เอเอฟพี - นักทำนายเศรษฐกิจโลกชาวสหรัฐฯที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง ออกมาชี้ว่าเศรษฐกิจโลกจะต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตในอีกสองปีข้างหน้า ซึ่งจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจทรุดตัวในปัจจุบันนี้ ที่มีต้นตอจากวิกฤตในระบบการเงิน
แฮร์รี เอส เดนต์ เป็นผู้เขียนหนังสือที่เคยทำนายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในทศวรรษ 1990 และรวมทั้งการทรุดตัวของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันด้วย เขาออกมาบอกว่า การที่ใคร ๆคิดกันว่าเศรษฐกิจโลกนั้นพ้นจากช่วงเลวร้ายที่สุดนั้นไม่เป็นความจริง และ "หน่ออ่อน" ของการเติบโตที่คนส่วนใหญ่พูดถึงนั้น มาจากการใช้เม็ดเงินมหาศาลเข้าไปเร่ง มิได้เป็นการขยายตัวจากพื้นฐานของเศรษฐกิจ
เดนต์กล่าวอีกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเบอร์นั้นกำลังจะลดการใช้จ่ายลง ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ดิ่งวูบลงไป และทำให้การฟื้นตัวที่อ้างว่าเกิดขึ้นแล้วหดตัวทันที
"เรากำลังอยู่ตรงกลางของความคึกคักแห่งภาวะตลาดหมีต่างหาก" เดนต์กล่าว
เขาบอกว่าตลาดหุ้นคงจะพุ่งขึ้นไปอีกในช่วงสองสามเดือนข้างหน้า แต่ในที่สุดก็จะร่วงลงมาอีกในปลายปีนี้ เนื่องจากระบบธนาคารของโลกกำลังจะดิ่งลงสู่ความหายนะอีกครั้ง และครั้งนี้กว่าจะฟื้นตัวได้ก็ต้องถึงปี 2011 เสียก่อน
เดนต์กล่าวอีกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเบอร์ อันหมายถึงคนในโลกตะวันตกที่เกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านไปไม่นานนั้น จะใช้จ่ายน้อยลงเพราะว่าอายุมากขึ้น ซึ่งจะเข้าสู่เหตุการณ์เดียวกันกับญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1990
"คนเราจะใช้เงินมากที่สุดเมื่อราวอายุ 46 ปี ดังนั้นเราจึงกำลังพูดกันมาหลายสิบปีแล้ว เรากำลังจะได้เห็นการเติบโตรุ่งเรืองอย่างมากๆ ครั้งนี้ แล้วจากนั้นเมื่อถึงประมาณปลายทศวรรษนี้ พวกเบบี้บูมเบอร์ก็กำลังมาถึงช่วงที่ใช้จ่ายสูงที่สุด และเตรียมตัวเข้าสู่การเกษียณอายุ" เขาอธิบาย
"ลูกหลานของพวกเขาก็จะบินออกจากรวงรัง เศรษฐกิจก็จะดิ่งลงเหมือนที่เคยเกิดในญี่ปุนเมื่อทศวรรษ 1990"
"ญี่ปุ่นได้ผ่านช่วงฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์และการจับจ่ายใช้สอยสูงที่สุดในคนรุ่นนี้ ... (และเมื่อผ่านไปแล้วเศรษฐกิจก็ดิ่งลง) ราคาหุ้นตกมาหลายปี ตลาดบ้านร่วงไป 60% และแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ไม่สามารถพลิกฟื้นภาวะเศรษฐกิจขึ้นมาได้ นั่นคือสิ่งที่เรากำลังจะประสบ"
แฮร์รี เอส เดนต์ เป็นผู้เขียนหนังสือที่เคยทำนายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในทศวรรษ 1990 และรวมทั้งการทรุดตัวของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันด้วย เขาออกมาบอกว่า การที่ใคร ๆคิดกันว่าเศรษฐกิจโลกนั้นพ้นจากช่วงเลวร้ายที่สุดนั้นไม่เป็นความจริง และ "หน่ออ่อน" ของการเติบโตที่คนส่วนใหญ่พูดถึงนั้น มาจากการใช้เม็ดเงินมหาศาลเข้าไปเร่ง มิได้เป็นการขยายตัวจากพื้นฐานของเศรษฐกิจ
เดนต์กล่าวอีกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเบอร์นั้นกำลังจะลดการใช้จ่ายลง ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ดิ่งวูบลงไป และทำให้การฟื้นตัวที่อ้างว่าเกิดขึ้นแล้วหดตัวทันที
"เรากำลังอยู่ตรงกลางของความคึกคักแห่งภาวะตลาดหมีต่างหาก" เดนต์กล่าว
เขาบอกว่าตลาดหุ้นคงจะพุ่งขึ้นไปอีกในช่วงสองสามเดือนข้างหน้า แต่ในที่สุดก็จะร่วงลงมาอีกในปลายปีนี้ เนื่องจากระบบธนาคารของโลกกำลังจะดิ่งลงสู่ความหายนะอีกครั้ง และครั้งนี้กว่าจะฟื้นตัวได้ก็ต้องถึงปี 2011 เสียก่อน
เดนต์กล่าวอีกว่าคนรุ่นเบบี้บูมเบอร์ อันหมายถึงคนในโลกตะวันตกที่เกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านไปไม่นานนั้น จะใช้จ่ายน้อยลงเพราะว่าอายุมากขึ้น ซึ่งจะเข้าสู่เหตุการณ์เดียวกันกับญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1990
"คนเราจะใช้เงินมากที่สุดเมื่อราวอายุ 46 ปี ดังนั้นเราจึงกำลังพูดกันมาหลายสิบปีแล้ว เรากำลังจะได้เห็นการเติบโตรุ่งเรืองอย่างมากๆ ครั้งนี้ แล้วจากนั้นเมื่อถึงประมาณปลายทศวรรษนี้ พวกเบบี้บูมเบอร์ก็กำลังมาถึงช่วงที่ใช้จ่ายสูงที่สุด และเตรียมตัวเข้าสู่การเกษียณอายุ" เขาอธิบาย
"ลูกหลานของพวกเขาก็จะบินออกจากรวงรัง เศรษฐกิจก็จะดิ่งลงเหมือนที่เคยเกิดในญี่ปุนเมื่อทศวรรษ 1990"
"ญี่ปุ่นได้ผ่านช่วงฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์และการจับจ่ายใช้สอยสูงที่สุดในคนรุ่นนี้ ... (และเมื่อผ่านไปแล้วเศรษฐกิจก็ดิ่งลง) ราคาหุ้นตกมาหลายปี ตลาดบ้านร่วงไป 60% และแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ไม่สามารถพลิกฟื้นภาวะเศรษฐกิจขึ้นมาได้ นั่นคือสิ่งที่เรากำลังจะประสบ"