ASTVผู้จัดการรายวัน-รฟม.รุกธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์เพิ่มรายได้ ร่วมมือผู้ประกอบการเพิ่มทางเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท ด้านบีเอ็มซีแอลเตรียมเพิ่มร้านค้า อีก 7 สถานีในปี53 รอประเมินภาวะเศรษฐกิจก่อนเดินหน้าแผน พร้อมเพิ่มทีวีภายในสถานี แจ้งตารางเดินรถผู้โดยสาร
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ในฐานะคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และประธานอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจ รฟม. เปิดเผยถึงการพัฒนาธุรกิจของรฟม.ว่า ขณะนี้ บริษัทบีแอนด์จี พาร์ค จำกัด มีแผนที่จะขอเชื่อมต่อบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีสุขุมวิทระหว่างสะพานรถไฟฟ้ากับบริเวณห้างสรรพสินค้าในเครือของบริษัท โดยบริษัทฯ จะจ่ายผลตอบแทนให้รฟม.เป็นรายปี ประมาณ 300,000 บาทต่อปี และปรับเพิ่มผลตอบแทนขึ้น 10 % ทุก 3 ปี โดยสัญญาสัมปทานมีอายุ 30 ปี
โดยบอร์ดรฟม.ได้อนุมัติ รายละเอียดแผนพัฒนาธุรกิจดังกล่าวแล้ว โดยเห็นว่าเป็นแผนการพัฒนาธุรกิจที่ทำให้รฟม.ได้รับประโยชน์ และเพิ่มความสะดวกในการใช้บริการของผุ้โดยสาร ส่วนแผนพัฒนาธุรกิจของรฟม.ในภาพรวมนั้น รฟม.ได้ให้ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งรฟม.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้เป็นผลตอบแทนจากการดำเนินงานของบีเอ็มซีแอล
“ก่อนหน้านี้บริษัทบีแอนด์จี พาร์คมีโครงการที่จะเชื่อมต่อบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสุขุมวิทกับห้างสรรพสินค้าในเครือของบริษัทฯ จำนวน 2 จุด โดยเสนอเงินให้เปล่ากับรฟม.จำนวน 6 ล้านบาท และจ่ายรายปีเป็นเงินประมาณ 600,000 บาท และมีการปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 % ทุก3ปี แต่ขณะนี้ลดเหลือการเชื่อมต่อแค่ 1 จุด จึงมีการต่อรองลดการจ่ายรายปีลงมาเป็น 300,000 บาทต่อปี อย่างไรก็ตามมองว่าในอนาคตหากรถไฟฟ้าก่อสร้างเสร็จและสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกันได้ทุกสถานีจะทำให้เอกชนสนใจข้ามาลงทุนในลักษณะดังกล่าวมากขึ้น และจะทำให้องค์กรมีช่องทางเพิ่มรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ” นายวิชาญ กล่าว
ด้านนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า ในส่วนของแผนการดำเนินงานพัฒนาธุรกิจที่บีเอ็มซีแอลได้รับสัมปทานนั้นขณะนี้ได้มีการเพิ่มจำนวนร้านค้าภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 4 สถานีหลัก ประกอบด้วย สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท ,พหลโยธิน , จตุจักร และสถานีกำแพงเพชร โดยตามสัญญาบริษัทจะต้องแบ่งรายได้ให้กับรฟม.ประมาณ 7 % ของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะดำเนินการเพิ่มอีก 7 สถานี ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการในปี 2553 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการเดินรถและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารนั้น นายสมบัติกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 บริษัทจะติดตั้งจอทีวีทั้งในส่วนของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และบนขบวนรถ ไฟฟ้าเพื่อแสดงตารางการเดินรถ แจ้งตำแหน่งการให้บริการว่าขบวนรถอยู่บริเวณสถานีใด และการแจ้งเตือนหากขบวนรถขัดข้องในการให้บริการโดยจะเริ่มติดตั้งที่สถานีสุขุมวิทเป็นสถานีแรก
นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ในฐานะคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และประธานอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจ รฟม. เปิดเผยถึงการพัฒนาธุรกิจของรฟม.ว่า ขณะนี้ บริษัทบีแอนด์จี พาร์ค จำกัด มีแผนที่จะขอเชื่อมต่อบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีสุขุมวิทระหว่างสะพานรถไฟฟ้ากับบริเวณห้างสรรพสินค้าในเครือของบริษัท โดยบริษัทฯ จะจ่ายผลตอบแทนให้รฟม.เป็นรายปี ประมาณ 300,000 บาทต่อปี และปรับเพิ่มผลตอบแทนขึ้น 10 % ทุก 3 ปี โดยสัญญาสัมปทานมีอายุ 30 ปี
โดยบอร์ดรฟม.ได้อนุมัติ รายละเอียดแผนพัฒนาธุรกิจดังกล่าวแล้ว โดยเห็นว่าเป็นแผนการพัฒนาธุรกิจที่ทำให้รฟม.ได้รับประโยชน์ และเพิ่มความสะดวกในการใช้บริการของผุ้โดยสาร ส่วนแผนพัฒนาธุรกิจของรฟม.ในภาพรวมนั้น รฟม.ได้ให้ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งรฟม.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้เป็นผลตอบแทนจากการดำเนินงานของบีเอ็มซีแอล
“ก่อนหน้านี้บริษัทบีแอนด์จี พาร์คมีโครงการที่จะเชื่อมต่อบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสุขุมวิทกับห้างสรรพสินค้าในเครือของบริษัทฯ จำนวน 2 จุด โดยเสนอเงินให้เปล่ากับรฟม.จำนวน 6 ล้านบาท และจ่ายรายปีเป็นเงินประมาณ 600,000 บาท และมีการปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 % ทุก3ปี แต่ขณะนี้ลดเหลือการเชื่อมต่อแค่ 1 จุด จึงมีการต่อรองลดการจ่ายรายปีลงมาเป็น 300,000 บาทต่อปี อย่างไรก็ตามมองว่าในอนาคตหากรถไฟฟ้าก่อสร้างเสร็จและสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกันได้ทุกสถานีจะทำให้เอกชนสนใจข้ามาลงทุนในลักษณะดังกล่าวมากขึ้น และจะทำให้องค์กรมีช่องทางเพิ่มรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ” นายวิชาญ กล่าว
ด้านนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล กล่าวว่า ในส่วนของแผนการดำเนินงานพัฒนาธุรกิจที่บีเอ็มซีแอลได้รับสัมปทานนั้นขณะนี้ได้มีการเพิ่มจำนวนร้านค้าภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 4 สถานีหลัก ประกอบด้วย สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสุขุมวิท ,พหลโยธิน , จตุจักร และสถานีกำแพงเพชร โดยตามสัญญาบริษัทจะต้องแบ่งรายได้ให้กับรฟม.ประมาณ 7 % ของรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะดำเนินการเพิ่มอีก 7 สถานี ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการในปี 2553 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการเดินรถและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารนั้น นายสมบัติกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 บริษัทจะติดตั้งจอทีวีทั้งในส่วนของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และบนขบวนรถ ไฟฟ้าเพื่อแสดงตารางการเดินรถ แจ้งตำแหน่งการให้บริการว่าขบวนรถอยู่บริเวณสถานีใด และการแจ้งเตือนหากขบวนรถขัดข้องในการให้บริการโดยจะเริ่มติดตั้งที่สถานีสุขุมวิทเป็นสถานีแรก