รอยเตอร์/เอเอฟพี – ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น ยูกิโอะ ฮาโตยามะ วานนี้(31)เริ่มการหารือเพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาล ขณะที่พวกนักลงทุนก็แสดงความวิตกหวั่นไหวขึ้นมาว่า พรรคการเมืองหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์ด้านการบริหารอย่าง พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) อาจใช้จ่ายเงินมือเติบเกินไปในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือไม่ก็อาจทำตัวสร้างความร้าวฉานให้แก่ความสัมพันธ์กับวอชิงตัน ที่เป็นพันธมิตรสนิทที่สุดมายาวนานของโตเกียว
พรรคดีพีเจที่มีแนวทางกลาง-ซ้ายของฮาโตยามะ กำลังถูกแรงกดดันอันหนักหน่วงให้เร่งรีบทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอันใหญ่โตมหึมาต่างๆ ที่กำลังเผชิญประเทศซึ่งกลายเป็นสังคมคนสูงอายุอย่างรวดเร็วแห่งนี้ และนำพาญี่ปุ่นให้หลุดพ้นจากความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจอันยืดเยื้อยาวนาน
ทีมงานของเขาทั้งต้องรีบคัดเลือกหาบุคคลที่เหมาะจะเป็นรัฐมนตรี และทั้งต้องทำงานเพื่อให้เกิดการรับมอบอำนาจอย่างราบรื่นจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ ผู้แถลงยอมรับความพ่ายแพ้ และบอกว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี)
จากการตรวจสอบเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งของทางการ พรรคดีพีเจนั้นชนะได้ที่นั่ง 308 ที่นั่งในสภาล่างอันทรงอำนาจซึ่งมีทั้งหมด 480 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์(30) ขณะที่แอลดีพีได้มาเพียง 119 ที่นั่ง จึงเป็นอันปิดฉากช่วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่พรรคแนวทางอนุรักษนิยมพรรคนี้เป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นอย่างแทบจะต่อเนื่องไม่ขาดตอนเลย
คาดหมายกันว่า ฮาโตยามะที่เวลานี้อายุ 62 ปี จะได้รับการยืนยันรับรองจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีภายในเวลา 2 สัปดาห์ โดยที่เขาน่าจะจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคเล็กๆ อย่างเช่น พรรคโซเชียล เดโมเครติก ปาร์ตี้ และ พรรค พีเพิลส์ นิว ปาร์ตี้
แม้ได้รับชัยชนะแบบถล่มทลาย แต่ฮาโตยามะก็ให้คำมั่นที่จะสร้างฉันทามติ และหลีกเลี่ยง “ความยโสโอหัง”
“สถานการณ์ในญี่ปุ่นไม่ได้เป็นสถานการณ์ที่อนุญาตให้ผมแสดงความรู้สึกยินดีพอใจของผม ประชาชนชาวญี่ปุ่นจำนวนมากต้องเจ็บปวดจากการเมือง และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงต้องการให้ดีพีเจทำงานให้ดี และต้องการเปลี่ยนรัฐบาล” เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวานนี้
“ผมไม่มีเวลาที่จะพูดว่า ‘เราทำสำเร็จแล้ว เราทำสำเร็จแล้ว’”
ทางด้านอาโซะก็กล่าวเมื่อวานนี้ว่า พรรคแอลดีพีจะต้องเริ่มต้นใหม่ “การที่เราจะช่วงชิงขึ้นเป็นรัฐบาลได้อีกนั้น ผมมีความรู้สึกอย่างแรงกล้าว่า เราจะต้องสร้างพรรคขึ้นมาใหม่”
พวกนักวิเคราะห์ต่างมองว่า ชัยชนะอย่างมโหฬารของพรรคดีพีเจนั้น เกิดจากความไม่พอใจของประชาชนต่อพรรคแอลดีพี มากกว่าความชื่นชอบต่อพรรคดีพีเจซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ก่อตั้งขึ้นมาเพียงสิบกว่าปี
“ที่ผมเลือกพรรคเดโมเครติก ไม่ใช่เพราะว่าเป็นพรรคที่ดีนะ แต่ผมต้องการลงโทษแอลดีพีต่างหาก แอลดีพีต้องเปลี่ยนแปลงเสียที” เอทสีจิ อินูซูกะ คนทำงานในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์วัย 47 ปี ให้เหตุผล
ในตลาดการเงิน ค่าเงินเยนแข็งขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ สืบเนื่องจากการมองการณ์แง่ดีว่าความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งได้สิ้นสุดลงเสียที แต่สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังจากทะยานขึ้นจนเกือบๆ ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนในช่วงแรกๆ ของการซื้อขายวานนี้ พอตอนปิดดัชนีหุ้นนิกเกอิก็กลับปรับลงมาติดลบเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเนื่องจากเงินเยนที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อหุ้นพวกบริษัทส่งออก
นอกจากนั้น พวกนักลงทุนจำนวนมากยังเกิดความกังวลว่า พรรคดีพีเจจะสามารถรักษาวินัยการคลังเอาไว้ได้หรือไม่ หลังจากให้สัญญาที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ ในแนวทางประชานิยม เป็นต้นว่า การแจกเงินให้กับครอบครัวที่บุตร และการยกเลิกการจัดเก็บค่าทางด่วน
ในอีกด้านหนึ่ง นโยบายของดีพีเจที่ต้องการเป็นอิสระจากสหรัฐฯมากขึ้น ยังทำให้หลายฝ่ายเฝ้าจับตาความสัมพันธ์ระหว่างโตเกียวกับวอชิงตันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องฐานทัพสหรัฐฯในญี่ปุ่น และการจัดส่งทหารเข้าร่วมในปฏิบัติการของสหรัฐฯ ในต่างประเทศ
พรรคดีพีเจที่มีแนวทางกลาง-ซ้ายของฮาโตยามะ กำลังถูกแรงกดดันอันหนักหน่วงให้เร่งรีบทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาอันใหญ่โตมหึมาต่างๆ ที่กำลังเผชิญประเทศซึ่งกลายเป็นสังคมคนสูงอายุอย่างรวดเร็วแห่งนี้ และนำพาญี่ปุ่นให้หลุดพ้นจากความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจอันยืดเยื้อยาวนาน
ทีมงานของเขาทั้งต้องรีบคัดเลือกหาบุคคลที่เหมาะจะเป็นรัฐมนตรี และทั้งต้องทำงานเพื่อให้เกิดการรับมอบอำนาจอย่างราบรื่นจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ ผู้แถลงยอมรับความพ่ายแพ้ และบอกว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี)
จากการตรวจสอบเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งของทางการ พรรคดีพีเจนั้นชนะได้ที่นั่ง 308 ที่นั่งในสภาล่างอันทรงอำนาจซึ่งมีทั้งหมด 480 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์(30) ขณะที่แอลดีพีได้มาเพียง 119 ที่นั่ง จึงเป็นอันปิดฉากช่วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่พรรคแนวทางอนุรักษนิยมพรรคนี้เป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นอย่างแทบจะต่อเนื่องไม่ขาดตอนเลย
คาดหมายกันว่า ฮาโตยามะที่เวลานี้อายุ 62 ปี จะได้รับการยืนยันรับรองจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีภายในเวลา 2 สัปดาห์ โดยที่เขาน่าจะจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคเล็กๆ อย่างเช่น พรรคโซเชียล เดโมเครติก ปาร์ตี้ และ พรรค พีเพิลส์ นิว ปาร์ตี้
แม้ได้รับชัยชนะแบบถล่มทลาย แต่ฮาโตยามะก็ให้คำมั่นที่จะสร้างฉันทามติ และหลีกเลี่ยง “ความยโสโอหัง”
“สถานการณ์ในญี่ปุ่นไม่ได้เป็นสถานการณ์ที่อนุญาตให้ผมแสดงความรู้สึกยินดีพอใจของผม ประชาชนชาวญี่ปุ่นจำนวนมากต้องเจ็บปวดจากการเมือง และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงต้องการให้ดีพีเจทำงานให้ดี และต้องการเปลี่ยนรัฐบาล” เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวานนี้
“ผมไม่มีเวลาที่จะพูดว่า ‘เราทำสำเร็จแล้ว เราทำสำเร็จแล้ว’”
ทางด้านอาโซะก็กล่าวเมื่อวานนี้ว่า พรรคแอลดีพีจะต้องเริ่มต้นใหม่ “การที่เราจะช่วงชิงขึ้นเป็นรัฐบาลได้อีกนั้น ผมมีความรู้สึกอย่างแรงกล้าว่า เราจะต้องสร้างพรรคขึ้นมาใหม่”
พวกนักวิเคราะห์ต่างมองว่า ชัยชนะอย่างมโหฬารของพรรคดีพีเจนั้น เกิดจากความไม่พอใจของประชาชนต่อพรรคแอลดีพี มากกว่าความชื่นชอบต่อพรรคดีพีเจซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ก่อตั้งขึ้นมาเพียงสิบกว่าปี
“ที่ผมเลือกพรรคเดโมเครติก ไม่ใช่เพราะว่าเป็นพรรคที่ดีนะ แต่ผมต้องการลงโทษแอลดีพีต่างหาก แอลดีพีต้องเปลี่ยนแปลงเสียที” เอทสีจิ อินูซูกะ คนทำงานในธุรกิจเฟอร์นิเจอร์วัย 47 ปี ให้เหตุผล
ในตลาดการเงิน ค่าเงินเยนแข็งขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ สืบเนื่องจากการมองการณ์แง่ดีว่าความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งได้สิ้นสุดลงเสียที แต่สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่น หลังจากทะยานขึ้นจนเกือบๆ ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนในช่วงแรกๆ ของการซื้อขายวานนี้ พอตอนปิดดัชนีหุ้นนิกเกอิก็กลับปรับลงมาติดลบเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเนื่องจากเงินเยนที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อหุ้นพวกบริษัทส่งออก
นอกจากนั้น พวกนักลงทุนจำนวนมากยังเกิดความกังวลว่า พรรคดีพีเจจะสามารถรักษาวินัยการคลังเอาไว้ได้หรือไม่ หลังจากให้สัญญาที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ ในแนวทางประชานิยม เป็นต้นว่า การแจกเงินให้กับครอบครัวที่บุตร และการยกเลิกการจัดเก็บค่าทางด่วน
ในอีกด้านหนึ่ง นโยบายของดีพีเจที่ต้องการเป็นอิสระจากสหรัฐฯมากขึ้น ยังทำให้หลายฝ่ายเฝ้าจับตาความสัมพันธ์ระหว่างโตเกียวกับวอชิงตันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องฐานทัพสหรัฐฯในญี่ปุ่น และการจัดส่งทหารเข้าร่วมในปฏิบัติการของสหรัฐฯ ในต่างประเทศ