จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ยิ้มไม่หุบ คว้าสิทธิ์ดูแลเพลง “วอร์เนอร์ แชปเปิล มิวสิค” ในไทย วางแผนปีแรก นำ 300 เพลงมาเรียบเรียงใหม่ คาดแค่เพลง แฮปปี้เบิร์ทเดย์เพลงเดียว ก็โกยไม่อั้นแล้ว พร้อมลูกเล่น นำศิลปินดังร้องอวยพรให้ดาวน์โหลด คาดปีแรกรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 90 ล้านบาท
นายสุรชัย เสนศรี กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท วอร์เนอร์ แชปเปิล มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมใหญ่ที่สุด 1 ใน 4 ของโลก ได้แต่งตั้งบริษัทจีเอ็มเอ็มฯเป็นตัวแทนดูแลสิทธิ์งานดนตรีกรรม ประกอบด้วยทำนองที่มีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้องของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ ทั้งหมด ยกเว้นสิทธิ์การเผยแพร่ทางการค้า
การได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว ถือเป็นการสร้างปรากฎการณ์ครั้งแรก เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีการเปิดโอกาสให้บุคคลที่สามหรือบริษัทของคนไทยแต่อย่างใด เข้ามาเป็นตัวแทนบริหารจัดการลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ ในประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ บริษัทฯได้วางแผนบริหารจัดการลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ เพื่อทำให้เกิดช่องทางในการสร้างรายได้แบ่งตามสิทธิ์ ดังนี้ 1.สิทธิ์นำงานเพลงไปประกอบกับภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (Synchronization Rights) ซึ่งเป็นหนึ่งในสิทธิ์ของงานดนตรีกรรม อาทิ นำไปประกอบละคร ภาพยนตร์ หนังโฆษณา
2.สิทธิ์ทำซ้ำ (Reproduction Rights) อาทิ ค่ายเพลงนำเพลงเก่ามาให้นักร้องในสังกัดร้องเพื่อทำมาสเตอร์ใหม่ หรือขออนุญาตนำสิทธิ์มาสเตอร์จากต่างประเทศที่มีงานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ มาผลิต หรือนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายในประเทศไทย และ
3.สิทธิ์ดัดแปลง (Adaptation Rights) อาทิ การนำทำนองไปใส่เนื้อไทย เป็นต้น ซึ่งสิทธิ์ทั้งหมดนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของหรือตัวแทนก่อนทุกครั้ง
โดยแผนการดำเนินงานนั้น ในช่วงปีแรกได้วางแผนการนำงานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ กว่า 300 เพลงมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อทำให้เกิดรายได้ใหม่อีกช่องทาง ทั้งจากการขายซีดีในและต่างประเทศ คือ รวบรวมเป็น 25 อัลบั้ม จับกลุ่มเป้าหมายผู้ชื่นชอบและประทับใจเพลงสากลชื่อดังในอดีต แล้วนิยมซื้อเก็บสะสมเป็นคอลเลคชั่นคาดว่าจะมีรายได้ในส่วนนี้ประมาณ 35 ล้านบาท และรายได้จากระบบดิจิตอลทั้งในและต่างประเทศ คือ ให้ดาวน์โหลดพร้อมกันทั่วโลกผ่าน iTunes และ 500 ร้านค้าในรูปแบบ e-store ในทวีปอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องเป็นคนไทยเสมอไป
เนื่องจากงานเพลงของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ เป็นเพลงสากลที่โด่งดังเป็นที่คุ้นเคยของผู้ฟังทั่วโลก คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 45 ล้านบาท รวมแล้วคาดว่าน่าจะมีรายได้จากการถือสิทธิ์ครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 90 ล้านบาทในช่วงปีแรกของการดำเนินงานนี้
โดยในอนาคตมีแผนจะสร้างรายได้ใหม่จากการทำโชว์บิซเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า สำหรับเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์ (Happy Birthday) เป็นอีกหนึ่งในหลายๆ เพลงของวอร์นเนอร์ แชปเปิลฯ ที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการลิขสิทธิ์ ส่วนหนึ่งเพราะเป็นเพลงที่คนทั่วโลกนิยมนำมาร้องอวยพรมากที่สุดในโอกาสวันเกิดและครบรอบวันเกิด ทำให้มีปริมาณการใช้เพลงถี่และบ่อยมากที่สุดเพลงหนึ่งทีเดียว
ปัจจุบันวอร์เนอร์ แชปเปิ้ลฯ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงนี้ โดยในส่วนของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่หลังจากได้รับสิทธิ์ดูแลเพลงนี้แล้ว ก็มีการวางแผนด้านการบริหารจัดการอย่างดี คาดว่าเฉพาะเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์นี้เพลงเดียวทำให้มีรายได้อย่างน้อยที่สุดคือ 30 ล้านบาท จากการขายซีดี ได้แก่ ทำการ์ดวันเกิดพร้อมแถมซีดีเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์ และจากการขายในระบบดิจิตอล ได้แก่ นำเสียงศิลปินชื่อดังแกรมมี่มาอวยพรพร้อมร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์เพื่อให้บริการดาวน์โหลดทางมือถือหรืออินเทอร์เนตต่อไป
นายสุรชัย เสนศรี กรรมการผู้จัดการ หน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท วอร์เนอร์ แชปเปิล มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมใหญ่ที่สุด 1 ใน 4 ของโลก ได้แต่งตั้งบริษัทจีเอ็มเอ็มฯเป็นตัวแทนดูแลสิทธิ์งานดนตรีกรรม ประกอบด้วยทำนองที่มีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้องของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ ทั้งหมด ยกเว้นสิทธิ์การเผยแพร่ทางการค้า
การได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว ถือเป็นการสร้างปรากฎการณ์ครั้งแรก เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีการเปิดโอกาสให้บุคคลที่สามหรือบริษัทของคนไทยแต่อย่างใด เข้ามาเป็นตัวแทนบริหารจัดการลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ ในประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้ บริษัทฯได้วางแผนบริหารจัดการลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ เพื่อทำให้เกิดช่องทางในการสร้างรายได้แบ่งตามสิทธิ์ ดังนี้ 1.สิทธิ์นำงานเพลงไปประกอบกับภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (Synchronization Rights) ซึ่งเป็นหนึ่งในสิทธิ์ของงานดนตรีกรรม อาทิ นำไปประกอบละคร ภาพยนตร์ หนังโฆษณา
2.สิทธิ์ทำซ้ำ (Reproduction Rights) อาทิ ค่ายเพลงนำเพลงเก่ามาให้นักร้องในสังกัดร้องเพื่อทำมาสเตอร์ใหม่ หรือขออนุญาตนำสิทธิ์มาสเตอร์จากต่างประเทศที่มีงานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ มาผลิต หรือนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายในประเทศไทย และ
3.สิทธิ์ดัดแปลง (Adaptation Rights) อาทิ การนำทำนองไปใส่เนื้อไทย เป็นต้น ซึ่งสิทธิ์ทั้งหมดนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของหรือตัวแทนก่อนทุกครั้ง
โดยแผนการดำเนินงานนั้น ในช่วงปีแรกได้วางแผนการนำงานดนตรีกรรมของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ กว่า 300 เพลงมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อทำให้เกิดรายได้ใหม่อีกช่องทาง ทั้งจากการขายซีดีในและต่างประเทศ คือ รวบรวมเป็น 25 อัลบั้ม จับกลุ่มเป้าหมายผู้ชื่นชอบและประทับใจเพลงสากลชื่อดังในอดีต แล้วนิยมซื้อเก็บสะสมเป็นคอลเลคชั่นคาดว่าจะมีรายได้ในส่วนนี้ประมาณ 35 ล้านบาท และรายได้จากระบบดิจิตอลทั้งในและต่างประเทศ คือ ให้ดาวน์โหลดพร้อมกันทั่วโลกผ่าน iTunes และ 500 ร้านค้าในรูปแบบ e-store ในทวีปอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องเป็นคนไทยเสมอไป
เนื่องจากงานเพลงของวอร์เนอร์ แชปเปิลฯ เป็นเพลงสากลที่โด่งดังเป็นที่คุ้นเคยของผู้ฟังทั่วโลก คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 45 ล้านบาท รวมแล้วคาดว่าน่าจะมีรายได้จากการถือสิทธิ์ครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 90 ล้านบาทในช่วงปีแรกของการดำเนินงานนี้
โดยในอนาคตมีแผนจะสร้างรายได้ใหม่จากการทำโชว์บิซเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า สำหรับเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์ (Happy Birthday) เป็นอีกหนึ่งในหลายๆ เพลงของวอร์นเนอร์ แชปเปิลฯ ที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการลิขสิทธิ์ ส่วนหนึ่งเพราะเป็นเพลงที่คนทั่วโลกนิยมนำมาร้องอวยพรมากที่สุดในโอกาสวันเกิดและครบรอบวันเกิด ทำให้มีปริมาณการใช้เพลงถี่และบ่อยมากที่สุดเพลงหนึ่งทีเดียว
ปัจจุบันวอร์เนอร์ แชปเปิ้ลฯ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงนี้ โดยในส่วนของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่หลังจากได้รับสิทธิ์ดูแลเพลงนี้แล้ว ก็มีการวางแผนด้านการบริหารจัดการอย่างดี คาดว่าเฉพาะเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์นี้เพลงเดียวทำให้มีรายได้อย่างน้อยที่สุดคือ 30 ล้านบาท จากการขายซีดี ได้แก่ ทำการ์ดวันเกิดพร้อมแถมซีดีเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์ และจากการขายในระบบดิจิตอล ได้แก่ นำเสียงศิลปินชื่อดังแกรมมี่มาอวยพรพร้อมร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ทเดย์เพื่อให้บริการดาวน์โหลดทางมือถือหรืออินเทอร์เนตต่อไป