ASTVผู้จัดการรายวัน – หนุนผู้ประกอบการอสังหาฯปล่อยกู้ลูกค้าชื้อบ้าน เชื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย จัดสรรแนะหาข้อสรุปวิธีปฏิบัติการปล่อยกู้ วิธีรับชื้อสินเชื่อ ด้านบตท.หนุนสุดลิ่มหวังตลาดรองสินเชื่อเกิด พร้อมรับข้อเสนอผู้ประกอบการพิจารณาก่อนจัดสัมมนาใหญ่ทำความเข้าใจเดือนพย.นี้
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สามารถประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ หรือมอร์เกจ คอมพานี โดยไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติธุรกิจการเงิน และไม่ต้องจดทะเบียนจัดตั้งเป็นเครติดฟองซิเอร์ การเปิดโอกาสดังกล่าวก็เพื่อให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกิดความซื้อง่ายขายคล่องในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่นในช่วงที่ผ่านมา
อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในระบบสถาบันการเงิน เพราะผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์สามารถนำสินเชื่อที่ตนเองปล่อยให้แก่ลูกค้ามาขายให้ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือ บตท.ได้เลย ซึ่งที่ผ่านมาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไทยไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในการรับซื้อสินเชื่อของ บตท. ไม่เป็นที่จูงในของสถาบันการเงิน
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้มีประกาศให้ผู้ประกอบการสามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ธุรกิจการเงินและไม่ถูกควบคุมจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต้องไม่ระดมเงินฝาก นอกจากนี้กรมที่ดินยังได้ออกหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานของกรมที่ดินทั่วประเทศมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีทีผ่านมา แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติ
ดังนั้นทางบตท.และธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เชิญตัวแทนผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพื่อชี้แจงถึงวิธีการปฏิบัติ และรับทราบประเด็นคำถาม ข้อสงสัย และปัญหาต่างๆ จากผู้ประกอบการในสัปดาห์ทีผ่านมา
ทั้งนี้ นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า การหารือดังกล่าวมี 2 ประเด็นหลัก คือ 1. เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการถึงวิธีการดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อของผู้ประกอบการ และนำไปอธิบายหรือตอบคำถามของผู้ประกอบการที่สนใจจะดำเนินธุรกิจ และ 2. วิธีการดำเนินการขายสินเชื่อระหว่างบริษัทผู้ประกอบการและบตท.
สำหรับประเด็นหลักๆที่ได้มีการหารือส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการปฏิบัติ ข้อบังคับ สิ่งใดทำได้ และสิ่งใดทำไม่ได้ คุณสมบัติของผู้ประกอบการ เพราะบตท.ยังไม่ได้มีกฎระเบียบในการดำเนินงานของผู้ประกอบการที่จะสามารถประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อได้ เพียงแต่วางแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น
นายอิสระ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ประเด็นคำถามที่ตัวแทนจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ถามไปยัง บตท. เพื่อนำไปพิจารณามีประมาณ 5-6 คำถาม อาทิ 1.เมื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้บริโภคแล้วจะสามารถนำสินเชื่อเหล่านั้นขายให้แก่ บตท.ได้ภายในกี่วัน, 2.ในการรับจำนอง กรณีที่มีบริษัทประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือหลายแห่ง สามารถกำหนดให้บริษัทเดี่ยวรับปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทอื่นๆในเครือได้หรือไม่,
3. ผู้ประกอบการขอรับข้อมูลเครดิตบูโรของลูกค้า จากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ได้โดยตรงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาบริษัทจะจัดส่งให้ลูกค้าโดยตรงไม่ส่งให้บริษัทผู้ประกอบการ ยกเว้นสถาบันการเงิน ซึ่งอาจเกิดกรณีที่ลูกค้าไม่ส่งข้อมูลเครดิตให้ผู้ประกอบการก็เป็นได้ และอาจมีผลต่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้
ส่วนคุณสมบัติของบริษัทผู้ประกอบการที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้นั้น ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นจะต้องมี ทุนจดทะเบียนเท่าใด ประกอบธุรกิจมาเป็นเวลากี่ปี ส่วนคุณสมบัติของผู้กู้ เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน บตท.จะเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ที่ประประกอบการจะสามารถปล่อยสินเชื่อให้ได้ บตท.จึงจะรับซื้อสินเชื่อดังกล่าว สำหรับวงเงินในการปล่อยสินเชื่อเบื้องต้นประมาณ 95% ของราคาประเมินสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป ส่วนอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารแห่งประเทศกำหนด คือไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี
ทั้งนี้ภายหลังจากหารือกับผู้ประกอบการแล้ว บตท.จะนำประเด็นคำถามจากผู้ประกอบการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบตท. เพื่อสรุปอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นจะจัดงานเป็นจัดสัมมนาเรื่องธุรกิจปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้อีกครั้ง ซึ่งในงานสัมมนาจะได้ข้อสรุปถึงข้อประพฤติปฏิบัติได้ทั้งหมด
**ชี้เพิ่มโอกาสจัดสรรขายบ้าน**
นายอิสระ กล่าวว่า การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถปล่อยสินเชื่อได้ ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีกำไรจากการปล่อยสินเชื่อหรือแข่งขันกับสถาบันการเงินเพราะไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทำให้ขายบ้านได้ง่าย ผู้บริโภคเข้าถึงสินเชื่อได้ หากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องเหลือน้อยในระบบหรือมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เพราะลูกค้าบางส่วนถูกปฏิเสธสินเชื่อเพราะคุณสมบัติบางประการ แม้ว่าจะมีความสามารถในการชำระหนีก็ตาม หรือบางรายติดแบล็คลิสในเครดิตบูโรและได้ทำการแก้ไขมาแล้ว 3 ปีตามที่แบงก์กำหนดแล้วก็ตาม
“เชื่อว่าบริษัทที่มีศักยภาพหรือมีสภาพคล่องเหลืออยู่ในมือมากๆ น่าจะทำได้ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายบ้านได้มากขึ้น และเชื่อว่ามีหลายรายให้ความสนใจแต่ยังไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาก็พิจารณาคุณสมบัติผู้กู้ในเบื้องต้นให้แบงก์อยู่แล้ว และยังมี บตท. รอรับซื้อสินเชื่อให้อยู่แล้ว”
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธปท.จะเปิดโอกาสในผู้ประกอบการสามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ลูกค้าได้ แต่อย่าลืมว่า ทุกวันนี้ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอดีตธนาคารบางแห่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อรายย่อยซื้อบ้าน แต่ปัจจุบันก็หันมาลงแข่งขันมากขึ้น เพราะเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกันและมีความเสี่ยงต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น ธนาคารบางแห่งไม่ปล่อยให้แก่ผู้ที่เคยติดเครดิตบูโร แต่ปัจจุบันเริ่มหันกลับมาพิจารณา หากแก้ไขไปแล้ว 2-3 ปี ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะยอมเสี่ยงเพื่อให้ขายบ้านได้นั้น คงต้องคิดหนัก
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สามารถประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ หรือมอร์เกจ คอมพานี โดยไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติธุรกิจการเงิน และไม่ต้องจดทะเบียนจัดตั้งเป็นเครติดฟองซิเอร์ การเปิดโอกาสดังกล่าวก็เพื่อให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกิดความซื้อง่ายขายคล่องในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่นในช่วงที่ผ่านมา
อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในระบบสถาบันการเงิน เพราะผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์สามารถนำสินเชื่อที่ตนเองปล่อยให้แก่ลูกค้ามาขายให้ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือ บตท.ได้เลย ซึ่งที่ผ่านมาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไทยไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในการรับซื้อสินเชื่อของ บตท. ไม่เป็นที่จูงในของสถาบันการเงิน
แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้มีประกาศให้ผู้ประกอบการสามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. ธุรกิจการเงินและไม่ถูกควบคุมจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต้องไม่ระดมเงินฝาก นอกจากนี้กรมที่ดินยังได้ออกหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานของกรมที่ดินทั่วประเทศมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีทีผ่านมา แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติ
ดังนั้นทางบตท.และธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้เชิญตัวแทนผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพื่อชี้แจงถึงวิธีการปฏิบัติ และรับทราบประเด็นคำถาม ข้อสงสัย และปัญหาต่างๆ จากผู้ประกอบการในสัปดาห์ทีผ่านมา
ทั้งนี้ นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า การหารือดังกล่าวมี 2 ประเด็นหลัก คือ 1. เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการถึงวิธีการดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อของผู้ประกอบการ และนำไปอธิบายหรือตอบคำถามของผู้ประกอบการที่สนใจจะดำเนินธุรกิจ และ 2. วิธีการดำเนินการขายสินเชื่อระหว่างบริษัทผู้ประกอบการและบตท.
สำหรับประเด็นหลักๆที่ได้มีการหารือส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการปฏิบัติ ข้อบังคับ สิ่งใดทำได้ และสิ่งใดทำไม่ได้ คุณสมบัติของผู้ประกอบการ เพราะบตท.ยังไม่ได้มีกฎระเบียบในการดำเนินงานของผู้ประกอบการที่จะสามารถประกอบธุรกิจปล่อยสินเชื่อได้ เพียงแต่วางแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น
นายอิสระ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ประเด็นคำถามที่ตัวแทนจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ถามไปยัง บตท. เพื่อนำไปพิจารณามีประมาณ 5-6 คำถาม อาทิ 1.เมื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้บริโภคแล้วจะสามารถนำสินเชื่อเหล่านั้นขายให้แก่ บตท.ได้ภายในกี่วัน, 2.ในการรับจำนอง กรณีที่มีบริษัทประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือหลายแห่ง สามารถกำหนดให้บริษัทเดี่ยวรับปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทอื่นๆในเครือได้หรือไม่,
3. ผู้ประกอบการขอรับข้อมูลเครดิตบูโรของลูกค้า จากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ได้โดยตรงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาบริษัทจะจัดส่งให้ลูกค้าโดยตรงไม่ส่งให้บริษัทผู้ประกอบการ ยกเว้นสถาบันการเงิน ซึ่งอาจเกิดกรณีที่ลูกค้าไม่ส่งข้อมูลเครดิตให้ผู้ประกอบการก็เป็นได้ และอาจมีผลต่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้
ส่วนคุณสมบัติของบริษัทผู้ประกอบการที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้นั้น ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นจะต้องมี ทุนจดทะเบียนเท่าใด ประกอบธุรกิจมาเป็นเวลากี่ปี ส่วนคุณสมบัติของผู้กู้ เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน บตท.จะเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ที่ประประกอบการจะสามารถปล่อยสินเชื่อให้ได้ บตท.จึงจะรับซื้อสินเชื่อดังกล่าว สำหรับวงเงินในการปล่อยสินเชื่อเบื้องต้นประมาณ 95% ของราคาประเมินสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป ส่วนอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารแห่งประเทศกำหนด คือไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี
ทั้งนี้ภายหลังจากหารือกับผู้ประกอบการแล้ว บตท.จะนำประเด็นคำถามจากผู้ประกอบการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบตท. เพื่อสรุปอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นจะจัดงานเป็นจัดสัมมนาเรื่องธุรกิจปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้อีกครั้ง ซึ่งในงานสัมมนาจะได้ข้อสรุปถึงข้อประพฤติปฏิบัติได้ทั้งหมด
**ชี้เพิ่มโอกาสจัดสรรขายบ้าน**
นายอิสระ กล่าวว่า การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถปล่อยสินเชื่อได้ ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีกำไรจากการปล่อยสินเชื่อหรือแข่งขันกับสถาบันการเงินเพราะไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทำให้ขายบ้านได้ง่าย ผู้บริโภคเข้าถึงสินเชื่อได้ หากธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องเหลือน้อยในระบบหรือมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เพราะลูกค้าบางส่วนถูกปฏิเสธสินเชื่อเพราะคุณสมบัติบางประการ แม้ว่าจะมีความสามารถในการชำระหนีก็ตาม หรือบางรายติดแบล็คลิสในเครดิตบูโรและได้ทำการแก้ไขมาแล้ว 3 ปีตามที่แบงก์กำหนดแล้วก็ตาม
“เชื่อว่าบริษัทที่มีศักยภาพหรือมีสภาพคล่องเหลืออยู่ในมือมากๆ น่าจะทำได้ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายบ้านได้มากขึ้น และเชื่อว่ามีหลายรายให้ความสนใจแต่ยังไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาก็พิจารณาคุณสมบัติผู้กู้ในเบื้องต้นให้แบงก์อยู่แล้ว และยังมี บตท. รอรับซื้อสินเชื่อให้อยู่แล้ว”
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธปท.จะเปิดโอกาสในผู้ประกอบการสามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้แก่ลูกค้าได้ แต่อย่าลืมว่า ทุกวันนี้ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอดีตธนาคารบางแห่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อรายย่อยซื้อบ้าน แต่ปัจจุบันก็หันมาลงแข่งขันมากขึ้น เพราะเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกันและมีความเสี่ยงต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น ธนาคารบางแห่งไม่ปล่อยให้แก่ผู้ที่เคยติดเครดิตบูโร แต่ปัจจุบันเริ่มหันกลับมาพิจารณา หากแก้ไขไปแล้ว 2-3 ปี ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะยอมเสี่ยงเพื่อให้ขายบ้านได้นั้น คงต้องคิดหนัก