้ให้แก่ทุกหน่วยราชการช่วยกันฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 30ต.ค.52 ที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งทางกระทรวงได้เตรียม นำเสนอ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ผลการปฎิบัติงานและปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ ในกรณีทดลองปรับลดสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดจาก 75 จังหวัด เหลือ 31 จังหวัด ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยใน 31 จังหวัดที่ได้รับเลือกนั้นได้เพิ่มอำนาจผู้อำนวยการสำนักงานแบบธรรมดา มาเป็นผู้อำนวยการชั้นต้น ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เหนือกว่า โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.52
จากผลการปฎิบัติงานพบว่าเกิดปัญหาในการบริหารงาน ทำให้การประสานงานกับหน่วยงานลำบากขึ้น ซึ่งได้หารือทำความเข้าใจ กับนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.การท่องเที่ยวและกีฬาแล้วถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องการให้นายกรัฐมนตรีเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน
“โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างการทำงานแบบนี้ แต่รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว เคยเอ่ยว่า ในปี 2553 จะเพิ่มให้อีก 10 สำนักงานรวมเป็น 41 แห่ง จะได้คล่องตัวขึ้น”
2.การสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยในต่างประเทศ จากเดิมที่ดำเนินการผ่านทีมไทยแลนด์ ประกอบด้วยหลายกระทรวง เช่น กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงท่องเที่ยว เป็นต้น แต่ในปีงบประมาณ 2553 ไม่มีการต่ออายุโครงการนี้ จึงต้องการหารือนายกรัฐมนตรี
และ3.ผลของมาตรการกระตุ้นนักท่องเที่ยว ที่เอกชนพอใจ แต่ต้องการให้ต่ออายุมาตรการถึงปีหน้า เพราะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวได้จริง ได้แก่ 1.มาตรการกระตุ้นนักท่องเที่ยวที่ได้ผลตอบรับดี และเอกชนเห็นตรงกันว่าสมควรต่ออายุมาตรการไปถึงปี 2553 ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมนำเครื่องบินขึ้น-ลง-จอด และค่าธรรมเนียมหลุมจอดเครื่องบิน เป็นต้น 2.มาตรการยกเว้นค่าวีซ่าเข้าประเทศ และ 3.มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดย 9 เดือนแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยว 11 ล้านคน จึงมั่นใจว่าถึงสิ้นปีนี้ ได้ 14 ล้านคนตามเป้าหมายที่รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวตั้งไว้แน่
การชี้แจงผลดังกล่าว เพื่อต้องการให้นายกรัฐมนตรี และปลัดของทุกกระทรวงได้รับฟังร่วมกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่ออายุมาตรการ เนื่องจากการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ จำเป็นต้องของบประมาณจากคณะรัฐมนตรีเข้ามาช่วยเหลือ หรือชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป
สำหรับโครงการประกันภัยนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ยืดเวลาถึง 31 มี.ค.53 จากเดิมที่จะหมดอายุโครงการนี้ 31 ต.ค.52 ล่าสุดจากการเจรจากับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสมาคมประกันวินาศภัย ในเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการลดค่าเบี้ยประกันในเฟส 2 นี้แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นราคาเท่าใด จากเฟสแรกจ่ายเบี้ยประภัย 35บาทต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1 คน
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 30ต.ค.52 ที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งทางกระทรวงได้เตรียม นำเสนอ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ผลการปฎิบัติงานและปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ ในกรณีทดลองปรับลดสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดจาก 75 จังหวัด เหลือ 31 จังหวัด ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยใน 31 จังหวัดที่ได้รับเลือกนั้นได้เพิ่มอำนาจผู้อำนวยการสำนักงานแบบธรรมดา มาเป็นผู้อำนวยการชั้นต้น ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เหนือกว่า โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.52
จากผลการปฎิบัติงานพบว่าเกิดปัญหาในการบริหารงาน ทำให้การประสานงานกับหน่วยงานลำบากขึ้น ซึ่งได้หารือทำความเข้าใจ กับนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.การท่องเที่ยวและกีฬาแล้วถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องการให้นายกรัฐมนตรีเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน
“โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับโครงสร้างการทำงานแบบนี้ แต่รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว เคยเอ่ยว่า ในปี 2553 จะเพิ่มให้อีก 10 สำนักงานรวมเป็น 41 แห่ง จะได้คล่องตัวขึ้น”
2.การสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยในต่างประเทศ จากเดิมที่ดำเนินการผ่านทีมไทยแลนด์ ประกอบด้วยหลายกระทรวง เช่น กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงท่องเที่ยว เป็นต้น แต่ในปีงบประมาณ 2553 ไม่มีการต่ออายุโครงการนี้ จึงต้องการหารือนายกรัฐมนตรี
และ3.ผลของมาตรการกระตุ้นนักท่องเที่ยว ที่เอกชนพอใจ แต่ต้องการให้ต่ออายุมาตรการถึงปีหน้า เพราะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวได้จริง ได้แก่ 1.มาตรการกระตุ้นนักท่องเที่ยวที่ได้ผลตอบรับดี และเอกชนเห็นตรงกันว่าสมควรต่ออายุมาตรการไปถึงปี 2553 ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมนำเครื่องบินขึ้น-ลง-จอด และค่าธรรมเนียมหลุมจอดเครื่องบิน เป็นต้น 2.มาตรการยกเว้นค่าวีซ่าเข้าประเทศ และ 3.มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดย 9 เดือนแรกมีจำนวนนักท่องเที่ยว 11 ล้านคน จึงมั่นใจว่าถึงสิ้นปีนี้ ได้ 14 ล้านคนตามเป้าหมายที่รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวตั้งไว้แน่
การชี้แจงผลดังกล่าว เพื่อต้องการให้นายกรัฐมนตรี และปลัดของทุกกระทรวงได้รับฟังร่วมกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่ออายุมาตรการ เนื่องจากการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ จำเป็นต้องของบประมาณจากคณะรัฐมนตรีเข้ามาช่วยเหลือ หรือชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป
สำหรับโครงการประกันภัยนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ยืดเวลาถึง 31 มี.ค.53 จากเดิมที่จะหมดอายุโครงการนี้ 31 ต.ค.52 ล่าสุดจากการเจรจากับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสมาคมประกันวินาศภัย ในเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการลดค่าเบี้ยประกันในเฟส 2 นี้แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นราคาเท่าใด จากเฟสแรกจ่ายเบี้ยประภัย 35บาทต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1 คน