ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.ยึดฐานเงินเดือนไม่เกิน1.5หมื่น เหมือนเช็คช่วยชาติจ่าย ค่าคองชีพ 2 รัฐวิสาหกิจ โยน"บุญจง-ถาวร" เจรจากรอบกับแกนนำสหภาพฯ "มาร์ค"หวั่นรัฐวิสาหกิจอื่นวิ่งโร่มาขอบ้าง หลุดปาก"มีมาจ่อแล้ว"
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอให้ครม.พิจาณาความเห็นชอบจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการประปานครหลวง (กปน.) ทุกคนในอัตรา 2 พันบาทต่อเดือน ตามมติของครม.วันที่14 ต.ค.51 ซึ่งที่ประชุมครม.เสนอแนวทางจ่ายค่าครองชีพ 2,000 บาท ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน แทนมติครม.เดิม
โดยมอบหมายให้นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ และนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งไปหารือกับรัฐวิสาหกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอขอกระทรวงมหาดไทยให้ความเห็นชอบจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งนั้น เป็นไปตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ 8/2551 วันที่ 6 ต.ค.51 และมติครม.วันที่14 ต.ค.51 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.52 เป็นต้นไป โดยการจ่ายเงินในลักษณะดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้าง มีลักษณะเป็นการจ่ายค่าครองชีพชั่วคราว และไม่เป็นฐานในการคำนวนถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่ลูกจ้าง
แหล่งข่าวในครม.เปิดเผยว่า ในการพิจารณาวาระดังกล่าว ที่ประชุมที่ได้มีการถกเถียงกันมาก โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เห็นว่าตามที่ได้มีการเสนอมานั้น เกรงว่ารัฐวิสาหกิจอื่นจะใช้มาตรฐานอย่างนี้บ้าง ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรัตน์ รมช.มหาดไทย เห็นว่า ตรงนี้รัฐบาลไม่ต้องรับภาระโดยครม.ต้องออกมติ ครม.ให้ชัดว่า ประชาชนไม่ต้องแบกรับภาระ ซึ่งนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ระบุว่า"เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนายบุญจง" ขณะที่นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน เห็นว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน
โดยในช่วงแรกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้อยากให้กำหนดเพดานกรณีเดียวกับเช็คช่วยชาติ โดยจำกัดรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท เงิน 2,000 บาทไม่ควรได้ทุกคน ควรให้เฉพาะคนที่เดือดร้อน และเรื่องนี้ต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจน
"คิดเผื่อไว้รัฐวิสาหกิจอื่นด้วย เพราะเวลานี้มีวิสาหกิจที่มาจ่อที่ผมแล้ว" เพื่อเป็นเกณฑ์ให้กับทุกรัฐวิสาหกิจ
จากนั้นนายไพฑูรย์ กล่าวว่า หลักเกณฑ์นี้ต้องนำไปใช้กับรัฐวิสาหกิจอื่นด้วย เพราะเชื่อว่า เขาต้องอ้างว่า เขามีกำไร ขณะที่นายกรณ์ กล่าวว่า เกรงว่าเรื่องนี้อาจลามไปถึงข้าราชการด้วย สุดท้าน นายกฯได้สรุปว่า "เรื่องนี้ต้องเจรจากรอบเวลาที่จะได้เงินภายใน 6 เดือน รวมถึงเพดานของรายได้คือเงิน 2,000 บาทนี้ เมื่อรวมกับเงินเดือนต้องไม่เกิน 15,000 บาท เฉพาะกับ 2 รัฐวิสาหกิจนี้ และนำกลับเข้าสู่การพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง"
ทั้งนี้รัฐวิสาหกิจมีอยู่ทั้งหมด 55 แห่ง มีพนักงานกว่า 6 หมื่นคน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอให้ครม.พิจาณาความเห็นชอบจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการประปานครหลวง (กปน.) ทุกคนในอัตรา 2 พันบาทต่อเดือน ตามมติของครม.วันที่14 ต.ค.51 ซึ่งที่ประชุมครม.เสนอแนวทางจ่ายค่าครองชีพ 2,000 บาท ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน แทนมติครม.เดิม
โดยมอบหมายให้นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ และนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งไปหารือกับรัฐวิสาหกิจดังกล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอขอกระทรวงมหาดไทยให้ความเห็นชอบจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งนั้น เป็นไปตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ 8/2551 วันที่ 6 ต.ค.51 และมติครม.วันที่14 ต.ค.51 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.52 เป็นต้นไป โดยการจ่ายเงินในลักษณะดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้าง มีลักษณะเป็นการจ่ายค่าครองชีพชั่วคราว และไม่เป็นฐานในการคำนวนถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่ลูกจ้าง
แหล่งข่าวในครม.เปิดเผยว่า ในการพิจารณาวาระดังกล่าว ที่ประชุมที่ได้มีการถกเถียงกันมาก โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เห็นว่าตามที่ได้มีการเสนอมานั้น เกรงว่ารัฐวิสาหกิจอื่นจะใช้มาตรฐานอย่างนี้บ้าง ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรัตน์ รมช.มหาดไทย เห็นว่า ตรงนี้รัฐบาลไม่ต้องรับภาระโดยครม.ต้องออกมติ ครม.ให้ชัดว่า ประชาชนไม่ต้องแบกรับภาระ ซึ่งนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ระบุว่า"เห็นด้วยกับความคิดเห็นของนายบุญจง" ขณะที่นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน เห็นว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน
โดยในช่วงแรกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้อยากให้กำหนดเพดานกรณีเดียวกับเช็คช่วยชาติ โดยจำกัดรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท เงิน 2,000 บาทไม่ควรได้ทุกคน ควรให้เฉพาะคนที่เดือดร้อน และเรื่องนี้ต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจน
"คิดเผื่อไว้รัฐวิสาหกิจอื่นด้วย เพราะเวลานี้มีวิสาหกิจที่มาจ่อที่ผมแล้ว" เพื่อเป็นเกณฑ์ให้กับทุกรัฐวิสาหกิจ
จากนั้นนายไพฑูรย์ กล่าวว่า หลักเกณฑ์นี้ต้องนำไปใช้กับรัฐวิสาหกิจอื่นด้วย เพราะเชื่อว่า เขาต้องอ้างว่า เขามีกำไร ขณะที่นายกรณ์ กล่าวว่า เกรงว่าเรื่องนี้อาจลามไปถึงข้าราชการด้วย สุดท้าน นายกฯได้สรุปว่า "เรื่องนี้ต้องเจรจากรอบเวลาที่จะได้เงินภายใน 6 เดือน รวมถึงเพดานของรายได้คือเงิน 2,000 บาทนี้ เมื่อรวมกับเงินเดือนต้องไม่เกิน 15,000 บาท เฉพาะกับ 2 รัฐวิสาหกิจนี้ และนำกลับเข้าสู่การพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง"
ทั้งนี้รัฐวิสาหกิจมีอยู่ทั้งหมด 55 แห่ง มีพนักงานกว่า 6 หมื่นคน