ASTVผู้จัดการรายวัน – จุฬาฯ เสริมแกร่งวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผา มอบสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ส่งนักวิจัยลงพื้นที่ เจาะลุกทุกภูมิภาค ศึกษาสภาพดินแบบเจาะลึก พร้อมให้ความรู้การทำธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาอย่างยั่งยืนโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หลังพบภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาของชาวบ้าน ยังได้รับการพัฒนาน้อย เชื่อหากผู้เชี่ยวชาญวิจัยข้อด้อยอย่างละเอียด จะช่วยเพิ่มคุณภาพสินค้า สร้างรายได้ให้ชาวบ้านอีกหลายเท่าตัว
ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช นักวิจัยระดับ 7 สาถบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางสถาบันฯ ได้รับมอบหมายจากภาครัฐฯ ให้เข้าไปวิจัยงานด้านเครื่องปั้นดินเผาของชาวบ้าน โดยเป็นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพพร้อมแข่งขัน สร้างธุรกิจให้ยั่งยืน ตามโครงการ “ยกระดับคุรภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก” ที่เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 นำร่องภาคอีสาน ในขณะที่ปี 2552 ลงพื้นที่ภาคเหนือ และในปีต่อไปจะไปที่ภาคกลาง และภาคใต้ตามลำดับ
ทั้งนี้ทางสถาบันฯ ได้นำเทคโนโลยี องค์ความรู้ถ่ายทอดสู่ชาวบ้านอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเริ่มสำรวจสภาพดินที่จะนำมาใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งในแต่ละจังหวัดเนื้อดินจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวิจัยเนื้อดินว่ามีความแข็งแกร่งทนความร้อนได้ในระดับใด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับงานเครื่องปั้นดินเผา ในขณะที่ขั้นตอนการออกแบบสินค้า และการผลิต ทางสถาบันฯ จะสอนเทคนิคเพื่อให้ชาวบ้านรู้จักการออกแบบด้วยตัวเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจาก รศ.ดร.อรพิน พานทอง อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชาวบ้าน
“ที่ผ่านมาทางสถาบันฯ ได้ลงพื้นที่ในภาคเหนือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา โดยสามารถคิดค้นน้ำดินแดง ซึ่งปกติในการหล่อผลิตภัณฑ์ขึ้นมานั้น จะใช้ดินแดงล้วนๆ โดยใช้ดินในพื้นที่มาผ่านกระบวนการที่ทางทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้น และนำมาหล่อเป็นผลิตภัณฑ์ขาย ซึ่งปกติชาวบ้านจะใช้วิธีการปั้นซึ่งจะใช้เนื้อดินเยอะ ซึ่งการหล่อจะช่วยให้สามารถผลิตสินค้าชิ้นเล็ก ๆประเภทของชำร่วยได้เร็วขึ้น และมีความละเอียดมากกว่าการปั้น” ดร.สิริพรรณ กล่าว
นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังได้เข้าไปช่วยพัฒนาเตาเผาตามคำขอของชาวบ้านที่ อ.ทุ่งหล่ม จ.พะเยา ที่เตาแบบเดิมทำให้สินค้าเสียหายเยอะ จากความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ อ.อำพล วัฒนรังสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเตาเผา คิดค้นเตาฟืนคุณภาพดี ทำให้เมื่อนำเครื่องปั้นดินเผาไปเผาจะได้ความร้อนสม่ำเสมอ รวมถึงสามารถเผาในอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ ทำให้ได้เครื่องปั้นดินเผาที่มีความทนทานขึ้น พร้อมทั้งสินค้ายังมีความเสียหายน้อยลงด้วย ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น
ดร.สิริพรรณ นิลไพรัช นักวิจัยระดับ 7 สาถบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางสถาบันฯ ได้รับมอบหมายจากภาครัฐฯ ให้เข้าไปวิจัยงานด้านเครื่องปั้นดินเผาของชาวบ้าน โดยเป็นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพพร้อมแข่งขัน สร้างธุรกิจให้ยั่งยืน ตามโครงการ “ยกระดับคุรภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก” ที่เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 นำร่องภาคอีสาน ในขณะที่ปี 2552 ลงพื้นที่ภาคเหนือ และในปีต่อไปจะไปที่ภาคกลาง และภาคใต้ตามลำดับ
ทั้งนี้ทางสถาบันฯ ได้นำเทคโนโลยี องค์ความรู้ถ่ายทอดสู่ชาวบ้านอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเริ่มสำรวจสภาพดินที่จะนำมาใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งในแต่ละจังหวัดเนื้อดินจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวิจัยเนื้อดินว่ามีความแข็งแกร่งทนความร้อนได้ในระดับใด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับงานเครื่องปั้นดินเผา ในขณะที่ขั้นตอนการออกแบบสินค้า และการผลิต ทางสถาบันฯ จะสอนเทคนิคเพื่อให้ชาวบ้านรู้จักการออกแบบด้วยตัวเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจาก รศ.ดร.อรพิน พานทอง อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชาวบ้าน
“ที่ผ่านมาทางสถาบันฯ ได้ลงพื้นที่ในภาคเหนือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา โดยสามารถคิดค้นน้ำดินแดง ซึ่งปกติในการหล่อผลิตภัณฑ์ขึ้นมานั้น จะใช้ดินแดงล้วนๆ โดยใช้ดินในพื้นที่มาผ่านกระบวนการที่ทางทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้น และนำมาหล่อเป็นผลิตภัณฑ์ขาย ซึ่งปกติชาวบ้านจะใช้วิธีการปั้นซึ่งจะใช้เนื้อดินเยอะ ซึ่งการหล่อจะช่วยให้สามารถผลิตสินค้าชิ้นเล็ก ๆประเภทของชำร่วยได้เร็วขึ้น และมีความละเอียดมากกว่าการปั้น” ดร.สิริพรรณ กล่าว
นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังได้เข้าไปช่วยพัฒนาเตาเผาตามคำขอของชาวบ้านที่ อ.ทุ่งหล่ม จ.พะเยา ที่เตาแบบเดิมทำให้สินค้าเสียหายเยอะ จากความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ อ.อำพล วัฒนรังสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเตาเผา คิดค้นเตาฟืนคุณภาพดี ทำให้เมื่อนำเครื่องปั้นดินเผาไปเผาจะได้ความร้อนสม่ำเสมอ รวมถึงสามารถเผาในอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ ทำให้ได้เครื่องปั้นดินเผาที่มีความทนทานขึ้น พร้อมทั้งสินค้ายังมีความเสียหายน้อยลงด้วย ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น