เชียงราย -สาธารณสุขเชียงรายเร่งสร้างเครือข่ายลดปัญหาฆ่าตัวตาย หลังพื้นที่ภาคเหนือครองแชมป์คนฆ่าตัวตายสูงสุดของประเทศ สวนทางสถิติโลก – สถิติไทย
วานนี้ (8 ก.ย.) สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงราย ได้จัดกิจกรรมงานวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกประจำปี 2552 "รวมพลคนฮึด" ณ สนามแข่งขันกีฬาโบว์ลิ่ง ไฮด์แลนด์โบล์ อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีนายแพทย์ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย เป็นประธาน
นางปาริฉัตร์ พงศ์อุทัย นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงราย กล่าวว่า จ.เชียงราย ถือว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในระดับรุนแรงของประเทศ โดยในปี 2552 รวมระยะเวลา 10 เดือนพบว่ามีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จแล้วจำนวนถึง 171 คน คิดเป็นอัตรา 13.69 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเกินตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดเอาไว้ไม่ให้เกิน 6.3 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน รวมทั้งยังพบว่ามีแนวโน้มว่าจำนวนผู้พยายามทำร้ายตนเองมีมากขึ้น ขณะที่ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวชไปรับการรักษามากขึ้นด้วย
นายแพทย์ชำนาญหาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย เปิดเผยว่า พื้นที่ภาคเหนือยังคงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ซึ่งสวนทางกับสถานการณ์ทั่วโลกและทั่วทุกภาคของประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายลดลง แต่ภาคเหนือกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 4 เรื่องหลักๆ คือ 1.ปัญหาเรื่องความยากจน เจ็บป่วยเรื้อรังหรือรักษาไม่หาย อกหักหรือรักคุด ตกงาน ฯลฯ ซึ่งคนกลุ่มแรกนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด 2.มีอาการซึมเศร้า เครียดหรือเป็นโรคซึมเศร้า คนกลุ่มนี้ต้องใช้การรักษาหรือให้ยาเป็นประจำ
3.กลุ่มผู้ติดยาเสพติดหรือดื่มสุรามึนเมา ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากใกล้เคียงกับกลุ่มแรก และมีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากเมื่อคนประสบปัญหาตามข้อแรกแล้ว อาจจะหันมาเสพยาเสพติดหรือดื่มสุราจนมึนเมา ก่อนจะคุมสติตัวเองไม่ได้และฆ่าตัวตายในที่สุด และ 4.ประเภทคลั่งลัทธิหรือระเบิดพลีชีพซึ่งพบน้อยมากในประเทศไทย
นายแพทย์ชำนาญ กล่าวว่าด้วยเหตุนี้ทางสำนักงานสาธารณสุขจึงประสานขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสร้างเครือข่ายให้เข้าถึงทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัดทั้ง 18 อำเภอ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน โดยชุมชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม ในการตรวจหาบุคคลที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือปัญหาต่างๆ ทั้ง 4 เรื่อง
จากนั้นจัดตั้งเป็นแกนนำด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นตัวแทนของสาธารณสุขเข้าไปช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตดังกล่าว ขณะเดียวกันให้ความรู้กับสถานศึกษา เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ฯลฯ ด้วยหวังว่าตัวเลขการฆ่าตัวตายในพื้นที่จะลดลงในอนาคต
ด้านนายแพทย์สุรินทร์ สุมนาพันธ์ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย กล่าวว่าภาคเหนือถือเป็นพื้นที่ที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยมีลำพูน มียอดคนฆ่าตัวตายสูงสุด รองลงมาคือเชียงราย ซึ่งปัจจุบันทาง จ.ลำพูน มีการรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างหนักจนสามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายได้อย่างมาก แต่สำหรับเชียงรายแม้จะลดลง แต่ก็มีสถิติขึ้น-ลงอยู่
วานนี้ (8 ก.ย.) สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงราย ได้จัดกิจกรรมงานวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกประจำปี 2552 "รวมพลคนฮึด" ณ สนามแข่งขันกีฬาโบว์ลิ่ง ไฮด์แลนด์โบล์ อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีนายแพทย์ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย เป็นประธาน
นางปาริฉัตร์ พงศ์อุทัย นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงราย กล่าวว่า จ.เชียงราย ถือว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในระดับรุนแรงของประเทศ โดยในปี 2552 รวมระยะเวลา 10 เดือนพบว่ามีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จแล้วจำนวนถึง 171 คน คิดเป็นอัตรา 13.69 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเกินตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดเอาไว้ไม่ให้เกิน 6.3 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน รวมทั้งยังพบว่ามีแนวโน้มว่าจำนวนผู้พยายามทำร้ายตนเองมีมากขึ้น ขณะที่ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวชไปรับการรักษามากขึ้นด้วย
นายแพทย์ชำนาญหาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย เปิดเผยว่า พื้นที่ภาคเหนือยังคงมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ซึ่งสวนทางกับสถานการณ์ทั่วโลกและทั่วทุกภาคของประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายลดลง แต่ภาคเหนือกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 4 เรื่องหลักๆ คือ 1.ปัญหาเรื่องความยากจน เจ็บป่วยเรื้อรังหรือรักษาไม่หาย อกหักหรือรักคุด ตกงาน ฯลฯ ซึ่งคนกลุ่มแรกนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด 2.มีอาการซึมเศร้า เครียดหรือเป็นโรคซึมเศร้า คนกลุ่มนี้ต้องใช้การรักษาหรือให้ยาเป็นประจำ
3.กลุ่มผู้ติดยาเสพติดหรือดื่มสุรามึนเมา ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากใกล้เคียงกับกลุ่มแรก และมีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากเมื่อคนประสบปัญหาตามข้อแรกแล้ว อาจจะหันมาเสพยาเสพติดหรือดื่มสุราจนมึนเมา ก่อนจะคุมสติตัวเองไม่ได้และฆ่าตัวตายในที่สุด และ 4.ประเภทคลั่งลัทธิหรือระเบิดพลีชีพซึ่งพบน้อยมากในประเทศไทย
นายแพทย์ชำนาญ กล่าวว่าด้วยเหตุนี้ทางสำนักงานสาธารณสุขจึงประสานขอความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสร้างเครือข่ายให้เข้าถึงทั่วทุกพื้นที่ของจังหวัดทั้ง 18 อำเภอ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน โดยชุมชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม ในการตรวจหาบุคคลที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือปัญหาต่างๆ ทั้ง 4 เรื่อง
จากนั้นจัดตั้งเป็นแกนนำด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นตัวแทนของสาธารณสุขเข้าไปช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตดังกล่าว ขณะเดียวกันให้ความรู้กับสถานศึกษา เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ฯลฯ ด้วยหวังว่าตัวเลขการฆ่าตัวตายในพื้นที่จะลดลงในอนาคต
ด้านนายแพทย์สุรินทร์ สุมนาพันธ์ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย กล่าวว่าภาคเหนือถือเป็นพื้นที่ที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยมีลำพูน มียอดคนฆ่าตัวตายสูงสุด รองลงมาคือเชียงราย ซึ่งปัจจุบันทาง จ.ลำพูน มีการรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างหนักจนสามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายได้อย่างมาก แต่สำหรับเชียงรายแม้จะลดลง แต่ก็มีสถิติขึ้น-ลงอยู่