ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของ อ.สะบ้าย้อย หลังชาวบ้านร้องเรียน พบพื้นที่ป่ากว่าแสนไร่ถูกบุกรุก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเทพา และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสำคัญทั้งช้างแคระหัวแดงและนกป่า
วานนี้ (5 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในพื้นที่ อ.สะบ้าย้อย ได้ร้องเรียนให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบป่าสงวนในพื้นที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา มากยิ่งขึ้น หลังจากที่ถูกทำลายอย่างหนัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ประกอบด้วย ต.เขาแดง ต.ทุ่งพอ ต.จะแหน ต.บาโหย และ ต.คูหา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเทพา และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสำคัญทั้งช้างแคระหัวแดง และนกป่าหลายชนิดกำลังถูกบุกรุกทำลายได้รับความเสียหายอย่างหนัก กินพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ จากพื้นที่ป่าที่มีอยู่ทั้งหมดกว่า 133,877 ไร่
ทั้งการลักลอบตัดไม้แผ้วถางทำไร่ และปลูกยางพารา และปลูกที่อยู่อาศัยแบบถาวรทั้งที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ เพื่อเตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรีซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2538 แต่จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่าพื้นที่ป่าสมบูรณ์ถูกบุกรุกกระจายทั่วทั้งผืนป่าโดยเฉพาะในรอบสองปีที่ผ่านมา ถูกทำลายอย่างหนัก
ทั้งนี้ พบว่าผู้ที่บุกรุกมีทั้งชาวบ้านในพื้นที่ และชาวบ้านที่ถูกชักนำมาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์เรียกร้องให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดแก่กลุ่มผู้บุกรุกและหาทางป้องกัน เพื่อไม่ให้พื้นที่ป่าเสียหายไปกว่านี้ เพราะจะกระทบต่อต้นน้ำสำคัญของ จ.สงขลาในระยะยาว
วานนี้ (5 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในพื้นที่ อ.สะบ้าย้อย ได้ร้องเรียนให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบป่าสงวนในพื้นที่ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา มากยิ่งขึ้น หลังจากที่ถูกทำลายอย่างหนัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ประกอบด้วย ต.เขาแดง ต.ทุ่งพอ ต.จะแหน ต.บาโหย และ ต.คูหา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเทพา และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสำคัญทั้งช้างแคระหัวแดง และนกป่าหลายชนิดกำลังถูกบุกรุกทำลายได้รับความเสียหายอย่างหนัก กินพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ จากพื้นที่ป่าที่มีอยู่ทั้งหมดกว่า 133,877 ไร่
ทั้งการลักลอบตัดไม้แผ้วถางทำไร่ และปลูกยางพารา และปลูกที่อยู่อาศัยแบบถาวรทั้งที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ เพื่อเตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรีซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2538 แต่จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่าพื้นที่ป่าสมบูรณ์ถูกบุกรุกกระจายทั่วทั้งผืนป่าโดยเฉพาะในรอบสองปีที่ผ่านมา ถูกทำลายอย่างหนัก
ทั้งนี้ พบว่าผู้ที่บุกรุกมีทั้งชาวบ้านในพื้นที่ และชาวบ้านที่ถูกชักนำมาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์เรียกร้องให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินมาตรการขั้นเด็ดขาดแก่กลุ่มผู้บุกรุกและหาทางป้องกัน เพื่อไม่ให้พื้นที่ป่าเสียหายไปกว่านี้ เพราะจะกระทบต่อต้นน้ำสำคัญของ จ.สงขลาในระยะยาว