การเมืองที่ “มองเห็น” แม้จะร้อนแรงพอสมควรในช่วงนี้
แต่การเมืองที่ “มองไม่เห็น” ร้อนแรงกว่า!
วันก่อน พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดในการสืบสวนสอบสวนคดีรุมสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเมื่อเช้าวันที่ 17 เมษายน 2552 ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในทำนองว่าคดีนี้ชนตอ เป็นตอใหญ่เสียด้วย ลำพังตนเองนั้นไม่เท่าไร ไม่มีใครมากดดันการทำงานได้ แต่เห็นใจเจ้าพนักงานสอบสวนระดับล่างที่ไม่มีกำลังใจทำงาน เพราะถูกกดดันสารพัด โดยมีผู้ใหญ่เรียกไป แต่ขอยืนยันตามเดิมว่าคดีนี้จะคลี่คลายก่อนตนเกษียณอายุราชการวันที่ 30 กันยายน 2552 นี้แน่นอน
ผู้สื่อข่าวจึงไปสัมภาษณ์พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. แต่ก็ได้รับคำตอบเพียงว่าไม่รู้เรื่อง ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องนี้ว่ามีจริงหรือไม่
ก่อนหน้านี้คนก็เชื่อกันไปค่อนเมืองแล้วว่าคดีนี้เป็นฝีมือของทหาร!
ชั่วแต่ว่าจะเป็นทหารนอกแถวมารับจ็อบ หรือทหารในแถวทำตามสั่ง และใครเป็นผู้บงการสูงสุดด้วยเหตุผลใดเท่านั้น!!
รอง ผบ.ตร.ให้สัมภาษณ์อย่างนี้ ยิ่งตอกย้ำความเชื่อเดิม ก็..โอ้โห...คนที่จะกดดันเจ้าพนักงานสอบสวนผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้คงไม่ใช่นายหมูนายแมวกิ๊กก๊อกที่ไหน ไม่ตำรวจด้วยกันเอง ก็ต้องทหารเท่านั้น และตำรวจด้วยกันเองนั้นก็ต้องเป็นตำรวจที่ใหญ่กว่ารองฯ ธานี จริงไม่จริงไม่รู้ แต่ 11 ใน 10 คนต้องคิดต้องเชื่ออย่างนี้
คดีนี้ ผมชื่นชมการตัดสินใจของนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแต่แรก ที่ได้ใช้ฐานภาพที่แข็งแกร่งขึ้นของตนเองหลังรอดพ้นจากเหตุการณ์สงกรานต์เลือดมาสั่งการผบ.ตร. โดยไม่ได้ขอความเห็นไม่ว่าจะจาก ผบ.ตร.หรือรัฐมนตรีคนใด
ขอให้ผู้รับชอบการสืบสวนสอบสวนเป็นรองฯ ธานี สมบูรณ์ทรัพย์!
รองฯ ธานีเป็นคนประเภท “ไม้บรรทัดเรียกพี่” วัดโดยมาตรฐานของสังคมไทยทั่วๆ ไปก็ถือเป็นมนุษย์ประหลาดคนหนึ่ง เป็นแกะดำในหมู่แกะขาว (หรือแกะขาวในหมู่แกะดำ!?) ตำรวจมาตรฐานทั่วๆ ไปของบ้านนี้เมืองนี้ไม่รัก แต่ไม่มีใครกล้ายุ่ง เพราะท่านเป็นของท่านอย่างนี้มานานแล้ว
แต่ผมจะชื่นชมนายกฯ อภิสิทธิ์ได้ตลอดรอดฝั่งก็ต่อเมื่อผลเบื้องต้นของคดีปรากฏออกมา โดยท่านรับลูกต่อจากรองฯ ธานีได้อย่างสมเหตุสมผลและสง่างาม
สมมติว่ารองฯ ธานีขอศาลออก “หมายจับ” ผู้ต้องหาจำนวนหนึ่งภายใน 30 วันข้างหน้า!
ถ้าเป็นทหารนอกแถวแม้จะมีประเด็น แต่ก็ไม่เท่าไร
แต่ถ้าเป็นทหารในแถวล่ะ?
แต่ถ้าเป็นทหารในแถวสังกัดหน่วยงานที่มีเกียรติยศมีศักดิ์ศรี และไม่ใช่จะออกมานอกหน่วยง่ายๆ ล่ะ??
นอกจากจะเป็นเหตุสะท้านฟ้าสะเทือนดินแล้ว ยังจะเป็นบทพิสูจน์ “ความเป็นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อีกต่างหาก เก่งน่ะรู้ว่าเก่ง ซื่อสัตย์ก็ยังโอเคอยู่ มีปัญหาอยู่ประการเดียว
ความกล้าหาญ!
ช่วงสงกรานต์เลือดพิสูจน์มาได้ระดับหนึ่ง ว่ายามวิกฤตสุดๆ กุมสติได้มั่นและสั่งการได้เกินอายุ แต่นั่นก็บนเงื่อนไขที่มีทหารยืนเป็นแบ็กอัพให้อย่างเข้มแข็ง
แต่ครั้งนี้การณ์อาจจะต่างไป!
เรื่องที่นายกฯ อภิสิทธิ์ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์นายกรัฐมนตรีด้วยวิถีทางรัฐสภานั้นไม่มีปัญหา แต่ไม่อาจปฏิเสธ 2 ปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยที่หนึ่งแน่นอนว่าคือการเปลี่ยนใจตัดสินใจใหม่ของคุณเนวิน ชิดชอบ ส่วนปัจจัยที่สองคือมีความเห็นแก่ประโยชน์บ้านเมืองของนายทหารใหญ่ที่คุมกองทัพในปัจจุบันเข้ามาเป็นตัวเสริมด้วย เสริมในระดับที่ก่อนพรรคร่วมรัฐบาลจะเดินทางไปแถลงการณ์ตัดสินใจต่อสื่อที่โรงแรมสุโขทัยก็ให้มีอันเป็นไปขับรถหลงเข้าไปในบ้านพักกรม ร. 1 รอ. ก่อนจะขับตามๆ กันออกมา อันที่จริงทั้ง 2 ปัจจัยมีส่วนเอื้อต่อกันเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ชื่นชมซึ่งกันและกันในระดับหนึ่งระหว่างคุณเนวินฯ กับผู้นำกองทัพบางคน
แม้เราจะดีใจที่นายกฯ อภิสิทธิ์ถึงฝั่งฝันในวันที่บ้านเมืองวิกฤต แต่เราไม่อาจปฏิเสธว่านี่คือ...
“การเมืองที่ล้มเหลว”
ประโยคนี้เป็นภาษาของนายกฯ อภิสิทธิ์เองในสปีชแรกหลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ท่านบอกว่าภารกิจสำคัญของท่านคือปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และยุติการเมืองที่ล้มเหลว ผมเองก็ปลื้มจนน้ำตาคลอเหมือนผู้อ่านทั้งหลายนั้นแหละ แม้จะยอมรับว่าไม่ง่าย เพราะในเมื่อท่านขึ้นมาด้วยการเมืองที่ล้มเหลวเสียแล้ว จะยุติการเมืองที่ล้มเหลวได้อย่างไร
ก่อนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ นายกฯ อภิสิทธิ์ทำเป็น “มองไม่เห็น” กับการที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกฯ ในรัฐบาลเก่าทำหน้าที่รักษาการนายกฯ เซ็นหนังสือส่งตัวพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณคืนสู่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากที่ถูกคำสั่งให้มาช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านั้นในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ไม่กี่วันต่อมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ชายของพล.ต.อ.พัชรวาท และนายเก่าของ ผบ.ตร. ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ยกประโยชน์ให้นายกฯ ที่เรารักไปก่อนก็ได้ว่านี่เป็นเหตุบังเอิญอย่างร้ายกาจเท่านั้น ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน หรือมีความจำเป็นต่อบ้านต่อเมืองที่เราจะต้องเชื่อเช่นนี้
แต่จะยกประโยชน์ให้ตลอดไปหาได้ไม่?
นายกฯ อภิสิทธิ์คงต้องใช้ความกล้าหาญในการตัดสินใจหลายประการ เพราะช่วงเวลานี้มันก็ใกล้กำหนดโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการทหารตำรวจประจำปีแล้ว และคณะรัฐมนตรีก็ทำงานมาพอสมควรแก่การปรับแล้วถ้าจะปรับ หรือเกิด ป.ป.ช.ชุดใหญ่ชี้มูลความผิดคดี 7 ตุลาคม 2551 ภายในเดือนหน้าเดือนโน้นก่อน 30 กันยายน 2552 ก็มีประเด็นเพิ่มขึ้นมาอีก
ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับสมมติฐาน “ถ้า” ที่เขียนไว้ข้างต้น ขอคัดลอกมาเน้นอีกครั้ง
สมมติว่ารองฯ ธานีขอศาลออก “หมายจับ” ผู้ต้องหาจำนวนหนึ่งภายใน 30 วันข้างหน้า !
ถ้าเป็น “ทหารนอกแถว” แม้จะมีประเด็น แต่ก็ไม่เท่าไร
แต่ถ้าเป็น “ทหารในแถว” ล่ะ?
แต่ถ้าเป็นทหารในแถว “สังกัดหน่วยงานที่มีเกียรติยศมีศักดิ์ศรีและไม่ใช่จะออกมานอกหน่วยง่ายๆ” ล่ะ??
แต่ทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
ขั้นแรกในเงื่อนเวลาที่สั้นกว่านี้ผมต้อง “ขอ” นายกฯ อภิสิทธิ์ก่อนเป็นปฐม
ช่วยดูแลให้รองฯ ธานีเป็นผู้รับผิดชอบคดีสำคัญนี้ตลอดรอดฝั่งไปจนท่านเกษียณอายุราชการ 30 กันยายน 2552 ด้วยเถิด!
แต่การเมืองที่ “มองไม่เห็น” ร้อนแรงกว่า!
วันก่อน พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดในการสืบสวนสอบสวนคดีรุมสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุลเมื่อเช้าวันที่ 17 เมษายน 2552 ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในทำนองว่าคดีนี้ชนตอ เป็นตอใหญ่เสียด้วย ลำพังตนเองนั้นไม่เท่าไร ไม่มีใครมากดดันการทำงานได้ แต่เห็นใจเจ้าพนักงานสอบสวนระดับล่างที่ไม่มีกำลังใจทำงาน เพราะถูกกดดันสารพัด โดยมีผู้ใหญ่เรียกไป แต่ขอยืนยันตามเดิมว่าคดีนี้จะคลี่คลายก่อนตนเกษียณอายุราชการวันที่ 30 กันยายน 2552 นี้แน่นอน
ผู้สื่อข่าวจึงไปสัมภาษณ์พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. แต่ก็ได้รับคำตอบเพียงว่าไม่รู้เรื่อง ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องนี้ว่ามีจริงหรือไม่
ก่อนหน้านี้คนก็เชื่อกันไปค่อนเมืองแล้วว่าคดีนี้เป็นฝีมือของทหาร!
ชั่วแต่ว่าจะเป็นทหารนอกแถวมารับจ็อบ หรือทหารในแถวทำตามสั่ง และใครเป็นผู้บงการสูงสุดด้วยเหตุผลใดเท่านั้น!!
รอง ผบ.ตร.ให้สัมภาษณ์อย่างนี้ ยิ่งตอกย้ำความเชื่อเดิม ก็..โอ้โห...คนที่จะกดดันเจ้าพนักงานสอบสวนผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้คงไม่ใช่นายหมูนายแมวกิ๊กก๊อกที่ไหน ไม่ตำรวจด้วยกันเอง ก็ต้องทหารเท่านั้น และตำรวจด้วยกันเองนั้นก็ต้องเป็นตำรวจที่ใหญ่กว่ารองฯ ธานี จริงไม่จริงไม่รู้ แต่ 11 ใน 10 คนต้องคิดต้องเชื่ออย่างนี้
คดีนี้ ผมชื่นชมการตัดสินใจของนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแต่แรก ที่ได้ใช้ฐานภาพที่แข็งแกร่งขึ้นของตนเองหลังรอดพ้นจากเหตุการณ์สงกรานต์เลือดมาสั่งการผบ.ตร. โดยไม่ได้ขอความเห็นไม่ว่าจะจาก ผบ.ตร.หรือรัฐมนตรีคนใด
ขอให้ผู้รับชอบการสืบสวนสอบสวนเป็นรองฯ ธานี สมบูรณ์ทรัพย์!
รองฯ ธานีเป็นคนประเภท “ไม้บรรทัดเรียกพี่” วัดโดยมาตรฐานของสังคมไทยทั่วๆ ไปก็ถือเป็นมนุษย์ประหลาดคนหนึ่ง เป็นแกะดำในหมู่แกะขาว (หรือแกะขาวในหมู่แกะดำ!?) ตำรวจมาตรฐานทั่วๆ ไปของบ้านนี้เมืองนี้ไม่รัก แต่ไม่มีใครกล้ายุ่ง เพราะท่านเป็นของท่านอย่างนี้มานานแล้ว
แต่ผมจะชื่นชมนายกฯ อภิสิทธิ์ได้ตลอดรอดฝั่งก็ต่อเมื่อผลเบื้องต้นของคดีปรากฏออกมา โดยท่านรับลูกต่อจากรองฯ ธานีได้อย่างสมเหตุสมผลและสง่างาม
สมมติว่ารองฯ ธานีขอศาลออก “หมายจับ” ผู้ต้องหาจำนวนหนึ่งภายใน 30 วันข้างหน้า!
ถ้าเป็นทหารนอกแถวแม้จะมีประเด็น แต่ก็ไม่เท่าไร
แต่ถ้าเป็นทหารในแถวล่ะ?
แต่ถ้าเป็นทหารในแถวสังกัดหน่วยงานที่มีเกียรติยศมีศักดิ์ศรี และไม่ใช่จะออกมานอกหน่วยง่ายๆ ล่ะ??
นอกจากจะเป็นเหตุสะท้านฟ้าสะเทือนดินแล้ว ยังจะเป็นบทพิสูจน์ “ความเป็นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อีกต่างหาก เก่งน่ะรู้ว่าเก่ง ซื่อสัตย์ก็ยังโอเคอยู่ มีปัญหาอยู่ประการเดียว
ความกล้าหาญ!
ช่วงสงกรานต์เลือดพิสูจน์มาได้ระดับหนึ่ง ว่ายามวิกฤตสุดๆ กุมสติได้มั่นและสั่งการได้เกินอายุ แต่นั่นก็บนเงื่อนไขที่มีทหารยืนเป็นแบ็กอัพให้อย่างเข้มแข็ง
แต่ครั้งนี้การณ์อาจจะต่างไป!
เรื่องที่นายกฯ อภิสิทธิ์ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์นายกรัฐมนตรีด้วยวิถีทางรัฐสภานั้นไม่มีปัญหา แต่ไม่อาจปฏิเสธ 2 ปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ปัจจัยที่หนึ่งแน่นอนว่าคือการเปลี่ยนใจตัดสินใจใหม่ของคุณเนวิน ชิดชอบ ส่วนปัจจัยที่สองคือมีความเห็นแก่ประโยชน์บ้านเมืองของนายทหารใหญ่ที่คุมกองทัพในปัจจุบันเข้ามาเป็นตัวเสริมด้วย เสริมในระดับที่ก่อนพรรคร่วมรัฐบาลจะเดินทางไปแถลงการณ์ตัดสินใจต่อสื่อที่โรงแรมสุโขทัยก็ให้มีอันเป็นไปขับรถหลงเข้าไปในบ้านพักกรม ร. 1 รอ. ก่อนจะขับตามๆ กันออกมา อันที่จริงทั้ง 2 ปัจจัยมีส่วนเอื้อต่อกันเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ชื่นชมซึ่งกันและกันในระดับหนึ่งระหว่างคุณเนวินฯ กับผู้นำกองทัพบางคน
แม้เราจะดีใจที่นายกฯ อภิสิทธิ์ถึงฝั่งฝันในวันที่บ้านเมืองวิกฤต แต่เราไม่อาจปฏิเสธว่านี่คือ...
“การเมืองที่ล้มเหลว”
ประโยคนี้เป็นภาษาของนายกฯ อภิสิทธิ์เองในสปีชแรกหลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ท่านบอกว่าภารกิจสำคัญของท่านคือปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และยุติการเมืองที่ล้มเหลว ผมเองก็ปลื้มจนน้ำตาคลอเหมือนผู้อ่านทั้งหลายนั้นแหละ แม้จะยอมรับว่าไม่ง่าย เพราะในเมื่อท่านขึ้นมาด้วยการเมืองที่ล้มเหลวเสียแล้ว จะยุติการเมืองที่ล้มเหลวได้อย่างไร
ก่อนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ นายกฯ อภิสิทธิ์ทำเป็น “มองไม่เห็น” กับการที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกฯ ในรัฐบาลเก่าทำหน้าที่รักษาการนายกฯ เซ็นหนังสือส่งตัวพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณคืนสู่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากที่ถูกคำสั่งให้มาช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านั้นในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ไม่กี่วันต่อมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ชายของพล.ต.อ.พัชรวาท และนายเก่าของ ผบ.ตร. ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ยกประโยชน์ให้นายกฯ ที่เรารักไปก่อนก็ได้ว่านี่เป็นเหตุบังเอิญอย่างร้ายกาจเท่านั้น ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน หรือมีความจำเป็นต่อบ้านต่อเมืองที่เราจะต้องเชื่อเช่นนี้
แต่จะยกประโยชน์ให้ตลอดไปหาได้ไม่?
นายกฯ อภิสิทธิ์คงต้องใช้ความกล้าหาญในการตัดสินใจหลายประการ เพราะช่วงเวลานี้มันก็ใกล้กำหนดโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการทหารตำรวจประจำปีแล้ว และคณะรัฐมนตรีก็ทำงานมาพอสมควรแก่การปรับแล้วถ้าจะปรับ หรือเกิด ป.ป.ช.ชุดใหญ่ชี้มูลความผิดคดี 7 ตุลาคม 2551 ภายในเดือนหน้าเดือนโน้นก่อน 30 กันยายน 2552 ก็มีประเด็นเพิ่มขึ้นมาอีก
ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับสมมติฐาน “ถ้า” ที่เขียนไว้ข้างต้น ขอคัดลอกมาเน้นอีกครั้ง
สมมติว่ารองฯ ธานีขอศาลออก “หมายจับ” ผู้ต้องหาจำนวนหนึ่งภายใน 30 วันข้างหน้า !
ถ้าเป็น “ทหารนอกแถว” แม้จะมีประเด็น แต่ก็ไม่เท่าไร
แต่ถ้าเป็น “ทหารในแถว” ล่ะ?
แต่ถ้าเป็นทหารในแถว “สังกัดหน่วยงานที่มีเกียรติยศมีศักดิ์ศรีและไม่ใช่จะออกมานอกหน่วยง่ายๆ” ล่ะ??
แต่ทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
ขั้นแรกในเงื่อนเวลาที่สั้นกว่านี้ผมต้อง “ขอ” นายกฯ อภิสิทธิ์ก่อนเป็นปฐม
ช่วยดูแลให้รองฯ ธานีเป็นผู้รับผิดชอบคดีสำคัญนี้ตลอดรอดฝั่งไปจนท่านเกษียณอายุราชการ 30 กันยายน 2552 ด้วยเถิด!