ศูนย์ข่าวภูเก็ต –ท่าเรือประมงภูเก็ตเริ่มร้าง ราคาน้ำมันปรับตัวสูงต่อเนื่อง ส่งผลกองเรือประมงปลาทูน่าย้ายฐานไปขึ้นที่อื่นแทน แต่คาดเข้าฤดูจับปลาครั้งใหม่ ปรับปรุงท่าเรือ-ขยายห้องเย็นเสร็จ กลับมาอู้ฟู่เช่นเดิม
นายประมวล รักษ์ใจ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ 2 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต กล่าวว่า การเข้ามาใช้บริการท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ของกองเรือทูน่าในช่วงปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงกลางปี 2552 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมาพบว่าปีนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ดีนัก แต่ก็หวังว่าเมื่อเริ่มฤดูกาลใหม่ตั้งแต่เดือนเดือนตุลาคมนี้ กองเรือทูน่าจะเข้ามาเทียบท่ามากขึ้น
ในส่วนของท่าเทียบเรือภูเก็ต ก็ได้เตรียมความพร้อม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่กลุ่มเรือทูน่าเพื่อจะได้เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อปีที่ผ่านมาได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท ในการปรับปรุงท่าเทียบเรือให้มีความพร้อมในการรองรับเรือทูน่า เพิ่มห้องเย็นอีก 4 ห้อง ทำให้สามารถบรรจุปลาได้ประมาณ 600 ตัน เพื่อรองรับเรือที่มีทั้งปลาสดและปลาแช่แข็ง เป็นต้น นอกจากยังนี้ยังได้มีการจัดทำรั้วบริเวณโดยรอบท่าเทียบเรือ เพื่อสร้างความมั่นใจให้คนผู้ที่มาใช้บริการหรือประกอบธุรกิจในบริเวณท่าเทียบเรือ รวมถึงการดูแลเรื่องของสุขอนามัยด้วย
นายประมวล ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ปริมาณกองเรือทูน่าเข้ามาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ว่า เนื่องจากปลายปีที่ผ่านมาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งถือเป็นต้นทุนหลักมีราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับการแข่งขันของท่าเทียบเรือเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา เป็นต้น ทำให้มีกองเรือทูน่าจำนวนหนึ่งย้ายไปท่าเทียบเรือของประเทศดังกล่าวแทน แต่หากในช่วงฤดูกาลทำประมงทูน่าปลายปีนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยหลักมีราคาที่ไม่สูงมากนัก ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีไว้บริการครบครัน จะทำให้กองเรือทูน่าเคลื่อนย้ายเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะตรงกับเป้าหมายในการที่จะทำให้ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเป็นศูนย์กลางของการขนถ่ายปลาทูน่าในภูมิภาคนี้
สำหรับปริมาณกองเรือทูน่าที่เข้ามาใช้บริการท่าเทียบเรือภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเข้าๆ ออกๆ เฉลี่ยประมาณปีละ 200 ลำ มีปริมาณปลาเฉลี่ยปีละประมาณ 3,000 ตัน และคาดหวังว่าจะเพิ่มสูงถึง 5,000 ตัน ซึ่งก็จะทำให้ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเป็นศูนย์กลางประมงทูน่าขนาดใหญ่ ด้วยความได้เปรียบของที่ตั้ง การมีระบบขนส่งที่ดี โดยเฉพาะสนามบินนานาชาติ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
นอกจากนี้ การเข้ามาของกองเรือเหล่านี้ ก็ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราค่อนข้างมาก เพราะนอกจากการนำปลามาขึ้นที่ท่าเรือเพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศและภายในประเทศแล้ว ยังมีโรงงานแปรรูปทูน่าเกิดขึ้น 5-6 โรง ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มอีกสาขาหนึ่ง รวมไปถึงการจับจ่ายซื้ออาหารเครื่องอุปโภคบริโภค และการท่องเที่ยวด้วย นับว่าเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดภูเก็ตค่อนข้างมาก และยังสามารถชดเชยนักท่องเที่ยวที่หายไปได้ ซึ่งมีการประมาณการว่าในแต่ละครั้งที่กองเรือทูน่าเข้ามาในช่วง 6 เดือน จะมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
นายประมวล กล่าวถึงตลาดทูน่า ว่า ตลาดส่งปลาทูน่านั้นมี2ประเภท คือประเภทปลาสดจะส่งไปที่ตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก ซึ่งมีการแข่งขันที่สูงมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ เรื่องการดูแลรักษาคุณภาพ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจับ จนนำมาขึ้นท่าเทียบเรือ ความพร้อมของห้องเย็น ระบบการขนส่ง จำนวนเที่ยวบินที่จะนำส่งไปสู่ตลาด ส่วนปลาเกรดตำลงมาก็จะส่งเข้าโรงงานแปรรูปทั้งในตลาดอเมริกา ยุโรป หรือการขายภายในประเทศ ซึ่งเทียบสัดส่วนปลาทูน่าสดที่ส่งไปยังตลาดญี่ปุ่นมีประมาณ 40% ส่วนที่เหลืออีก 60% จะส่งเข้าโรงงานแปรรูป
นายประมวล รักษ์ใจ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ 2 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต กล่าวว่า การเข้ามาใช้บริการท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต ของกองเรือทูน่าในช่วงปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงกลางปี 2552 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมาพบว่าปีนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่ดีนัก แต่ก็หวังว่าเมื่อเริ่มฤดูกาลใหม่ตั้งแต่เดือนเดือนตุลาคมนี้ กองเรือทูน่าจะเข้ามาเทียบท่ามากขึ้น
ในส่วนของท่าเทียบเรือภูเก็ต ก็ได้เตรียมความพร้อม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่กลุ่มเรือทูน่าเพื่อจะได้เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อปีที่ผ่านมาได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท ในการปรับปรุงท่าเทียบเรือให้มีความพร้อมในการรองรับเรือทูน่า เพิ่มห้องเย็นอีก 4 ห้อง ทำให้สามารถบรรจุปลาได้ประมาณ 600 ตัน เพื่อรองรับเรือที่มีทั้งปลาสดและปลาแช่แข็ง เป็นต้น นอกจากยังนี้ยังได้มีการจัดทำรั้วบริเวณโดยรอบท่าเทียบเรือ เพื่อสร้างความมั่นใจให้คนผู้ที่มาใช้บริการหรือประกอบธุรกิจในบริเวณท่าเทียบเรือ รวมถึงการดูแลเรื่องของสุขอนามัยด้วย
นายประมวล ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ปริมาณกองเรือทูน่าเข้ามาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ว่า เนื่องจากปลายปีที่ผ่านมาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งถือเป็นต้นทุนหลักมีราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับการแข่งขันของท่าเทียบเรือเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา เป็นต้น ทำให้มีกองเรือทูน่าจำนวนหนึ่งย้ายไปท่าเทียบเรือของประเทศดังกล่าวแทน แต่หากในช่วงฤดูกาลทำประมงทูน่าปลายปีนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยหลักมีราคาที่ไม่สูงมากนัก ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีไว้บริการครบครัน จะทำให้กองเรือทูน่าเคลื่อนย้ายเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็จะตรงกับเป้าหมายในการที่จะทำให้ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเป็นศูนย์กลางของการขนถ่ายปลาทูน่าในภูมิภาคนี้
สำหรับปริมาณกองเรือทูน่าที่เข้ามาใช้บริการท่าเทียบเรือภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเข้าๆ ออกๆ เฉลี่ยประมาณปีละ 200 ลำ มีปริมาณปลาเฉลี่ยปีละประมาณ 3,000 ตัน และคาดหวังว่าจะเพิ่มสูงถึง 5,000 ตัน ซึ่งก็จะทำให้ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตเป็นศูนย์กลางประมงทูน่าขนาดใหญ่ ด้วยความได้เปรียบของที่ตั้ง การมีระบบขนส่งที่ดี โดยเฉพาะสนามบินนานาชาติ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
นอกจากนี้ การเข้ามาของกองเรือเหล่านี้ ก็ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราค่อนข้างมาก เพราะนอกจากการนำปลามาขึ้นที่ท่าเรือเพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศและภายในประเทศแล้ว ยังมีโรงงานแปรรูปทูน่าเกิดขึ้น 5-6 โรง ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มอีกสาขาหนึ่ง รวมไปถึงการจับจ่ายซื้ออาหารเครื่องอุปโภคบริโภค และการท่องเที่ยวด้วย นับว่าเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดภูเก็ตค่อนข้างมาก และยังสามารถชดเชยนักท่องเที่ยวที่หายไปได้ ซึ่งมีการประมาณการว่าในแต่ละครั้งที่กองเรือทูน่าเข้ามาในช่วง 6 เดือน จะมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
นายประมวล กล่าวถึงตลาดทูน่า ว่า ตลาดส่งปลาทูน่านั้นมี2ประเภท คือประเภทปลาสดจะส่งไปที่ตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก ซึ่งมีการแข่งขันที่สูงมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ เรื่องการดูแลรักษาคุณภาพ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจับ จนนำมาขึ้นท่าเทียบเรือ ความพร้อมของห้องเย็น ระบบการขนส่ง จำนวนเที่ยวบินที่จะนำส่งไปสู่ตลาด ส่วนปลาเกรดตำลงมาก็จะส่งเข้าโรงงานแปรรูปทั้งในตลาดอเมริกา ยุโรป หรือการขายภายในประเทศ ซึ่งเทียบสัดส่วนปลาทูน่าสดที่ส่งไปยังตลาดญี่ปุ่นมีประมาณ 40% ส่วนที่เหลืออีก 60% จะส่งเข้าโรงงานแปรรูป