เดลิเมล์ – ถ้าอยากรู้ว่าเขา/เธอพูดจริงหรือโกหก อย่าเสียเวลาดูภาษากาย สบตา หรือวิเคราะห์คำพูด นักวิจัยชี้สัญญาณการโป้ปดที่แท้จริงอยู่ที่ตัวหนังสือที่คนๆ นั้นเขียน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไฮฟาในอิสราเอล อวดอ้างว่าได้ค้นพบชุดสัญญาณจับผิดคนโกหกในลายมือ กล่าวคือคนที่กำลังปั้นน้ำเป็นตัวมักกดปากกาหนักๆ บนกระดาษ ลากหางตัวหนังสือยาวกว่า และเขียนตัวโตกว่าคนที่พูดความจริง
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้เบาบางจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่ต้องใช้คอมพิวเตอร์และแผ่นที่ไวต่อสัมผัส
ผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ย้ำว่า การวิจัยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น แต่ในอนาคตระบบนี้จะสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของคำขอกู้เงินหรือการเรียกร้องสินไหมชดเชย
ในการทดลอง นักวิจัยอิสราเอลได้ขอให้อาสาสมัคร 34 คนเขียนข้อความสั้นๆ สองข้อความๆ แรกให้เล่าความทรงจำจริง อีกข้อความเป็นเหตุการณ์ในจินตนาการ
อาสาสมัครใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์ไร้สายที่ปลายปากกาไวต่อการกด เพื่อเขียนข้อความบนพีซีที่มีระบบรับข้อมูลการขีดเขียนด้วยปากกาบนจอภาพ ซึ่งจะตรวจสอบและวิเคราะห์รูปแบบลายมือ
“ในข้อความที่เป็นความเท็จ น้ำหนักการกด การลากเส้นและความสูงของตัวอักษรโดยเฉลี่ยจะมากกว่าลายมือในข้อความที่เป็นความจริง” นักวิจัยรายงานในเจอร์นัล ออฟ แอปพลายด์ ค็อกนิทีฟ ไซโคโลจี้
นักจิตวิทยาชี้ว่า การโกหกจะทำให้ลายมือเปลี่ยนไปเนื่องจากสมองถูกบังคับให้ทำงานหนักขึ้นในการเสกสรรค์ปั้นแต่ง จึงรบกวนกระบวนการเขียนปกติ
ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์ฟอร์ดเชียร์ อังกฤษ กล่าวว่าเทคนิคนี้น่าสนใจ แต่จำเป็นต้องทดสอบในวงกว้างขึ้น
“เรารู้ว่าคนมักลังเลเวลาที่ต้องโกหก และบริษัทบางแห่งใช้ข้อเท็จจริงนี้ในการติดตามว่ากลุ่มตัวอย่างใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะกาเครื่องหมายลงในช่องในแบบสอบถามออนไลน์”
ศาสตราจารย์ไวส์แมนยังบอกอีกว่าเครื่องจับเท็จที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่น่าเชื่อถือซ้ำสร้างความสับสน ในทางตรงข้าม การทดสอบด้วยลายมืออาจใช้งานง่ายกว่าและสามารถนำไปใช้ในการสัมภาษณ์งาน เป็นต้น
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไฮฟาในอิสราเอล อวดอ้างว่าได้ค้นพบชุดสัญญาณจับผิดคนโกหกในลายมือ กล่าวคือคนที่กำลังปั้นน้ำเป็นตัวมักกดปากกาหนักๆ บนกระดาษ ลากหางตัวหนังสือยาวกว่า และเขียนตัวโตกว่าคนที่พูดความจริง
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้เบาบางจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่ต้องใช้คอมพิวเตอร์และแผ่นที่ไวต่อสัมผัส
ผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ย้ำว่า การวิจัยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น แต่ในอนาคตระบบนี้จะสามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของคำขอกู้เงินหรือการเรียกร้องสินไหมชดเชย
ในการทดลอง นักวิจัยอิสราเอลได้ขอให้อาสาสมัคร 34 คนเขียนข้อความสั้นๆ สองข้อความๆ แรกให้เล่าความทรงจำจริง อีกข้อความเป็นเหตุการณ์ในจินตนาการ
อาสาสมัครใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์ไร้สายที่ปลายปากกาไวต่อการกด เพื่อเขียนข้อความบนพีซีที่มีระบบรับข้อมูลการขีดเขียนด้วยปากกาบนจอภาพ ซึ่งจะตรวจสอบและวิเคราะห์รูปแบบลายมือ
“ในข้อความที่เป็นความเท็จ น้ำหนักการกด การลากเส้นและความสูงของตัวอักษรโดยเฉลี่ยจะมากกว่าลายมือในข้อความที่เป็นความจริง” นักวิจัยรายงานในเจอร์นัล ออฟ แอปพลายด์ ค็อกนิทีฟ ไซโคโลจี้
นักจิตวิทยาชี้ว่า การโกหกจะทำให้ลายมือเปลี่ยนไปเนื่องจากสมองถูกบังคับให้ทำงานหนักขึ้นในการเสกสรรค์ปั้นแต่ง จึงรบกวนกระบวนการเขียนปกติ
ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์ฟอร์ดเชียร์ อังกฤษ กล่าวว่าเทคนิคนี้น่าสนใจ แต่จำเป็นต้องทดสอบในวงกว้างขึ้น
“เรารู้ว่าคนมักลังเลเวลาที่ต้องโกหก และบริษัทบางแห่งใช้ข้อเท็จจริงนี้ในการติดตามว่ากลุ่มตัวอย่างใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะกาเครื่องหมายลงในช่องในแบบสอบถามออนไลน์”
ศาสตราจารย์ไวส์แมนยังบอกอีกว่าเครื่องจับเท็จที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่น่าเชื่อถือซ้ำสร้างความสับสน ในทางตรงข้าม การทดสอบด้วยลายมืออาจใช้งานง่ายกว่าและสามารถนำไปใช้ในการสัมภาษณ์งาน เป็นต้น