กรมบัญชีกลางออกกฎสั่งรพ.รัฐทั่วประเทศ ห้ามเบิกจ่ายยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักมีผล 1 ก.ค.นี้ หลังพบค่ารักษาพยาบาลข้าราชการพุ่งกระฉูด เครือข่ายสมุนไพรฯ ค้านเกาไม่ถูกที่คัน จ้องทำหมันยาสมุนไพร ข้องใจทำไมไม่ห้ามจ่ายยานอก ทั้งๆ ที่ ยอดยาแพงปีละ 7.5 หมื่นล้าน ส่วนสมุนไพรใช้แค่ 2 พันล้าน ขู่ฟ้องศาลปกครองแน่ พร้อมจี้สธ.ทำหนังสือถึงก.คลังชะลอการบังคับใช้
วานนี้(26 มิ.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ผู้จัดการมูลนิธิสุขภาพไทย พร้อมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ชมรมเภสัชชนบท มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มศึกษาปัญหายา มูลนิธิสายใยแผ่นดิน สถาบันสุขภาพวิถีไทย มูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และสมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านแนวทางการปฏิบัติที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังห้ามไม่ให้ข้าราชการเบิกจ่ายการนวดบำบัดและยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้ออกแนวทางการปฏิบัติและซักซ้อมความเข้าใจในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลงนามโดยนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยส่งเป็นหนังสือเวียนถึงหน่วยงานราชการ ระบุว่า การเบิกจ่ายค่ายาสมุนไพรที่อยู่นอกรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรจำพวกยานวดเพื่อบรรเทาอาการหรือผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น สบู่สมุนไพร แชมพูสมุนไพร ชาชงสมุนไพร และยาสมุนไพรถือว่าเป็นการผิดระเบียบตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงห้ามเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าวและห้ามสภานพยาบาลออกหนังสือรับรองกรณีใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้เป็นต้นไป
“แนวทางดังกล่าวเป็นการเอื้อต่อยาแผนปัจจุบันที่หากแพทย์เซ็นรับรองการสามารถเบิกจ่ายยาได้ แต่ทำไมยาสมุนไพรแม้แพทย์เซ็นรับรองก็เบิกจ่ายไม่ได้ แบบนี้เท่ากับมีเงื่อนงำหรืออคติกับยาสมุนไพร และดูถูกภูมิปัญญาไทย ทำไมไม่กล้าแตะยาแผนปัจจุบันนอกบัญชียาหลัก คำสั่งนี้จึงไม่เท่าเทียม ไม่เสมอภาค”นายวีรพงษ์กล่าว
นายวีรพงษ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ในฐานะกำกับดูแลกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ควรทำหนังสือไปยังกระทรวงการคลังเพื่อทัดทานหรือขอให้ชะลอการบังคับใช้แนวทางปฏิบัติออกไป รวมทั้งเครือข่ายฯจะส่งข้อมูลเหล่านี้ให้กับนายกรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้เครือข่ายฯกำลังหารือร่วมกันว่าจะฟ้องกรมบัญชีกลางต่อศาลปกครองหรือไม่ เพราะถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียม
ด้านดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวทางของกระทรวงการคลังเกาไม่ถูกที่คันเพราะจากข้อมูลมูลค่าการใช้ยาของระบบสวัสดิการข้าราชการในปี 25749 พบว่า ยาแผนปัจจุบันมีมูลค่าการใช้ 7.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยาสมุนไพรมีเพียง 2 พันล้านบาทเท่านั้น ยาที่เป็นต้นเหตุให้ค่ารักษาพยาบาลเกินจึงเป็นยาแผนปัจจุบันที่นำเข้าจากต่างประเทศ กระทรวงการคลังควรไปจัดการและแก้ไขที่จุดนั้น ไม่ใช่มาลงโทษที่ยาสมุนไพร
ทั้งนี้ ทางเครือข่ายฯได้ออกแถลงการณ์คัดค้านข้อบังคับดังกล่าว พร้อมกับมีข้อเสนอแนะ 4 ข้อ คือ 1.ในระหว่างที่ยังไม่มีเภสัชตำรับโรงพยาบาลด้านยาจากสมุนไพร ซึ่งเป็นตำรับยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่โรงพยาบาลสามารถจ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ต้องยกเลิกหรือเลื่อนการใช้แนวทางปฏิบัตินี้ออกไป
2. ให้มีการประกาศใช้ข้อกำหนดกับยาแผนปัจจุบันและยาจากสมุนไพร โดยใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและเภสัชตำรับโรงพยาบาลของยาทั้ง 2 แผนอย่างเท่าเทียมกัน
3. นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาจากสมุนไพร ไปจัดทำเภสัชตำรับโรงพยาบาลด้านยาจากสมุนไพรให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะปัจจุบันเภสัชตำรายาโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นยาแผนปัจจุบันไม่มียาจากสมุนไพร
และ4.เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กำกับดูแล การบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้บริหารเชิงรุกที่ส่งเสริมและพัฒนาระบบการแพทย์แผนไทย ไม่ใช่เจตนาทำลายภูมิปัญญาไทย
วานนี้(26 มิ.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ผู้จัดการมูลนิธิสุขภาพไทย พร้อมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ชมรมเภสัชชนบท มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มศึกษาปัญหายา มูลนิธิสายใยแผ่นดิน สถาบันสุขภาพวิถีไทย มูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และสมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านแนวทางการปฏิบัติที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังห้ามไม่ให้ข้าราชการเบิกจ่ายการนวดบำบัดและยาสมุนไพรนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้ออกแนวทางการปฏิบัติและซักซ้อมความเข้าใจในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลงนามโดยนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รองปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยส่งเป็นหนังสือเวียนถึงหน่วยงานราชการ ระบุว่า การเบิกจ่ายค่ายาสมุนไพรที่อยู่นอกรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรจำพวกยานวดเพื่อบรรเทาอาการหรือผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น สบู่สมุนไพร แชมพูสมุนไพร ชาชงสมุนไพร และยาสมุนไพรถือว่าเป็นการผิดระเบียบตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงห้ามเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าวและห้ามสภานพยาบาลออกหนังสือรับรองกรณีใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้เป็นต้นไป
“แนวทางดังกล่าวเป็นการเอื้อต่อยาแผนปัจจุบันที่หากแพทย์เซ็นรับรองการสามารถเบิกจ่ายยาได้ แต่ทำไมยาสมุนไพรแม้แพทย์เซ็นรับรองก็เบิกจ่ายไม่ได้ แบบนี้เท่ากับมีเงื่อนงำหรืออคติกับยาสมุนไพร และดูถูกภูมิปัญญาไทย ทำไมไม่กล้าแตะยาแผนปัจจุบันนอกบัญชียาหลัก คำสั่งนี้จึงไม่เท่าเทียม ไม่เสมอภาค”นายวีรพงษ์กล่าว
นายวีรพงษ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ในฐานะกำกับดูแลกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นผู้สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ควรทำหนังสือไปยังกระทรวงการคลังเพื่อทัดทานหรือขอให้ชะลอการบังคับใช้แนวทางปฏิบัติออกไป รวมทั้งเครือข่ายฯจะส่งข้อมูลเหล่านี้ให้กับนายกรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้เครือข่ายฯกำลังหารือร่วมกันว่าจะฟ้องกรมบัญชีกลางต่อศาลปกครองหรือไม่ เพราะถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียม
ด้านดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวทางของกระทรวงการคลังเกาไม่ถูกที่คันเพราะจากข้อมูลมูลค่าการใช้ยาของระบบสวัสดิการข้าราชการในปี 25749 พบว่า ยาแผนปัจจุบันมีมูลค่าการใช้ 7.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยาสมุนไพรมีเพียง 2 พันล้านบาทเท่านั้น ยาที่เป็นต้นเหตุให้ค่ารักษาพยาบาลเกินจึงเป็นยาแผนปัจจุบันที่นำเข้าจากต่างประเทศ กระทรวงการคลังควรไปจัดการและแก้ไขที่จุดนั้น ไม่ใช่มาลงโทษที่ยาสมุนไพร
ทั้งนี้ ทางเครือข่ายฯได้ออกแถลงการณ์คัดค้านข้อบังคับดังกล่าว พร้อมกับมีข้อเสนอแนะ 4 ข้อ คือ 1.ในระหว่างที่ยังไม่มีเภสัชตำรับโรงพยาบาลด้านยาจากสมุนไพร ซึ่งเป็นตำรับยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่โรงพยาบาลสามารถจ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ต้องยกเลิกหรือเลื่อนการใช้แนวทางปฏิบัตินี้ออกไป
2. ให้มีการประกาศใช้ข้อกำหนดกับยาแผนปัจจุบันและยาจากสมุนไพร โดยใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและเภสัชตำรับโรงพยาบาลของยาทั้ง 2 แผนอย่างเท่าเทียมกัน
3. นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาจากสมุนไพร ไปจัดทำเภสัชตำรับโรงพยาบาลด้านยาจากสมุนไพรให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะปัจจุบันเภสัชตำรายาโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นยาแผนปัจจุบันไม่มียาจากสมุนไพร
และ4.เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กำกับดูแล การบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้บริหารเชิงรุกที่ส่งเสริมและพัฒนาระบบการแพทย์แผนไทย ไม่ใช่เจตนาทำลายภูมิปัญญาไทย