ต้องยอมรับว่า ข่าวการกระทำทารุณกรรม กับผู้ต้องสงสัยกรณีก่อการร้าย รวมทั้งตอกย้ำในเรื่องการมี “คุกลับ” ในประเทศไทย โดยสื่อต่างประเทศชื่อดังอย่าง“วอชิงตันโพสต์” ได้สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศไทย และยังหมิ่นเหม่ต่อการเข้าใจผิดของพี่น้องมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย
ขณะเดียวกัน ยังเสี่ยงต่อการที่ประเทศไทยต้องถลำลึกลงไปกับปัญหาก่อการร้ายระหว่างประเทศ รวมไปถึงการเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน โดยเฉพาะในปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่สำคัญยังถือว่า “ตบหน้า” รัฐบาลไทยอย่างรุนแรง ในฐานะประธานอาเซียน ที่เป็นประเทศที่ออกแรงสำคัญจนที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศที่ภูเก็ต ยอมลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้จัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน ออกมาได้ไม่ทันข้ามคืน
ช่างบังเอิญอย่างยิ่ง เพราะเป็นช่วงที่ ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเดินทางมาเยือนประเทศไทย และมีกำหนดเข้าพบกับ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก กับกลุ่มอาเซียนในคราวเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ดี แม้ว่ารายงานข่าวดังกล่าวได้ระบุว่า การทรมานผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับการก่อการร้ายในคุกลับดังกล่าวของไทย เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2545 ก็ตาม ซึ่งก็ถือว่าเกิดขึ้นในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และตรงกับรัฐบาลประธานธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐฯ นั่นเอง แต่ก็ถือว่าทำให้ประเทศไทยได้รับความเสียหาย
ขณะเดียวกันช่างบังเอิญมากขึ้นไปอีก เมื่อในช่วงเวลาใกล้เคียงกันก็มีสื่อต่างประเทศชื่อดังอีกสำนักหนึ่งคือ “บีบีซี” ก็ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับกรณีสองสามีภรรยาชาวอังกฤษคู่หนึ่ง ถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในทำนองว่า “ถูกรีดเงิน” เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดี
แม้ว่าในความเป็นจริงกรณีดังกล่าวมักเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งในเรื่องของการยัดเยียดข้อหา หรือการกลั่นแกล้งต่างๆนานา ของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน ที่มักเกิดขึ้นจนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
แต่กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด ดูเสมือนเป็นการ “จงใจ” ทำให้เกิดขึ้น เพื่อหวังผลบางอย่างในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเป็นเจ้าภาพการประชุมสำคัญ
หากย้อนกลับไปไม่นาน สำนักข่าวบีบีซีแห่งนี้มักเป็นคู่กรณีกับรัฐบาลไทย มาหลายครั้ง ที่สำคัญผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวดังกล่าว ถูกระบุว่ามีความใกล้ชิดกับเครือข่าย “ระบอบทักษิณ” และถ้ายังจำกันได้เคยมีการเชิญ “จักรภพ เพ็ญแข” ไปปาฐกถาที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย จนถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาแล้ว
จากนั้นก็มีการรายงานข่าวใน “เชิงลบ” ต่อประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ
ล่าสุดเมื่อสามสี่เดือนก่อน สำนักข่าวแห่งนี้ก็เป็นหนึ่งในสื่อต่างประเทศได้รายงานข่าวการผลักดันผู้อพยพชาว “โรฮิงยา” ทางเรือของเจ้าหน้าที่กองทัพเรืออย่างทารุณ จนเป็นที่จับตามองจากทั่วโลก แม้ว่าในภายหลังยังไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ว่า เป็นเรื่องที่เกิดจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การรายงานแบบ“อคติ” ก็ตาม
สำหรับกรณีคุกลับในประเทศไทยนั้น มีการรายงานข่าวในทำนองเดียวกันมาอย่างน้อยสองสามครั้งแล้ว โดยก่อนหน้านี้ เคยมีการระบุว่าคุกลับดังกล่าวตั้งอยู่ในฐานทัพที่จังหวัดอุดรธานี และกองทัพอากาศก็ได้นำสื่อมวลชนจากทั่วโลกไปพิสูจน์ ก็ไม่พบ และเรื่องก็ค่อยๆ เงียบหายไป จนกระทั่งปรากฎเป็นข่าวขึ้นมาอีกครั้งในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชุมของ ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายงานว่า ในการเข้าพบหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทย จะมีการหยิบยกเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนในพม่า ปัญหาม้งอพยพ นอกเหนือจากนั้นก็คือมีรายงานว่า จะกดดันรัฐบาลไทยเพื่อให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเชื่อมโยงของผู้ก่อการร้ายในภูมิภาคเอเซีย กับปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
การที่รัฐบาลได้มีการตื่นตัวกับข้อกล่าวหาเรื่องคุกลับ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ และที่สำคัญจะเป็นการตรวจสอบว่า มีกระบวนการเพื่อดิสเครดิตประเทศไทยหรือไม่ เป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว
ขณะที่ท่าทีของนายกรัฐมนตีที่ระบุว่า หากจะต้องตรวจสอบก็ต้องตรวจสอบกับรัฐบาลที่แล้วเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 นั่นก็คือในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั่นเอง เป็นการย้อนศรได้อย่างเจ็บแสบ
ดังนั้นการรายงานข่าวเพื่อสร้างภาพลบให้กับประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ จะมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นการ “จงใจ” ของสื่อต่างประเทศบางแห่ง เพื่อทำลายภาพลักษณ์
ที่สำคัญยังมีการประเมินกันว่าเป็น “เกม” ของเครือข่ายระบบ “ทุนสามานย์” ข้ามชาติที่สูญเสียผลประโยชน์หลังจาก“ระบอบทักษิณ” ถูกทำลายลง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา !!
ขณะเดียวกัน ยังเสี่ยงต่อการที่ประเทศไทยต้องถลำลึกลงไปกับปัญหาก่อการร้ายระหว่างประเทศ รวมไปถึงการเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน โดยเฉพาะในปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่สำคัญยังถือว่า “ตบหน้า” รัฐบาลไทยอย่างรุนแรง ในฐานะประธานอาเซียน ที่เป็นประเทศที่ออกแรงสำคัญจนที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศที่ภูเก็ต ยอมลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้จัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน ออกมาได้ไม่ทันข้ามคืน
ช่างบังเอิญอย่างยิ่ง เพราะเป็นช่วงที่ ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเดินทางมาเยือนประเทศไทย และมีกำหนดเข้าพบกับ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก กับกลุ่มอาเซียนในคราวเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ดี แม้ว่ารายงานข่าวดังกล่าวได้ระบุว่า การทรมานผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับการก่อการร้ายในคุกลับดังกล่าวของไทย เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2545 ก็ตาม ซึ่งก็ถือว่าเกิดขึ้นในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และตรงกับรัฐบาลประธานธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐฯ นั่นเอง แต่ก็ถือว่าทำให้ประเทศไทยได้รับความเสียหาย
ขณะเดียวกันช่างบังเอิญมากขึ้นไปอีก เมื่อในช่วงเวลาใกล้เคียงกันก็มีสื่อต่างประเทศชื่อดังอีกสำนักหนึ่งคือ “บีบีซี” ก็ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับกรณีสองสามีภรรยาชาวอังกฤษคู่หนึ่ง ถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในทำนองว่า “ถูกรีดเงิน” เพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดี
แม้ว่าในความเป็นจริงกรณีดังกล่าวมักเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งในเรื่องของการยัดเยียดข้อหา หรือการกลั่นแกล้งต่างๆนานา ของเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน ที่มักเกิดขึ้นจนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
แต่กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุด ดูเสมือนเป็นการ “จงใจ” ทำให้เกิดขึ้น เพื่อหวังผลบางอย่างในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเป็นเจ้าภาพการประชุมสำคัญ
หากย้อนกลับไปไม่นาน สำนักข่าวบีบีซีแห่งนี้มักเป็นคู่กรณีกับรัฐบาลไทย มาหลายครั้ง ที่สำคัญผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวดังกล่าว ถูกระบุว่ามีความใกล้ชิดกับเครือข่าย “ระบอบทักษิณ” และถ้ายังจำกันได้เคยมีการเชิญ “จักรภพ เพ็ญแข” ไปปาฐกถาที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย จนถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาแล้ว
จากนั้นก็มีการรายงานข่าวใน “เชิงลบ” ต่อประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ
ล่าสุดเมื่อสามสี่เดือนก่อน สำนักข่าวแห่งนี้ก็เป็นหนึ่งในสื่อต่างประเทศได้รายงานข่าวการผลักดันผู้อพยพชาว “โรฮิงยา” ทางเรือของเจ้าหน้าที่กองทัพเรืออย่างทารุณ จนเป็นที่จับตามองจากทั่วโลก แม้ว่าในภายหลังยังไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ว่า เป็นเรื่องที่เกิดจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การรายงานแบบ“อคติ” ก็ตาม
สำหรับกรณีคุกลับในประเทศไทยนั้น มีการรายงานข่าวในทำนองเดียวกันมาอย่างน้อยสองสามครั้งแล้ว โดยก่อนหน้านี้ เคยมีการระบุว่าคุกลับดังกล่าวตั้งอยู่ในฐานทัพที่จังหวัดอุดรธานี และกองทัพอากาศก็ได้นำสื่อมวลชนจากทั่วโลกไปพิสูจน์ ก็ไม่พบ และเรื่องก็ค่อยๆ เงียบหายไป จนกระทั่งปรากฎเป็นข่าวขึ้นมาอีกครั้งในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชุมของ ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายงานว่า ในการเข้าพบหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทย จะมีการหยิบยกเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนในพม่า ปัญหาม้งอพยพ นอกเหนือจากนั้นก็คือมีรายงานว่า จะกดดันรัฐบาลไทยเพื่อให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเชื่อมโยงของผู้ก่อการร้ายในภูมิภาคเอเซีย กับปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
การที่รัฐบาลได้มีการตื่นตัวกับข้อกล่าวหาเรื่องคุกลับ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ และที่สำคัญจะเป็นการตรวจสอบว่า มีกระบวนการเพื่อดิสเครดิตประเทศไทยหรือไม่ เป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว
ขณะที่ท่าทีของนายกรัฐมนตีที่ระบุว่า หากจะต้องตรวจสอบก็ต้องตรวจสอบกับรัฐบาลที่แล้วเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 นั่นก็คือในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั่นเอง เป็นการย้อนศรได้อย่างเจ็บแสบ
ดังนั้นการรายงานข่าวเพื่อสร้างภาพลบให้กับประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ จะมองเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นการ “จงใจ” ของสื่อต่างประเทศบางแห่ง เพื่อทำลายภาพลักษณ์
ที่สำคัญยังมีการประเมินกันว่าเป็น “เกม” ของเครือข่ายระบบ “ทุนสามานย์” ข้ามชาติที่สูญเสียผลประโยชน์หลังจาก“ระบอบทักษิณ” ถูกทำลายลง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา !!