ASTVผู้จัดการรายวัน - ออมสิน ทุ่มพันล้านจ้างไอบีเอ็มวางระบบคอร์แบงกิ้งใหม่ คาดเริ่มใช้ได้เดือนตุลาคมปีนี้ นำร่องที่ระบบเงินฝาก่อนขยายไปสู่ระบบสินเชื่อได้มีนาคมปีหน้า พร้อมเล็งนำบริการทางการเงินบนมือถือมาใช้ หวังให้บริการลูกค้าครบวงจร ชี้ช่วยลดต้นทุนเปิดสาขา ติดตั้งตู้เอทีเอ็ม
นายยงยุทธ ตะริโย รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินกลุ่มปฏิบัติการ รักษาการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและดูแลกลั่นกรองสายงานบริหารความเสี่ยง เปิดเผยว่า ในเดือนตุลาคมนี้ธนาคารจะเริ่มนำระบบคอร์แบงกิ้งมาใช้แทนระบบเดิม หลังจากที่ว่างจ้างบริษัทไอบีเอ็มเข้ามาพัฒนาและวางระบบให้เหมาะสมกับออมสินและใช้เวลาดำเนินการในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาท ซึ่งถือว่ามีการนำมาใช้เร็วกว่ากำหนด 6 เดือนเพราะเป็นระบบที่ถือว่ามีความสมบูรณ์แบบและมีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้น้อยมาก
สำหรับระบบคอร์แบงกิ้งใหม่นั้นจะเริ่มที่ระบบเงินฝากก่อน โดยระหว่างนี้อยู่ในช่วงทดลองระบบกับบางสาขาก่อนจะขยายให้ครอบคลุมทั้งประเทศ และอยู่ระหว่างฝึกอบรมพนักงานให้สามารถใช้ระบบใหม่ได้ทันที จากนั้นเดือนมีนาคม 2553 จะขยายไปสู่ระบบสินเชื่อและอื่นๆ ต่อไป รวมถึงการขยายบริการไปสู่ไอโมบายหรือโมบายแบงกิ้งด้วย ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการทางบัญชีและจ่ายค่าสาธารณูปโภคหรือตรวจสอบยอดเงินในบัญชีได้ทางโทรศัพท์มือถือ
“ระบบคอร์แบงกิ้งใหม่ที่ว่างจ้างไอบีเอ็มวางระบบให้นั้น คล้ายกับระบบของธนาคารกรุงไทยแต่เป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง จึงมั่นใจว่าจะไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับจำนวนบัญชีและเงินฝากของลูกค้าในช่วงที่มีการเปลี่ยนระบบ โดยระหว่างนี้จะเริ่มทดสอบกับ 10 สาขาก่อนจะขยายให้ครอบคลุมทั้งประเทศโดยสิ้นปีน่าจะมีการปิดบัญชีโอนย้ายข้อมูลจากระบบเก่ามาระบบใหม่ได้ทั้ง 100%“ นายยงยุทธกล่าวและว่า ระหว่างที่มีทดสอบระบบนั้นพบว่ามีความผิดพลาดของข้อมูลบัญชีลูกค้าบ้างในหลัก 100 บัญชีที่เปิดไว้นานแล้วทำให้ข้อมูลไม่อัปเดท แต่ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนจาก 30 ล้านบัญชี คิดเป็น 0.00001% เท่านั้น
นายยงยุทธกล่าวว่า ในส่วนของการฝึกอบรมพนักงานนั้นที่ผ่านมาได้เชิญระดับผู้จัดการสาขาทั่วประเทศมาเรียนรู้ระบบใหม่แล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นที่ 2 โดยให้สาขาระดับภาคส่งพนักงานหัวกะทิ 10 คน รวม 140 คน ทั่วประเทศ มาฝึกอบรมซึ่งใช้เวลาเพียง 1 วันพนักงานกลุ่มนี้ก็สามารถใช้ระบบใหม่ได้ จากนั้นจะให้กลุ่มนี้ไปถ่ายทอดต่อกับพนักงานต่อไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ระบบใหม่โดยไม่เกิดปัญหาขึ้น และระบบดังกล่าวยังป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้อย่างดีและทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้นด้วยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น
ส่วนการนำระบบโมบายแบงกิ้งมาใช้นั้นเป็นแนวคิดที่ได้มาจากธนาคารออมสินหรือเซฟวิ่งแบงก์ในต่างประเทศที่นำมาใช้และได้ผลอย่างดี เช่น ที่ เกาหลีใต้ โดยมองว่าจะช่วยขยายบริการของธนาคารให้ครอบคลุมมากขึ้นและสร้างรายได้ให้ธนาคารมากขึ้นในอนาคต โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบที่จะนำมาใช้ เช่น อาจให้ลูกค้านำซิมมือถือมาโหลดโปรแกรมดังกล่าวที่สาขาของธนาคาร หรือ ให้พาสเวิร์ดกับลูกค้าเพื่อดาวโหลดโปรแกรมได้เองจากมือถือ หรืออาจขายซิมใหม่ที่มีระบบดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะต้องประสานความร่วมมือไปยังค่ายมือถือใหญ่ๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม การขยายบริการดังกล่าวจะมีต้นทุนถูกกว่าการเปิดสาขาเพิ่ม หรือการติดตั้งเอทีเอ็ม เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มีมือถือใช้กันอยู่แล้ว ต่อไปก็สามารถโอนเงินหรือตรวจสอบยอดเงินในบัญชีได้ทันทีหรือหักบัญชีเพื่อชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าบัตรเครดิตต่างๆ ได้ด้วย โดยอาจคิดค่าบริการเหมาจ่ายรายเดือนๆ ละ 50-100 บาท ทำรายการได้ 10-20 รายการ เบื้องต้นหากมีลูกค้าสมัครใช้บริการ 1 ล้านคนก็จะช่วยให้ธนาคารมีรายได้เข้ามาเดือนละ 100 ล้านบาทแล้ว.
นายยงยุทธ ตะริโย รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินกลุ่มปฏิบัติการ รักษาการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและดูแลกลั่นกรองสายงานบริหารความเสี่ยง เปิดเผยว่า ในเดือนตุลาคมนี้ธนาคารจะเริ่มนำระบบคอร์แบงกิ้งมาใช้แทนระบบเดิม หลังจากที่ว่างจ้างบริษัทไอบีเอ็มเข้ามาพัฒนาและวางระบบให้เหมาะสมกับออมสินและใช้เวลาดำเนินการในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาท ซึ่งถือว่ามีการนำมาใช้เร็วกว่ากำหนด 6 เดือนเพราะเป็นระบบที่ถือว่ามีความสมบูรณ์แบบและมีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้น้อยมาก
สำหรับระบบคอร์แบงกิ้งใหม่นั้นจะเริ่มที่ระบบเงินฝากก่อน โดยระหว่างนี้อยู่ในช่วงทดลองระบบกับบางสาขาก่อนจะขยายให้ครอบคลุมทั้งประเทศ และอยู่ระหว่างฝึกอบรมพนักงานให้สามารถใช้ระบบใหม่ได้ทันที จากนั้นเดือนมีนาคม 2553 จะขยายไปสู่ระบบสินเชื่อและอื่นๆ ต่อไป รวมถึงการขยายบริการไปสู่ไอโมบายหรือโมบายแบงกิ้งด้วย ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการทางบัญชีและจ่ายค่าสาธารณูปโภคหรือตรวจสอบยอดเงินในบัญชีได้ทางโทรศัพท์มือถือ
“ระบบคอร์แบงกิ้งใหม่ที่ว่างจ้างไอบีเอ็มวางระบบให้นั้น คล้ายกับระบบของธนาคารกรุงไทยแต่เป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง จึงมั่นใจว่าจะไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับจำนวนบัญชีและเงินฝากของลูกค้าในช่วงที่มีการเปลี่ยนระบบ โดยระหว่างนี้จะเริ่มทดสอบกับ 10 สาขาก่อนจะขยายให้ครอบคลุมทั้งประเทศโดยสิ้นปีน่าจะมีการปิดบัญชีโอนย้ายข้อมูลจากระบบเก่ามาระบบใหม่ได้ทั้ง 100%“ นายยงยุทธกล่าวและว่า ระหว่างที่มีทดสอบระบบนั้นพบว่ามีความผิดพลาดของข้อมูลบัญชีลูกค้าบ้างในหลัก 100 บัญชีที่เปิดไว้นานแล้วทำให้ข้อมูลไม่อัปเดท แต่ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนจาก 30 ล้านบัญชี คิดเป็น 0.00001% เท่านั้น
นายยงยุทธกล่าวว่า ในส่วนของการฝึกอบรมพนักงานนั้นที่ผ่านมาได้เชิญระดับผู้จัดการสาขาทั่วประเทศมาเรียนรู้ระบบใหม่แล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นที่ 2 โดยให้สาขาระดับภาคส่งพนักงานหัวกะทิ 10 คน รวม 140 คน ทั่วประเทศ มาฝึกอบรมซึ่งใช้เวลาเพียง 1 วันพนักงานกลุ่มนี้ก็สามารถใช้ระบบใหม่ได้ จากนั้นจะให้กลุ่มนี้ไปถ่ายทอดต่อกับพนักงานต่อไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ระบบใหม่โดยไม่เกิดปัญหาขึ้น และระบบดังกล่าวยังป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้อย่างดีและทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้นด้วยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น
ส่วนการนำระบบโมบายแบงกิ้งมาใช้นั้นเป็นแนวคิดที่ได้มาจากธนาคารออมสินหรือเซฟวิ่งแบงก์ในต่างประเทศที่นำมาใช้และได้ผลอย่างดี เช่น ที่ เกาหลีใต้ โดยมองว่าจะช่วยขยายบริการของธนาคารให้ครอบคลุมมากขึ้นและสร้างรายได้ให้ธนาคารมากขึ้นในอนาคต โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบที่จะนำมาใช้ เช่น อาจให้ลูกค้านำซิมมือถือมาโหลดโปรแกรมดังกล่าวที่สาขาของธนาคาร หรือ ให้พาสเวิร์ดกับลูกค้าเพื่อดาวโหลดโปรแกรมได้เองจากมือถือ หรืออาจขายซิมใหม่ที่มีระบบดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะต้องประสานความร่วมมือไปยังค่ายมือถือใหญ่ๆ ด้วย
อย่างไรก็ตาม การขยายบริการดังกล่าวจะมีต้นทุนถูกกว่าการเปิดสาขาเพิ่ม หรือการติดตั้งเอทีเอ็ม เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มีมือถือใช้กันอยู่แล้ว ต่อไปก็สามารถโอนเงินหรือตรวจสอบยอดเงินในบัญชีได้ทันทีหรือหักบัญชีเพื่อชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าบัตรเครดิตต่างๆ ได้ด้วย โดยอาจคิดค่าบริการเหมาจ่ายรายเดือนๆ ละ 50-100 บาท ทำรายการได้ 10-20 รายการ เบื้องต้นหากมีลูกค้าสมัครใช้บริการ 1 ล้านคนก็จะช่วยให้ธนาคารมีรายได้เข้ามาเดือนละ 100 ล้านบาทแล้ว.