ASTVผู้จัดการรายวัน - เคทีซีระบุพฤติกรรมลูกค้าหันผ่อนชำระเพิ่มขึ้นหนุนยอดสินเชื่อคงค้าง 5 เดือนเพิ่มขึ้น 4,000 ล้านบาท ชี้ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมียอดค้างชำระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาคอื่นๆ ระบุน่าจะเกิดจากาคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ล่าสุดจับมือมาสเตอรการ์ดและกลุ่ม TDPลุยกระตุ้นยอดใช้จ่าย ตลาดภูธร ด้าน"เซ็นทรัล คาร์ด"ปรับรูปโฉมใหม่ พร้อมจับมือพันธมิตรขยายการบริการให้ครอบคลุมมากขึ้น ตั้งเป้าขยายฐานบัตรเพิ่มเป็น 8.5 แสนบัตร หลังสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มฟื้น
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเคทีซีมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 32,000 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปีประมาณ 4,000 ล้านบาท และคาดว่าในสิ้นปีนี้ยอดสินเชื่อคงค้างน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้ถือบัตรที่เดิมจะมีการชำระหนี้แบบเต็มวงเงินเปลี่ยนมาเป็นชำระ 50 % ของวงเงินใช้จ่ายผ่านบัตร ซึ่งทำให้ยอดผ่อนชำระเพิ่มขึ้นจาก 80 % เป็น 82 %
ทั้งนี้ จากยอดผ่อนชำระเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ของเคทีซีปรับเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยอดค้างชำระของผู้ถือบัตรก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน รวมถึงสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก็ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันอยู่ที่กว่า 2 % คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่ 3 %
"ตอนนี้หากดูจากยอดที่เป็นจำนวนรายนั้นจะพบว่า มีลูกค้าที่เป็นแบบผ่อนชำระหนี้อยู่ประมาณ 540,000 บัตร หรือคิดเป็น 33% ของยอดบัตรทั้งหมด และที่เหลือจะเป็นแบบชำระเต็มวงเงิน 720,000 บัตร"
นายธวัชชัยกล่าวว่า หากทำการแยกส่วนของลูกค้าที่ผ่อนชำระหนี้นั้นจะพบว่า จะเป็นส่วนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครจะมีอัตราการค้างชำระอยู่ที่ 1.25 % ภาคเหนือ 1.16 % ภาคใต้ 1.1 % ภาคกลางรวมภาคตะวันออกอยู่ที่ 1.40 % และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.54 % โดยภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มียอดค้างชำระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาคอื่นๆ สาเหตุน่าจะเกิดจากาคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเคทีซีมีบัตรเครดิต 1.62 ล้านบาท แบ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิตในกรุงเทพฯ 950,000 บัตร และต่างจังหวัด 670,000 บัตร ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรต่อเดือนอยู่ที่ 7,000 บาทต่อบัตร ขณะที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้ถือบัตรในต่างจังหวัดต่อเดือนอยู่ที่ 4,000 บาทต่อบัตร ทำให้ยังมีอัตราการเติบโตได้อีกมาก
ล่าสุด ทางเคทีซีได้ร่วมมาสเตอรการ์ด และกลุ่ม Thailand Department Store Pool (TDP) ที่มีห้างสรรสินค้า และดีพาร์ทเมนท์สโตร์ 13 แห่ง กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ จัดงานแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดใช้จ่าย ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากผู้ถือบัตรเป็นอย่างดี มียอดสมัครบัตรเครดิตเคทีซี ไทเทเนียม มาสเตอร์การ์ด ในกลุ่มTDP เพิ่มขึ้น 94 % ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 40 %ปัจจุบันยอดบัตรอยู่ที่ 24,000 บัตร สิ้นปีจะปรับขึ้นเป็น 30,000 บัตร และในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะมีการขยายความร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง
เซ็นทรัล คาร์ดรุกขยายฐาน
นายมนตรี สิทธิญาวณิชย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการปรับรูปโฉมบัตรเซ็นทรัล คาร์ด รวมทั้งสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆเพิ่มขึ้น โดยยึดหลัก "ลูกค้าคือศูนย์กลาง" เพื่อตอบสนองทุกความต้องการในการใช้จ่ายที่นอกเหนือจาการซื้อสินค้าและบริการของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โดยออกแคมเปญ "Your Identity....Anywhere" ซึ่งได้ร่วมมือกับพันธมิตรใหม่อีกหลายแห่ง อาทิ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ, Absolute Yoga, รมณ์รวิน บิวตี้, บริษัท World Surprise Travel เป็นต้น เป็นการขยายบริการให้ผู้ถือบัตรใช้ได้ครอบคลุมมากขึ้น ส่วนสิทธิพิเศษเดิมก็ยังคงมีอยู่
นอกจากนี้ ในช่วงของการปรับโฉมใหม่ เซ็นทรัล เครดิตคาร์ดนำเสนอ 2 โปรโมชั่นพิเศษให้กับผู้ถือบัตร คือ EVERYDAY ON TOP โดยจะให้ส่วนลดเพิ่มอีก 5% ทุกวัน ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทุกสาขา และเซนโดยไม่มีขั้นต่ำและขั้นสูงสุดตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ส.ค.นี้ และให้เงินเครดิตคืนเพิ่มเป็น 5%(จากเดิม 2%) เมื่อใช้จ่าย ณ สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-30ก.ย. ซึ่งสำหรับแคมเปญนี้บริษัทได้จัดงบการตลาดไว้สนับสนุนจำนวน 300 ล้านบาท
นายมนตรีกล่าวอีกว่า การรุกขยายตลาดในขณะนี้ เนื่องจากบริษัทเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นเป็น 2,800 ล้านบาทซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วยเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากในช่วง 1-4 เดือนแรกที่มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงเหลือประมาณ 2,500 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทไม่ได้คาดหวังอัตราการเติบโตในระดับที่สูง โดยตั้งเป้ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรปีนี้คงจะอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อนคือ 32,000 ล้านบาท ขณะที่ฐานลูกค้าคาดว่าจะเพิ่มเป็น 850,000 บัตร จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 800,000 บัตร
"ความจริงเราเตรียมแผนนี้มาตั้งแต่ต้นปีแล้ว แต่จากภาวะที่ไม่แน่นอนทำให้ต้องเลื่อนไปก่อน แต่มาตอนนี้จากตัวเลขต่างๆที่ประกาศออกมาก็พอจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวของเศรษกิจทั้งเศรษฐกิจโลก ประเทศคู่ค้า และของไทยเอง จึงเริ่มใช้กลยุทธเชิงรุกมากขึ้น จากเดิมที่เราค่อนข้างระมัดระวังมาก และเชื่อว่าหลังจากนี้ไปยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรก็จะเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะถึง 3,000 ล้านบาทต่อเดือน"
สำหรับเอ็นพีแอลของบริษัทในปีนี้คาดอว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 1% ซึ่งลดลงกว่าในปีก่อน เนื่องจากบริษัทได้พยายามดูแลปรับโครงสร้างให้กับลูกค้าที่มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมทั้งในช่วงที่ผ่านมาก็มีความระมัดระวังในการพิจารณาออกบัตรมากขึ้น จึงทำให้สามารถลดเอ็นพีแอลลงได้
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 แม้ว่าจะมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงบ้าง แต่เซ็นทรัล เครดิตคาร์ด ยังเป็นผู้นำและเป็นบัตรที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในประเภทบัตรเครดิตห้างค้าปลีก (Retailer Card) โดยมีส่วนแบ่งทั้งหมดประมาณ 45%
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเคทีซีมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 32,000 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปีประมาณ 4,000 ล้านบาท และคาดว่าในสิ้นปีนี้ยอดสินเชื่อคงค้างน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้ถือบัตรที่เดิมจะมีการชำระหนี้แบบเต็มวงเงินเปลี่ยนมาเป็นชำระ 50 % ของวงเงินใช้จ่ายผ่านบัตร ซึ่งทำให้ยอดผ่อนชำระเพิ่มขึ้นจาก 80 % เป็น 82 %
ทั้งนี้ จากยอดผ่อนชำระเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ของเคทีซีปรับเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยอดค้างชำระของผู้ถือบัตรก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน รวมถึงสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ก็ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันอยู่ที่กว่า 2 % คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่ 3 %
"ตอนนี้หากดูจากยอดที่เป็นจำนวนรายนั้นจะพบว่า มีลูกค้าที่เป็นแบบผ่อนชำระหนี้อยู่ประมาณ 540,000 บัตร หรือคิดเป็น 33% ของยอดบัตรทั้งหมด และที่เหลือจะเป็นแบบชำระเต็มวงเงิน 720,000 บัตร"
นายธวัชชัยกล่าวว่า หากทำการแยกส่วนของลูกค้าที่ผ่อนชำระหนี้นั้นจะพบว่า จะเป็นส่วนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครจะมีอัตราการค้างชำระอยู่ที่ 1.25 % ภาคเหนือ 1.16 % ภาคใต้ 1.1 % ภาคกลางรวมภาคตะวันออกอยู่ที่ 1.40 % และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.54 % โดยภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มียอดค้างชำระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาคอื่นๆ สาเหตุน่าจะเกิดจากาคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเคทีซีมีบัตรเครดิต 1.62 ล้านบาท แบ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิตในกรุงเทพฯ 950,000 บัตร และต่างจังหวัด 670,000 บัตร ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรต่อเดือนอยู่ที่ 7,000 บาทต่อบัตร ขณะที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้ถือบัตรในต่างจังหวัดต่อเดือนอยู่ที่ 4,000 บาทต่อบัตร ทำให้ยังมีอัตราการเติบโตได้อีกมาก
ล่าสุด ทางเคทีซีได้ร่วมมาสเตอรการ์ด และกลุ่ม Thailand Department Store Pool (TDP) ที่มีห้างสรรสินค้า และดีพาร์ทเมนท์สโตร์ 13 แห่ง กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ จัดงานแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดใช้จ่าย ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากผู้ถือบัตรเป็นอย่างดี มียอดสมัครบัตรเครดิตเคทีซี ไทเทเนียม มาสเตอร์การ์ด ในกลุ่มTDP เพิ่มขึ้น 94 % ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 40 %ปัจจุบันยอดบัตรอยู่ที่ 24,000 บัตร สิ้นปีจะปรับขึ้นเป็น 30,000 บัตร และในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะมีการขยายความร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง
เซ็นทรัล คาร์ดรุกขยายฐาน
นายมนตรี สิทธิญาวณิชย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการปรับรูปโฉมบัตรเซ็นทรัล คาร์ด รวมทั้งสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆเพิ่มขึ้น โดยยึดหลัก "ลูกค้าคือศูนย์กลาง" เพื่อตอบสนองทุกความต้องการในการใช้จ่ายที่นอกเหนือจาการซื้อสินค้าและบริการของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โดยออกแคมเปญ "Your Identity....Anywhere" ซึ่งได้ร่วมมือกับพันธมิตรใหม่อีกหลายแห่ง อาทิ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ, Absolute Yoga, รมณ์รวิน บิวตี้, บริษัท World Surprise Travel เป็นต้น เป็นการขยายบริการให้ผู้ถือบัตรใช้ได้ครอบคลุมมากขึ้น ส่วนสิทธิพิเศษเดิมก็ยังคงมีอยู่
นอกจากนี้ ในช่วงของการปรับโฉมใหม่ เซ็นทรัล เครดิตคาร์ดนำเสนอ 2 โปรโมชั่นพิเศษให้กับผู้ถือบัตร คือ EVERYDAY ON TOP โดยจะให้ส่วนลดเพิ่มอีก 5% ทุกวัน ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทุกสาขา และเซนโดยไม่มีขั้นต่ำและขั้นสูงสุดตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ส.ค.นี้ และให้เงินเครดิตคืนเพิ่มเป็น 5%(จากเดิม 2%) เมื่อใช้จ่าย ณ สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-30ก.ย. ซึ่งสำหรับแคมเปญนี้บริษัทได้จัดงบการตลาดไว้สนับสนุนจำนวน 300 ล้านบาท
นายมนตรีกล่าวอีกว่า การรุกขยายตลาดในขณะนี้ เนื่องจากบริษัทเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมาว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นเป็น 2,800 ล้านบาทซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วยเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากในช่วง 1-4 เดือนแรกที่มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงเหลือประมาณ 2,500 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทไม่ได้คาดหวังอัตราการเติบโตในระดับที่สูง โดยตั้งเป้ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรปีนี้คงจะอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อนคือ 32,000 ล้านบาท ขณะที่ฐานลูกค้าคาดว่าจะเพิ่มเป็น 850,000 บัตร จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 800,000 บัตร
"ความจริงเราเตรียมแผนนี้มาตั้งแต่ต้นปีแล้ว แต่จากภาวะที่ไม่แน่นอนทำให้ต้องเลื่อนไปก่อน แต่มาตอนนี้จากตัวเลขต่างๆที่ประกาศออกมาก็พอจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวของเศรษกิจทั้งเศรษฐกิจโลก ประเทศคู่ค้า และของไทยเอง จึงเริ่มใช้กลยุทธเชิงรุกมากขึ้น จากเดิมที่เราค่อนข้างระมัดระวังมาก และเชื่อว่าหลังจากนี้ไปยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรก็จะเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะถึง 3,000 ล้านบาทต่อเดือน"
สำหรับเอ็นพีแอลของบริษัทในปีนี้คาดอว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 1% ซึ่งลดลงกว่าในปีก่อน เนื่องจากบริษัทได้พยายามดูแลปรับโครงสร้างให้กับลูกค้าที่มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมทั้งในช่วงที่ผ่านมาก็มีความระมัดระวังในการพิจารณาออกบัตรมากขึ้น จึงทำให้สามารถลดเอ็นพีแอลลงได้
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 แม้ว่าจะมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงบ้าง แต่เซ็นทรัล เครดิตคาร์ด ยังเป็นผู้นำและเป็นบัตรที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในประเภทบัตรเครดิตห้างค้าปลีก (Retailer Card) โดยมีส่วนแบ่งทั้งหมดประมาณ 45%