เอเอฟพี – กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยแพร่รายงาน “ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก” ฉบับล่าสุดในวันพฤหัสบดี (1) โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังกระเตื้องขึ้นจากภาวะถดถอยได้อย่างเข้มแข็งกว่าที่เคยคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ ยิ่งเอเชียด้วยแล้วจะเป็นตัวผลักดันสำคัญให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัว ทั้งนี้มีจีนกับอินเดียเป็นแกนนำสำคัญ อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟไม่ลืมเตือนด้วยว่า วิกฤตยังไม่ได้จบสิ้นลงแล้ว และยังมีความเสี่ยงอันสาหัสหลายๆ ประการรอคอยเบื้องหน้า
รายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook หรือ WEO) ฉบับล่าสุด คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลง 1.1 %ในปีนี้ และดีดกลับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 3.1 %ในปี 2010 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีกว่าการคาดการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ให้ไว้ ณ -1.4 % และ 2.5 %ตามลำดับ
“ข่าวดี ... ก็คือในทัศนะของเรานั้น การฟื้นตัวกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้วจริงๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า และผมก็ต้องพูดให้ชัดแจ๋วในประเด็นนี้ด้วยว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าวิกฤตสิ้นสุดลงแล้ว” โดนิมิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ กล่าวในการแสดงปาฐกถาต่อนักศึกษาที่เมืองอิสตันบุล ประเทศตุรกีเมื่อวานนี้
สเตราส์-คาห์นพูดเรื่องนี้ ขณะที่ไอเอ็มเอฟก็กำลังเปิดตัวรายงาน WEO ตามธรรมเนียมที่จะต้องทำก่อนหน้าการประชุมไอเอ็มเอฟ-เวิลด์แบงก์ ซึ่งคราวนี้จัดที่เมืองอิสตันบุล ในสัปดาห์หน้า
“ระหว่างการฟื้นตัวของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับจุดที่ภาวะว่างงานขึ้นถึงสูงสุด อาจจะทิ้งช่วงห่างกัน ... นานถึง 14 เดือนก็ได้ ถ้าหากการว่างงานยังไม่ลดลงแล้ว มันก็เป็นเรื่องยากที่จะพูดว่าวิกฤตสิ้นสุดลง มันยังเร็วเกินไปที่จะขับขานชัยชนะ” กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟกล่าว
ขณะที่สเตราส์-คาห์นกำลังกล่าวปาฐกถานี้ ได้มีผู้ประท้วงคนหนึ่งขว้างรองเท้าเข้าใส่ พร้อมตะโกนว่า “ไอเอ็มเอฟ ออกไปจากตุรกี” แต่รองเท้าบินมาไม่ถึงตัวบิ๊กบอสไอเอ็มเอฟ และผู้ประท้วงคนดังกล่าวก็ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนำตัวออกจากหอประชุม
ทางด้าน โอลิวิเยร์ บลังชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟ บอกในการแถลงเปิดตัวรายงาน WEO โดยเตือนว่า จำเป็นต้องแก้ไขภาวะไม่สมดุลของโลก จึงจะทำให้เกิดการฟื้นตัวที่มั่นคงแข็งแรง เขาบอกด้วยว่า เป็นเรื่องยากที่โลกจะมีการปรับดุลยภาพกันใหม่ ถ้าหากสกุลเงินตราต่างๆ ในเอเชียไม่มีการปรับค่าเพิ่มขึ้นในระดับต่างๆ กันไปตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
สำหรับตัวรายงาน WEO นั้น ไอเอ็มเอฟกล่าวชมเชยการใช้นโยบายภาคสาธารณะอย่างเข้มแข็งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ซึ่งช่วยสนับสนุนอุปสงค์ และลดความหวาดกลัวที่โลกจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬาร อีกทั้งเป็นตัวจุดชนวนให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นจากภาวะทรุดต่ำหนักหน่วงที่สุดในรอบหลายสิบปีได้ด้วย
เมื่อแยกเป็นรายภูมิภาคและรายประเทศที่สำคัญๆ รายงานกล่าวถึงสหรัฐฯว่า ปีนี้เศรษฐกิจจะหดตัว 2.7 % และขยายตัว 1.5 %ในปี 2010 โดยมีการฟื้นตัวดีขึ้นกว่าที่เคยคาดหมายไว้ในเดือนกรกฎาคมว่าน่าจะหดตัว 2.6 %แล้วขยายตัวได้เพียง 0.8 %
ในยุโรป อัตราการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับพอประมาณ โดยกลุ่มยูโรโซน 16 ประเทศน่าจะมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 0.3 %ในปี 2010 จากเดิมเคยคาดหมายว่าจะหดตัวลง 0.3 %
ส่วนประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่และประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่ามาก คาดว่าจะมีอัตราเติบโตถึง 5.1 %ในปี 2010 ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่เอเชียเป็นส่วนใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2009 และเอเชียจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างฐานสำหรับการฟื้นตัวโดยรวมในปี 2010 เนื่องจากปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดของประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่โดยมุ่งเพิ่มความต้องการสินค้าภายในประเทศ
ไอเอ็มเอฟคาดว่าจีนจะมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจราว 8.5 %ในปี 2009 และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 9 % ในปี 2010 ส่วนอินเดียจะมีการขยายตัวราว 5.4 %ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 6.4 %ในปี 2010 ในขณะที่ปีที่แล้วอัตราเติบโตของจีนและอินเดียอยู่ที่ 9 และ 7.3 %ตามลำดับ
ทว่าในญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก การคาดการณ์กลับไม่สู้ดีนัก เพราะในปี 2009 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะหดตัวราว 5.4 % และคงปรับตัวขึ้นมามีอัตราเติบโต 1.7 %ในปี 2010
ส่วนกลุ่มอาเซียน การคาดการณ์มีทั้งบวกและลบผสมกันไป ประเทศที่เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการส่งออกมากอย่างเช่นมาเลเซียและไทย จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2009 และมีอัตราเติบโตแข็งแกร่งขึ้นในปี 2010
รายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook หรือ WEO) ฉบับล่าสุด คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลง 1.1 %ในปีนี้ และดีดกลับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 3.1 %ในปี 2010 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีกว่าการคาดการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ให้ไว้ ณ -1.4 % และ 2.5 %ตามลำดับ
“ข่าวดี ... ก็คือในทัศนะของเรานั้น การฟื้นตัวกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้วจริงๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า และผมก็ต้องพูดให้ชัดแจ๋วในประเด็นนี้ด้วยว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าวิกฤตสิ้นสุดลงแล้ว” โดนิมิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ กล่าวในการแสดงปาฐกถาต่อนักศึกษาที่เมืองอิสตันบุล ประเทศตุรกีเมื่อวานนี้
สเตราส์-คาห์นพูดเรื่องนี้ ขณะที่ไอเอ็มเอฟก็กำลังเปิดตัวรายงาน WEO ตามธรรมเนียมที่จะต้องทำก่อนหน้าการประชุมไอเอ็มเอฟ-เวิลด์แบงก์ ซึ่งคราวนี้จัดที่เมืองอิสตันบุล ในสัปดาห์หน้า
“ระหว่างการฟื้นตัวของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับจุดที่ภาวะว่างงานขึ้นถึงสูงสุด อาจจะทิ้งช่วงห่างกัน ... นานถึง 14 เดือนก็ได้ ถ้าหากการว่างงานยังไม่ลดลงแล้ว มันก็เป็นเรื่องยากที่จะพูดว่าวิกฤตสิ้นสุดลง มันยังเร็วเกินไปที่จะขับขานชัยชนะ” กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟกล่าว
ขณะที่สเตราส์-คาห์นกำลังกล่าวปาฐกถานี้ ได้มีผู้ประท้วงคนหนึ่งขว้างรองเท้าเข้าใส่ พร้อมตะโกนว่า “ไอเอ็มเอฟ ออกไปจากตุรกี” แต่รองเท้าบินมาไม่ถึงตัวบิ๊กบอสไอเอ็มเอฟ และผู้ประท้วงคนดังกล่าวก็ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนำตัวออกจากหอประชุม
ทางด้าน โอลิวิเยร์ บลังชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟ บอกในการแถลงเปิดตัวรายงาน WEO โดยเตือนว่า จำเป็นต้องแก้ไขภาวะไม่สมดุลของโลก จึงจะทำให้เกิดการฟื้นตัวที่มั่นคงแข็งแรง เขาบอกด้วยว่า เป็นเรื่องยากที่โลกจะมีการปรับดุลยภาพกันใหม่ ถ้าหากสกุลเงินตราต่างๆ ในเอเชียไม่มีการปรับค่าเพิ่มขึ้นในระดับต่างๆ กันไปตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
สำหรับตัวรายงาน WEO นั้น ไอเอ็มเอฟกล่าวชมเชยการใช้นโยบายภาคสาธารณะอย่างเข้มแข็งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ซึ่งช่วยสนับสนุนอุปสงค์ และลดความหวาดกลัวที่โลกจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬาร อีกทั้งเป็นตัวจุดชนวนให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นจากภาวะทรุดต่ำหนักหน่วงที่สุดในรอบหลายสิบปีได้ด้วย
เมื่อแยกเป็นรายภูมิภาคและรายประเทศที่สำคัญๆ รายงานกล่าวถึงสหรัฐฯว่า ปีนี้เศรษฐกิจจะหดตัว 2.7 % และขยายตัว 1.5 %ในปี 2010 โดยมีการฟื้นตัวดีขึ้นกว่าที่เคยคาดหมายไว้ในเดือนกรกฎาคมว่าน่าจะหดตัว 2.6 %แล้วขยายตัวได้เพียง 0.8 %
ในยุโรป อัตราการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับพอประมาณ โดยกลุ่มยูโรโซน 16 ประเทศน่าจะมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 0.3 %ในปี 2010 จากเดิมเคยคาดหมายว่าจะหดตัวลง 0.3 %
ส่วนประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่และประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่ามาก คาดว่าจะมีอัตราเติบโตถึง 5.1 %ในปี 2010 ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่เอเชียเป็นส่วนใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2009 และเอเชียจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างฐานสำหรับการฟื้นตัวโดยรวมในปี 2010 เนื่องจากปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดของประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่โดยมุ่งเพิ่มความต้องการสินค้าภายในประเทศ
ไอเอ็มเอฟคาดว่าจีนจะมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจราว 8.5 %ในปี 2009 และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 9 % ในปี 2010 ส่วนอินเดียจะมีการขยายตัวราว 5.4 %ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 6.4 %ในปี 2010 ในขณะที่ปีที่แล้วอัตราเติบโตของจีนและอินเดียอยู่ที่ 9 และ 7.3 %ตามลำดับ
ทว่าในญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก การคาดการณ์กลับไม่สู้ดีนัก เพราะในปี 2009 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะหดตัวราว 5.4 % และคงปรับตัวขึ้นมามีอัตราเติบโต 1.7 %ในปี 2010
ส่วนกลุ่มอาเซียน การคาดการณ์มีทั้งบวกและลบผสมกันไป ประเทศที่เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการส่งออกมากอย่างเช่นมาเลเซียและไทย จะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2009 และมีอัตราเติบโตแข็งแกร่งขึ้นในปี 2010