นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ในวันที่ 21 ก.ย. ตนและนายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย จะเดินทางไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กรณีกระทำผิด พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100(3) และ (4) ในประเด็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม
ทั้งนี้เนื่องจากพบว่า ระหว่างที่นายชวรัตน์ดำรง ตำแหน่งรมว.มหาดไทยในปัจจุบันนั้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติครม. เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2552 อนุมัติงบประมาณค่าก่อสร้างเพิ่มเติมในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ จำนวน 408 ล้านบาท ให้แก่บริษัท ชิโน-ไทย ที่บุตรชายและบุตรสาวของนายชวรัตน์ เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ โดยนายชวรัตน์ได้เข้าประชุมครม.ในวันดังกล่าวด้วย จึงเข้าข่าย การกระทำการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ตามมาตรา 100(3)และ (4) ของกฎหมาย ป.ป.ช.ที่ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปรับสัมปทานหรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ ในลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
ที่สำคัญก่อนหน้านี้เคยมีการนำโครงการดังกล่าวขอความเห็นชอบจาก ครม. ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมถึงช่วงที่ นายชวรัตน์รักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วย แต่ครม.ไม่อนุมัติ เนื่องจากเกรงว่า เป็นการเข้าข่ายขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม แต่เหตุใดรัฐบาลนายอภิสิทธิ์กลับอนุมัติโครงการดังกล่าว เข้าข่ายน่าสงสัยว่ามีการเอื้อผลประโยชน์ต่อกันหรือไม่
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 25 ก.ย.จะเดินทางไปยื่นเรื่องต่อป.ป.ช. ให้ดำเนินคดีกับครม.ชุดปัจจุบันทั้งคณะด้วย กรณีปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่มีการอนุมัติโครงการดังกล่าว เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับส่วนรวม
ทั้งนี้เนื่องจากพบว่า ระหว่างที่นายชวรัตน์ดำรง ตำแหน่งรมว.มหาดไทยในปัจจุบันนั้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติครม. เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2552 อนุมัติงบประมาณค่าก่อสร้างเพิ่มเติมในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ จำนวน 408 ล้านบาท ให้แก่บริษัท ชิโน-ไทย ที่บุตรชายและบุตรสาวของนายชวรัตน์ เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ โดยนายชวรัตน์ได้เข้าประชุมครม.ในวันดังกล่าวด้วย จึงเข้าข่าย การกระทำการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ตามมาตรา 100(3)และ (4) ของกฎหมาย ป.ป.ช.ที่ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปรับสัมปทานหรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยงานราชการ ในลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
ที่สำคัญก่อนหน้านี้เคยมีการนำโครงการดังกล่าวขอความเห็นชอบจาก ครม. ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมถึงช่วงที่ นายชวรัตน์รักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วย แต่ครม.ไม่อนุมัติ เนื่องจากเกรงว่า เป็นการเข้าข่ายขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม แต่เหตุใดรัฐบาลนายอภิสิทธิ์กลับอนุมัติโครงการดังกล่าว เข้าข่ายน่าสงสัยว่ามีการเอื้อผลประโยชน์ต่อกันหรือไม่
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 25 ก.ย.จะเดินทางไปยื่นเรื่องต่อป.ป.ช. ให้ดำเนินคดีกับครม.ชุดปัจจุบันทั้งคณะด้วย กรณีปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่มีการอนุมัติโครงการดังกล่าว เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับส่วนรวม