xs
xsm
sm
md
lg

ปรากฏการณ์ไทยพรีเมียร์ ลีก ฟุตบอลไทยมาตรฐานเอเอฟซี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“ฝั่งขวาเจ้าพระยา”
โดย โชกุน

ถ้าจัดอันดับของดีที่เกิดขึ้นในเมืองไทยปีนี้ นอกจากเจ้าแพนด้าน้อย “ หลินปิง” ที่เลือกมาเกิดที่สวนสัตว์เชียงใหม่แล้ว อีกหนึ่งของดีที่นำมาซึ่งความสุข ความรื่นรมย์ของชีวิต สำหรับคนไทยที่เป็นแฟนกีฬาลูกหนัง ก็คือ ฟุตบอลไทยพรีเมิยร์ลีก

เดี๋ยวนี้ ถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ สนามฟุตบอลคือจุดนัดพบของแฟนบอล เพื่อไปเชียร์ทีมโปรดของตัวเอง แต่ละแมทช์ มีผู้ชมเรือนหมื่น ไม่เพียงแต่เกมส์การแข่งขัน แต่บรรยากาศทั้งในและนอกสนาม สีสันของกองเชียร์ ล้วนแต่เป็นปัจจัย ที่รวมกันเป็น ปรากฏการณ์ไทยพรีเมียร์ ลีก

สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามเรื่องราวของฟุตบอลไทยอย่างใกล้ชิด การแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ ลีก คือ การแข่งขันฟุตบอลอาชีพลีกสูงสุดของประเทศไทย ลีกที่รองลงไปคือ ดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 หรือ ลีกภูมิภาค ซึ่งเป็นลีกของทีมจากจังหวัดต่างๆ

การแข่งขันฟุตบอลอาชีพ เกิดขึ้นมา 13 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2539 ครั้งแรกๆนั้น มีชื่อตามสปอนเซอร์หลักของการแข่งขัน เช่น จอห์นนี่ วอลก์เกอร์ , ไทยแลนด์ ซอกเกอร์ลีก , คาลเท็กซ์ พรีเมียร์ ลีก , จีเอสเอ็ม ไทยลีก เป็นต้น ต่อมาจึงเหลือแต่ชื่อ ไทย ลีก และไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก ตั้งแต่ ปี 2546 เป็นต้นมา เพราะการกีฬาแห่งประเทศไทย เข้ามาเป็นโต้โผใหญ่ในการจัด ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล ไม่ต้องมีสปอนเซอร์หลัก

12 ปีแรก พอจะถือได้ว่า ฟุตบอลอาชีพของไทย พอจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่สามารถสร้างกระแสความสนใจในหมู่แฟนฟุตบอลได้ บางนัด ผู้เล่น 2 ทีม รวมตัวสำรองบวกผู้ตัดสิน มีจำนวนมากกว่าคนดูเสียอีก

มาถึงปีนี้ ไทยพรีเมียร์ ลีก 2009 เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันใด เพราะแรงกดดันจาก ภายนอกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย หรือ เอเอฟซี ที่ต้องการผลักดันให้ชาติสมาชิก พัฒนาฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว จึงวางกฎให้ชาติสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ประเทศไหนทำไม่ได้ อาจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก ซึ่งเป็น” ถ้วยใหญ่” ของ การแข่งขันชิงแชมป์สโมสรแห่งเอเชีย ต้องลงไปเล่น ถ้วยเล็ก หรือ เอเอฟซีคัพ แทน

เอฟเอฟซี กำหนดให้ สโมสรของชาติมาชิกต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และ มีการบริหารงานที่เป็นธุรกิจเต็มรุปแบบ เหมือนสโมสรฟุตบอลในยุโรป แต่ละสโมสรต้องมีสนามแข่งประจำของตัวเอง ที่เรียกว่า “ สนามเหย้า” ซึ่งต้องได้มาตรฐานตามที่เอเอฟซี กำหนด

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ตัดสินใจดึง การจัดการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก จากการกีฬาแห่งประเทศไทยมาทำเอง โดยจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ ลีก จำกัด ขึ้นมาบริหารจัดการ การแข่งขัน โดยมี นายวิชิต แย้มบุญเรือง อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย มาเป็นกรรมการผู้จัดการ เปลี่ยนชื่อ จากไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก เป็น ไทยพรีเมียร์ลีก

การดึงไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีกมาจัดเอง ก่อให้เกิดวิวาทเล็กๆ ระหว่างฝ่ายการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน กับสมาคมฟุตบอล ฝ่ายการกีฬาฯ หาว่า เป็นผู้สร้างไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก มากับมือ พอกำลังจะไปได้สวย ก็ถูกสมาคมมาชุปมือเปิบ ดึงไปจัดเอง

ฝ่ายสมาคมก็อ้างว่า การกีฬาฯ ทำมาหลายปีแล้ว ไม่มีพัฒนาการ ขืนปล่อยให้จัดต่อไป ในสถานการณ์ที่เอเอฟซี วางกฎเข้ม สมาคมมีหวังถูกเขี่ยทิ้งจากเอเอฟซีแน่

ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกปีนี้ มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม คือ ทีมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นแชมป์ปีที่แล้ว , ทีมชลบุรี เอฟซี รองแชมป์, ทีมบีอีซี-เทโรศาสน, ทีมโอสถสภา เอ็ม 150, ทีมทีโอที, ทีมบางกอกกล๊าส เอฟซี, ทีมสมุทรสงคราม, ทีมจุฬาฯ-สินธนา, ทีมนครปฐม, ทีมพัทยา ยูไนเต็ด, บางกอก ยูไนเต็ด (ทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพ), ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร (ทีมพนักงานยาสูบ), ทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทย, ทีมเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด, ทีมศรีราชา-สันนิบาต สมุทรปราการ และทีมราชนาวี ระยอง

โครงสร้างของทั้ง 16 ทีม ใครเป็นเจ้าของ มีความหลากหลายแตกต่างกัน บางทีมเป็น ทีมของบริษัทภาคเอน หรือ รัฐวิสาหกิจ เช่น เมืองทอง ยูไนเต็ด , การไฟฟ้าฯ, ท่าเรือ, ทีโอที, โอสถสภา บางทีม เป็นทีมจังหวัด ที่มีนักการเมองให้การสนับสนุนเช่น ชลบุรี, นครปฐม ,สมุทรสงคราม บางทีม ผสมกัยระหว่างทีมเดิมซึ่งเป็นทีมรัฐวิสาหกิจ ย้ายไปตจ่างจังหวัด เพ่อสร้างฐานแฟนฟุตบอลในจังหวัดเช่น ทีทีเอ็ม สมุทนสาคร และราชนาวี ระยอง

การดำเนินงานของแต่ละสโมสร จะถูกควบคุมโดยตรงจากเอเอฟซี ที่จะส่งทีมงานมาตรวจความพร้อมด้านสนาม การรักษาความปลอดภัย ดังนั้น ทุกสโมสรจึงต้องลงทุนในด้านสนามแข่งขัน ส่วนใหญ่ใช้วิธีเช่าสนามแล้วปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน

การมีสนามแข่งที่แน่นอน ทำให้สะดวกแก่แฟนบอลที่จะติดตามไปเชียร์ และการที่ต้องบริหารทีมในแบบธุรกิจเต็มตัว ทำให้แต่ละทีมต้องลงทุนในเรื่องการทำทีม ตัวผู้เล่น หลายๆทีม อิมพอร์ต ผู้เล่นมาจากอาฟริกา บราซิล บางทีมใช้ใค้ชต่างชาติ ถ้าเป็นโค้ชไทย ก็เป็นโค้ชที่มีฝีมือ หรือเป็นอดีตนักเตะทีมชาติ เพื่อให้ทีมมีคุณภาพ ได้อันดับดีๆ ซึ่ง จะมีผลต่อ งเนส่วนแบ่งรางวัล นอกเหนือจาก การสร้างรายได้เองจากค่าผ่านประตู การจำหน่ายของที่ระลึก

ที่ขาดไม่ได้คือ การพนันขันต่อ หนังสือพิมพ์กีฬาเจ้าตลาด มีอัตราต่อรอง การแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก ให้นักพนันประกอบการตัดสินใจ บ่อนรับแทงข้ามชาติ บางแห่ง ออกอัตราการต่อรอง และรับแทงฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก

สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัย ในการสร้างกระแสความตื่นตัวของแฟนฟุตบอลไทย ที่มีต่อ ไทยพรีเมียรืลีก เป็นปรากฏการณ์ไทยพรีเมียร์ลีก ที่เป็นจุดเปลี่ยนของวงการฟุตบอลไทย และเป็นความหวังว่า อาจจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอีกหลายๆอย่างในอนาคตอันใกล้นี้

กำลังโหลดความคิดเห็น