ASTVผู้จัดการรายวัน – นีลเส็นระบุ ตลาดโฆษณารวม 7 เดือนแรก 49,000 ล้านบาท ยังโงหัวไม่ขึ้น ตกลง 4% เผยสื่อหลักยังกอดคอร่วงกราวรูด หนักสุดคือ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วูบกว่า 13%
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ตลาดรวมงบโฆษณาช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่ารวม 49,472 ล้านบาท ซึ่งยังตกลง 4.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่มูลค่า 51,727 ล้านบาท ขณะที่ตลาดรวมเดือนกรกฎาคม ปี 255 เพียงเดือนเดียว มีมูลค่า 7,423 ล้านบาท ตกลง 1.47% จากเดิมที่มี 7,534 ล้านบาท
ทั้งนี้ 7 เดือนแรกปี 2552 ปรากฎว่าสื่อโฆษณาหลักยังคงร่วงลงหมด คือ สื่อทีวี มูลค่า 29,302 ล้านบาท ตกลง 0.95% จากเดิมที่มีมูลค่า 29,582 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 3,378 ล้านบาท ตกลง 13.34% จากเดิมที่มี 3,898 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 7,510 ล้านบาท ตกลง 13.82% จากเดิมที่มี 8,714 ล้านบาท สื่อแมกกาซีนมีมูลค่า 2,895 ล้านบาท ลดลง 12.75% จากเดิมที่มีมูลค่า 3,318 ล้านบาท
โดยมีสื่อรองอย่างสื่อโรงหนังมีมูลค่า 2,428 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.66% จากเดิม 2,365 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูค่า 1,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากเดิมที่มีมูลค่า 796 ล้านบาท สื่ออินสโตร์มีมูลค่า 471 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.51% จากเดิมที่มี 464 ล้านบาท สื่ออินเทอร์เน็ตมีมูลค่า 116 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.85% จากเดิมที่มี 101 ล้านบาท มีเพียงสื่อกลางแจ้งอย่างเดียวที่ตกลงในกลุ่มสื่อรองคือมีมูลค่า 2,351 ล้านบาท ตกลง 5.58% จากเดิมที่มี 2,490 ล้านบาท
ส่วนกรกฎาคมเดือนเดียว ปี 2552 สื่อทีวีเป็นสื่อหลักเพียงสื่อเดียวที่เพิ่มขึ้น 2.96% จาก 4,290 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีที่แล้วเป็น 4,417 ล้านบาทในปีนี้ ส่วนสื่อวิทยุ มีมูลค่า 540 ล้านบาท ตกลง 11.18% จากเดิมที่มี 608 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 1,121 ล้านบาท ตกลง 9.01% จากเดิมที่มี 1,232 ล้านบาท สื่อแมกกาซีนมีมูลค่า 400 ล้านบาท ลดลง 17% จากเดิมที่มี 482 ล้านบาท
นีลเส็นยังระบุอีกด้วยว่า สำหรับสามอันดับบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 7 เดือนแรกปี 2552 เทียบกับปี 2551 คือ 1. ยูนิลีเวอร์ไทยโฮลดิ้งส์ ใช้งบ 2,828 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 2,767 ล้านบาท 2.ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 1,107 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 684 ล้านบาท 3.ลอรีอัล ใช้งบ 907 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 687 ล้านบาท ทั้งนี้ในสิบอันดับแรกนั้น มีโตโยต้ามอเตอร์ใช้งบ 650 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 916 ล้านบาท ส่วนโอสถสภา ใช้งบ 612 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 760 ล้านบาท
ขณะที่เดือนกรกฎาคม 2552 เดือนเดียว ยูนิลีเวอร์ใช้งบโฆษณาสูงที่สุดคือ 507 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 421 ล้านบาท พีแอนด์จีใช้งบ 211 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 164 ล้านบาท สำนักนายกรัฐมนตรี ใช้งบ 160 ล้านบาท
สำหรับแบรนด์สินค้าที่ใช้งบสูงสุด 7 เดือนแรกปี 2552 คือ 1.เอไอเอส ใช้งบ 379 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 118 ล้านบาท 2.นีเวีย ใช้งบ 345 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 98 ล้านบาท 3.เครื่องดื่มโค้ก ใช้งบ 331 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 253 ล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะเดือนกรกฎาคมเดือนเดียวพบว่า 1.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบสูงสุดที่ 77 ล้านบาท จากเดิมใช้ 34 ล้านบาท 2.เครื่องดื่มโค้กใช้งบ 76 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 35 ล้านบาท 3.รถยนต์นั่งโตโยต้าใช้งบ 66 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมใช้ 18 ล้านบาท
นายวิทวัส ชัยปราณี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การใช้งบ
โฆษณาในปัจจุบันนี้ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นแต่ว่าจะต้องวางแผนใช้อย่างรอบคอบ เพราะการตัดงบโฆษณาลงนั้นไมใช่สิ่งที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างแบรนด์ ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ทั้งนี้ประเมินว่า อุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2552 นี้ คาดว่าน่าจะมีอัตราการเติบโตในภาพรวมประมาณ 5% เป็นอย่างต่ำ ทั้งนี้สถานการณ์การเมืองจะต้องไม่มีความวุ่นวายที่รุนแรงเกิดขึ้นอีก
รายงานข่าวจาก บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ตลาดรวมงบโฆษณาช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่ารวม 49,472 ล้านบาท ซึ่งยังตกลง 4.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่มูลค่า 51,727 ล้านบาท ขณะที่ตลาดรวมเดือนกรกฎาคม ปี 255 เพียงเดือนเดียว มีมูลค่า 7,423 ล้านบาท ตกลง 1.47% จากเดิมที่มี 7,534 ล้านบาท
ทั้งนี้ 7 เดือนแรกปี 2552 ปรากฎว่าสื่อโฆษณาหลักยังคงร่วงลงหมด คือ สื่อทีวี มูลค่า 29,302 ล้านบาท ตกลง 0.95% จากเดิมที่มีมูลค่า 29,582 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 3,378 ล้านบาท ตกลง 13.34% จากเดิมที่มี 3,898 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 7,510 ล้านบาท ตกลง 13.82% จากเดิมที่มี 8,714 ล้านบาท สื่อแมกกาซีนมีมูลค่า 2,895 ล้านบาท ลดลง 12.75% จากเดิมที่มีมูลค่า 3,318 ล้านบาท
โดยมีสื่อรองอย่างสื่อโรงหนังมีมูลค่า 2,428 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.66% จากเดิม 2,365 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มีมูค่า 1,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากเดิมที่มีมูลค่า 796 ล้านบาท สื่ออินสโตร์มีมูลค่า 471 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.51% จากเดิมที่มี 464 ล้านบาท สื่ออินเทอร์เน็ตมีมูลค่า 116 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.85% จากเดิมที่มี 101 ล้านบาท มีเพียงสื่อกลางแจ้งอย่างเดียวที่ตกลงในกลุ่มสื่อรองคือมีมูลค่า 2,351 ล้านบาท ตกลง 5.58% จากเดิมที่มี 2,490 ล้านบาท
ส่วนกรกฎาคมเดือนเดียว ปี 2552 สื่อทีวีเป็นสื่อหลักเพียงสื่อเดียวที่เพิ่มขึ้น 2.96% จาก 4,290 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีที่แล้วเป็น 4,417 ล้านบาทในปีนี้ ส่วนสื่อวิทยุ มีมูลค่า 540 ล้านบาท ตกลง 11.18% จากเดิมที่มี 608 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มีมูลค่า 1,121 ล้านบาท ตกลง 9.01% จากเดิมที่มี 1,232 ล้านบาท สื่อแมกกาซีนมีมูลค่า 400 ล้านบาท ลดลง 17% จากเดิมที่มี 482 ล้านบาท
นีลเส็นยังระบุอีกด้วยว่า สำหรับสามอันดับบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุด 7 เดือนแรกปี 2552 เทียบกับปี 2551 คือ 1. ยูนิลีเวอร์ไทยโฮลดิ้งส์ ใช้งบ 2,828 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 2,767 ล้านบาท 2.ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 1,107 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 684 ล้านบาท 3.ลอรีอัล ใช้งบ 907 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 687 ล้านบาท ทั้งนี้ในสิบอันดับแรกนั้น มีโตโยต้ามอเตอร์ใช้งบ 650 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 916 ล้านบาท ส่วนโอสถสภา ใช้งบ 612 ล้านบาท ลดจากเดิมที่ใช้ 760 ล้านบาท
ขณะที่เดือนกรกฎาคม 2552 เดือนเดียว ยูนิลีเวอร์ใช้งบโฆษณาสูงที่สุดคือ 507 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 421 ล้านบาท พีแอนด์จีใช้งบ 211 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 164 ล้านบาท สำนักนายกรัฐมนตรี ใช้งบ 160 ล้านบาท
สำหรับแบรนด์สินค้าที่ใช้งบสูงสุด 7 เดือนแรกปี 2552 คือ 1.เอไอเอส ใช้งบ 379 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 118 ล้านบาท 2.นีเวีย ใช้งบ 345 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 98 ล้านบาท 3.เครื่องดื่มโค้ก ใช้งบ 331 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 253 ล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะเดือนกรกฎาคมเดือนเดียวพบว่า 1.ออยล์ออฟโอเลย์ ใช้งบสูงสุดที่ 77 ล้านบาท จากเดิมใช้ 34 ล้านบาท 2.เครื่องดื่มโค้กใช้งบ 76 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 35 ล้านบาท 3.รถยนต์นั่งโตโยต้าใช้งบ 66 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมใช้ 18 ล้านบาท
นายวิทวัส ชัยปราณี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การใช้งบ
โฆษณาในปัจจุบันนี้ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นแต่ว่าจะต้องวางแผนใช้อย่างรอบคอบ เพราะการตัดงบโฆษณาลงนั้นไมใช่สิ่งที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างแบรนด์ ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ทั้งนี้ประเมินว่า อุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2552 นี้ คาดว่าน่าจะมีอัตราการเติบโตในภาพรวมประมาณ 5% เป็นอย่างต่ำ ทั้งนี้สถานการณ์การเมืองจะต้องไม่มีความวุ่นวายที่รุนแรงเกิดขึ้นอีก