ททท.เตรียมยกทีมผู้ประกอบการท่องเที่ยวภาคอีสาน ทำตลาดเชิงรุก บุก ลาว เวียดนาม จัดเทรดโชว์ครั้งแรก ด้วยการเปิดเวที เจรจาซื้อขายสินค้าท่องเที่ยว ชู แพกเกจ 3-4 วัน เที่ยวปากช่อง-พัทยา หรือปากช่อง-กรุงเทพฯ ชวนเอ็กแพคเที่ยวประเทศไทย
นางอรุณศรี เมฆานนท์ ศาสตรานิติ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า เดือน ต.ค.นี้ ททท.จะนำภาคเอกชนในภาคอีสาน ออกเดินทางไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย แบบผู้ซื้อพบผู้ขาย ( เทรด มีทติ้ง) ที่ประเทศ สปป.ลาว และเวียดนาม
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวในภาคอีสาน ไปเร่งจัดทำแพกเกจทัวร์ นำเสนอสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายไปนำเสนอ เพราะเป้าหมายของ ททท.ขณะนี้คือต้องการเพิ่มนักท่องเที่ยวใน 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มที่เคยมาเที่ยวในภาคอีสานแล้ว ให้มีวันพักเพิ่มขึ้น จากที่เคยเที่ยวจังหวัดแถบชายแดน เช่น อุดรฯ อุบลฯ และหนองคาย แบบเช้าไปเย็นกลับ
หรือพักเพียง 1 คืน ก็จะนำเสนอ แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรม ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นต้น และ 2 .กลุ่มที่ยังไม่เคยเข้ามาเที่ยวประเทศไทย ทั้งคนเวียดนาม ลาว และ ต่างชาติที่ทำงานอยู่ในทั้งสองประเทศด้วย
“นอกจากกลุ่มคนเวียดนาม และลาวที่มีศักยภาพที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทย ททท.ยังต้องการเชิญชวนเอ็กแพคที่ทำงานอยู่ในทั้งสองประเทศเข้ามาเที่ยวพักผ่อนในประเทศไทยด้วย ชูจุดขายที่เดินทางใกล้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เพราะความจริงตลาดยุโรปที่อยู่ระยะไกล ไม่ได้สนใจเที่ยวอีสานมากนัก แต่เชื่อกว่ากลุ่มเอ็กแพคน่าจะเป็นเป้าหมายที่ดีกว่า
โดยจะเสนอเส้นทาง 3-4 วัน เริ่มเที่ยวที่ปากช่อง ทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์ แล้ว ต่อไปที่ ปราจีน นครนายก ลงไปเที่ยวทะเลต่อที่พัทยา หรือจะมาเที่ยววัด วัง ในกรุงเทพฯ ก็ได้ แล้วค่อยบินกลับไปทำงานที่เวียดนาม หรือลาว “
อย่างไรก็ตาม แพกเกจทัวร์ที่ผู้ประกอบการจัดทำมา ยังไม่ต้องระบุราคาให้ ททท.รับทราบ เพราะต้องการให้ผู้ประกอบการไปตกลงกับคู่ค้าในเวทีเจรจากันมากกว่า แต่ ททท.ต้องการทราบเพียงว่า เอกชน ต้องการให้ ททท.เชิญผู้ซื้อรายใดมาร่วมงานบ้าง จากนั้น ททท.จะทำเอกสาร ที่จำเป็น ไปนำเสนอภายในงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการของ ลาวและเวียดนาม ได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
โดยททท.ไม่ได้หวังแค่จะเกิดการซื้อขายในงานเท่านั้น แต่เชื่อว่า จะก่อให้เกิดการขยายผลมีการติดต่อทางธุรกิจภายหลังจบงานด้วย ซึ่งจากลงพื้นที่เพื่อโปรโมตอีสาน ในปี อะเมซิ่งอีสาน 2551-2553 ทำให้มั่นใจว่า ภาคเอกชนในอีสาน พร้อมที่จะทำตลาดเชิงรุก เดินทางไปพบผู้ซื้อได้แล้ว จากเดิมจะเน้นทำตลาดเชิงรับเพียงอย่างเดียว
นางอรุณศรี เมฆานนท์ ศาสตรานิติ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า เดือน ต.ค.นี้ ททท.จะนำภาคเอกชนในภาคอีสาน ออกเดินทางไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย แบบผู้ซื้อพบผู้ขาย ( เทรด มีทติ้ง) ที่ประเทศ สปป.ลาว และเวียดนาม
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวในภาคอีสาน ไปเร่งจัดทำแพกเกจทัวร์ นำเสนอสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายไปนำเสนอ เพราะเป้าหมายของ ททท.ขณะนี้คือต้องการเพิ่มนักท่องเที่ยวใน 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มที่เคยมาเที่ยวในภาคอีสานแล้ว ให้มีวันพักเพิ่มขึ้น จากที่เคยเที่ยวจังหวัดแถบชายแดน เช่น อุดรฯ อุบลฯ และหนองคาย แบบเช้าไปเย็นกลับ
หรือพักเพียง 1 คืน ก็จะนำเสนอ แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรม ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นต้น และ 2 .กลุ่มที่ยังไม่เคยเข้ามาเที่ยวประเทศไทย ทั้งคนเวียดนาม ลาว และ ต่างชาติที่ทำงานอยู่ในทั้งสองประเทศด้วย
“นอกจากกลุ่มคนเวียดนาม และลาวที่มีศักยภาพที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทย ททท.ยังต้องการเชิญชวนเอ็กแพคที่ทำงานอยู่ในทั้งสองประเทศเข้ามาเที่ยวพักผ่อนในประเทศไทยด้วย ชูจุดขายที่เดินทางใกล้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เพราะความจริงตลาดยุโรปที่อยู่ระยะไกล ไม่ได้สนใจเที่ยวอีสานมากนัก แต่เชื่อกว่ากลุ่มเอ็กแพคน่าจะเป็นเป้าหมายที่ดีกว่า
โดยจะเสนอเส้นทาง 3-4 วัน เริ่มเที่ยวที่ปากช่อง ทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์ แล้ว ต่อไปที่ ปราจีน นครนายก ลงไปเที่ยวทะเลต่อที่พัทยา หรือจะมาเที่ยววัด วัง ในกรุงเทพฯ ก็ได้ แล้วค่อยบินกลับไปทำงานที่เวียดนาม หรือลาว “
อย่างไรก็ตาม แพกเกจทัวร์ที่ผู้ประกอบการจัดทำมา ยังไม่ต้องระบุราคาให้ ททท.รับทราบ เพราะต้องการให้ผู้ประกอบการไปตกลงกับคู่ค้าในเวทีเจรจากันมากกว่า แต่ ททท.ต้องการทราบเพียงว่า เอกชน ต้องการให้ ททท.เชิญผู้ซื้อรายใดมาร่วมงานบ้าง จากนั้น ททท.จะทำเอกสาร ที่จำเป็น ไปนำเสนอภายในงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการของ ลาวและเวียดนาม ได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
โดยททท.ไม่ได้หวังแค่จะเกิดการซื้อขายในงานเท่านั้น แต่เชื่อว่า จะก่อให้เกิดการขยายผลมีการติดต่อทางธุรกิจภายหลังจบงานด้วย ซึ่งจากลงพื้นที่เพื่อโปรโมตอีสาน ในปี อะเมซิ่งอีสาน 2551-2553 ทำให้มั่นใจว่า ภาคเอกชนในอีสาน พร้อมที่จะทำตลาดเชิงรุก เดินทางไปพบผู้ซื้อได้แล้ว จากเดิมจะเน้นทำตลาดเชิงรับเพียงอย่างเดียว