(ต่อเนื่องจากฉบับวันที่ 16 มิ.ย.) กรณีที่ 3ถ้าเปรียบเทียบผลประกอบการของกลุ่มที่มีผู้ถือหุ้นบุคคลรายใหญ่แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ได้บริหารรวม 4 บริษัทกับกลุ่มที่มีผู้ถือหุ้นรายบุคคลใหญ่และบริหารเองด้วย 11 บริษัท
จะเห็นว่ากลุ่มที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่บริหารเองจะมีผลประกอบการที่ดีกว่า ในสัดส่วน 4.5:1 และ 4.6 :1
เหตุผลที่จะอธิบายได้ง่าย ๆ ก็คือ : ถ้ามีผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทใด ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนั้น ๆ ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าคนอื่น ๆ จะเป็นเจ้าภาพคอยดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทแทนคนอื่น ๆ ไปด้วย และถ้ายิ่งผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้บริหารหลักด้วย ก็ยิ่งสร้างผลตอบแทนให้ดีขึ้นไปอีก เพราะมีเวลาดูแลงานใกล้ชิดมากขึ้น การตัดสินใจลงทุนที่มีความเสี่ยงก็จะระมัดระวังมากขึ้น เพราะตนเองมีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าคนอื่น ๆ นั่นเอง
ถ้ากรณีที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ เลย ถือว่าไม่ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้น ๆ ส่วนกรณีบริษัทที่ผู้บริหารหลักถือหุ้นในบริษัทนั้น 100 % ถือว่ามีผลประโยชน์สอดคล้องเกี่ยวข้องเต็มที่ ย่อมหมายถึงว่า ถ้ามีผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นเป็นสัดส่วนร้อยละมากขึ้นเท่าไร ย่อมมีผลประโยชน์สอดคล้องกันมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้น การที่บริษัทจดทะเบียนมีผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้บริหารหลัก แทนที่จะเป็นผลประโยชน์ขัดแย้ง กลับจะเป็นผลประโยชน์สอดคล้องไปในทางเดียวกันมากกว่า จึงไม่ได้ขัดกับหลักธรรมาภิบาลแต่อย่างใด
อนึ่ง บริษัทใดจะบอกว่ามี“ ธรรมาภิบาล ” ที่ดีจะต้องแสดงออกมาได้ในผลประกอบการด้วย ถ้าพูดแต่ว่ามีหลักการบริหารและธรรมาภิบาลที่ดี แต่บริษัทกลับทำกำไรได้น้อยกว่าบริษัทอื่น ๆ หรือขาดทุน ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะนโยบายผิดพลาด ผู้บริหารหย่อนความสามารถ หรือขาดความเอาใจใส่ ก็อาจจะเป็นเพราะธรรมาภิบาลที่คิดว่าดีนั้นกลับมีปัญหา จึงทำให้ผลประโยชน์ของบริษัทพร่องไปจากที่ควร
อีกนัยหนึ่ง บริษัทจดทะเบียนที่มีผลประกอบการที่ดีมากจัดอยู่ในชั้นแนวหน้า ย่อมจะต้องมีส่วนประกอบของธรรมาภิบาลที่ดีรวมอยู่ด้วย
ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร
บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
กำไรสุทธิ/ยอดรายรับ | กำไรสุทธิ/ส่วนของผู้ถือหุ้น | |
- กลุ่มบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่และบริหารเอง | 12.5 % | 11.5 % |
- กลุ่มบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่ไม่ได้บริหาร | 2.8 % | 2.5 % |
จะเห็นว่ากลุ่มที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่บริหารเองจะมีผลประกอบการที่ดีกว่า ในสัดส่วน 4.5:1 และ 4.6 :1
เหตุผลที่จะอธิบายได้ง่าย ๆ ก็คือ : ถ้ามีผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทใด ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนั้น ๆ ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าคนอื่น ๆ จะเป็นเจ้าภาพคอยดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทแทนคนอื่น ๆ ไปด้วย และถ้ายิ่งผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้บริหารหลักด้วย ก็ยิ่งสร้างผลตอบแทนให้ดีขึ้นไปอีก เพราะมีเวลาดูแลงานใกล้ชิดมากขึ้น การตัดสินใจลงทุนที่มีความเสี่ยงก็จะระมัดระวังมากขึ้น เพราะตนเองมีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าคนอื่น ๆ นั่นเอง
ถ้ากรณีที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ เลย ถือว่าไม่ได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้น ๆ ส่วนกรณีบริษัทที่ผู้บริหารหลักถือหุ้นในบริษัทนั้น 100 % ถือว่ามีผลประโยชน์สอดคล้องเกี่ยวข้องเต็มที่ ย่อมหมายถึงว่า ถ้ามีผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นเป็นสัดส่วนร้อยละมากขึ้นเท่าไร ย่อมมีผลประโยชน์สอดคล้องกันมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้น การที่บริษัทจดทะเบียนมีผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นผู้บริหารหลัก แทนที่จะเป็นผลประโยชน์ขัดแย้ง กลับจะเป็นผลประโยชน์สอดคล้องไปในทางเดียวกันมากกว่า จึงไม่ได้ขัดกับหลักธรรมาภิบาลแต่อย่างใด
อนึ่ง บริษัทใดจะบอกว่ามี“ ธรรมาภิบาล ” ที่ดีจะต้องแสดงออกมาได้ในผลประกอบการด้วย ถ้าพูดแต่ว่ามีหลักการบริหารและธรรมาภิบาลที่ดี แต่บริษัทกลับทำกำไรได้น้อยกว่าบริษัทอื่น ๆ หรือขาดทุน ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะนโยบายผิดพลาด ผู้บริหารหย่อนความสามารถ หรือขาดความเอาใจใส่ ก็อาจจะเป็นเพราะธรรมาภิบาลที่คิดว่าดีนั้นกลับมีปัญหา จึงทำให้ผลประโยชน์ของบริษัทพร่องไปจากที่ควร
อีกนัยหนึ่ง บริษัทจดทะเบียนที่มีผลประกอบการที่ดีมากจัดอยู่ในชั้นแนวหน้า ย่อมจะต้องมีส่วนประกอบของธรรมาภิบาลที่ดีรวมอยู่ด้วย
ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร
บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)