จากชีวิตที่ล้มเหลว กลายเป็นคนหาเช้ากินค่ำ มีรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว จากอาชีพชาวสวนที่มุ่งเน้นแต่การใช้ยาฆ่าแมลงที่มีต้นทุนสูง ทำให้เมื่อผลผลิตขายไม่ได้ ต้องกลายเป็นคนที่มีหนี้สินทั่วตัว รายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว แต่ก็ไม่ท้อยึดหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเข้าอบรมโครงการต้นกล้าอาชีพต่อยอดองค์ความรู้ที่ตนเองมี กลับกลายมาเป็นอาจารย์ถ่ายทอดวิชาความรู้เรื่อง “เลี้ยงผึ้งจิ๋ว” ธุรกิจใหม่มาแรงให้กับชาวบ้านใน จ.จันทบุรี
นายวิสิทธิ์ ธนูอาจ เกษตรกรสวนผลไม้ ในฐานะประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นคนจันทบุรี ตำบล วังแซ่ม อำเภอ มะขาม จังหวัดจันทบุรี วัย 47 ปี เล่าว่า ตนเองซาบซึ้งกับโครงการต้นกล้าอาชีพ ที่ช่วยปลดล็อกพันธนาการความล้มเหลวในอาชีพชาวสวนเมื่อครั้งอดีตนานมาแล้วที่เคยมุ่งพึ่งใช้แต่ยาฆ่าแมลง จนทำให้ต้องสูญเสียผลผลิต และสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะเป็นหนี้กว่า 3 แสนบาท และชีวิตครอบครัวก็อยู่กันอย่างแร้นแค้นร่วมกับภรรยา และลูกน้อยอีก 2 คน
“ก่อนหน้านี้ผมหลงทางไปมาก เกิดวิกฤตการเงินครอบครัวอย่างมหันต์ ช่วงนั้นผมมีรายได้เพียงแค่แสนกว่าบาท เฉลี่ยเหลือเดือนไม่ถึงหมื่นบาท ไม่พอส่งเสียลูกสาวคนโต ร่ำเรียนหนังสือได้ ขณะที่ลูกชายยังเล็กมาก จึงต้องตัดใจเลิกอาชีพเกษตรกรบนพื้นที่ขนาดเล็กๆของผมเอง เพียง 20 ไร่ ซึ่งปลูกเงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกองทั้งหมด และหันไปรับจ้างเป็นพนักงานขับรถให้กับโครงการในพระราชดำริ ที่อ่าวคุ้งกระเบน อำเภอ ท่าใหม่ รับเงินเดือนเลี้ยงทั้งครอบครัวเพียง 4,700 บาท และเคราะห์ซ้ำกำซัดต่อโชคชะตาอีก เมื่อวันหนึ่งที่เข้าสวนไปตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดที่มีความแรงมาก ปรากฎว่าเศษไม้กระเด็นเข้าตา เป็นเหตุให้ตาผมมืดสนิดไปหนึ่งข้างจนถึงทุกวันนี้ ชีวิตคนขับรถก็อวสานลง และก็ต้องดิ้นรนหาอาชีพใหม่ทันที คราวนั้นได้เข้าไปเป็นลูกจ้างรายวันทีศูนย์พัฒนาอาชีพการเกษตร (ผึ้ง) ทำทุกอย่างที่มีให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นตัดหญ้า หรือเลี้ยงผึ้ง รายได้ก็ลดลงอีกเหลือเพียงเดือนละ 4,100 บาท ยิ่งไม่พอเลี้ยงครอบครัวมากขึ้น”
เมื่อหวนคิดถึงในหลวง โครงการของพระองค์ฯ ในเมื่อท่านยังทรงอุตสาหะพลิกฟื้นแผ่นดินที่เสียของอ่าวคุ้งกระเบน ให้เป็นผืนดินที่ชุ่มช่ำและสร้างงานแก่พี่น้องอย่างมากมาย ทำให้ วิสิทธิ์ คิดพลิกฟื้นสวนบ้าน และนั่นเองกลายเป็นจุดเปลี่ยนความคิดใหม่ ที่ทำให้วิสิทธิ์คืนสู่บ้านเกิดทันที และเริ่มนำความรู้ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ได้จากงานทั้ง 2 แห่ง มาใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ พร้อมกับเอื้อเฟื้อความรู้แก่เพื่อนบ้าน ผ่านรูปแบบการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชน อ.มะขาม ซึ่งเน้นการใช้เศรษฐกิจพอเพียง อาศัยการเลี้ยงชีพแบบพึ่งพาธรรมชาติ ชีวิตดีขึ้น เพราะพื้นน้ำ พื้นดินกลับมาดีเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยที่ดีในการทำสวน หรือการเพาะพันธุ์ผึ้งชันโรง เพื่อผสมเกสร ที่ช่วยต่อการขยายพันธุ์พืชผล แต่ก็ยังไม่ได้ช่วยให้เกิดผลผลิต 100 % เพราะโดยสภาพรวมของพื้นที่ที่ผมอยู่นี้ ป่าถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก ประกอบกับความรู้ที่ได้นำมาพัฒนาก็เป็นแบบงูๆปลาๆ เท่านั้น
แล้ววันฟ้าใสก็บังเกิด เมื่อได้เข้าร่วมโครงการต้นกล้ารุ่นที่ 1 ซึ่งได้พบกับ รศ.ดร. สำนึก บุญเกิด อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เชี่ยวชาญคนแรกและเป็นอันดับต้นๆในประเทศไทย ผู้ฝึกสอนวิชาเลี้ยงผึ้งจิ๋วผลิตน้ำผึ้งอินทรีย์ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ ชันโรง” แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้รู้ถึงวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องทุกกระบวนการและสามารถนำมาต่อยอดความรู้ให้กับภรรยา และลูกๆ โดยยึดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน จนทำให้ขณะนี้ครอบครัวผมสามารถขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ไปจนถึงส่วนต่างไม่ว่าจะเป็นน้ำชันโรง ซึ่งเป็นผลผลิตส่วนต้นที่นำไปพัฒนาเป็นน้ำผึ้งชันโรง 100 % วางขายทั้งหน้าศูนย์ฯภายในบ้านของผมเอง และส่งขายให้กับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่รับซื้อในราคาขวดละ 500 บาท และจากการออกร้านเคลื่อนที่ที่จังหวัดจัดให้มีขึ้นในเทศกาลต่างๆ
เขาเสริมต่อด้วยความสุขใจว่า “ โครงการต้นกล้าอาชีพ มีพระคุณกับเกษตรกรอย่างผมมากมาย เพราะอบรมเพียงไม่นาน ผมก็ได้รับโอกาสดีดีที่สามารถสร้างรากฐานใหม่อย่างเห็นได้ชัดทันที ทั้งในด้านการเพาะพันธุ์ผึ้งเพื่อใช้เป็นแม่เหล็กสำคัญในการขยายพันธุ์ผลไม้ของตนเองแล้ว ยังก่อเกิดผลผลิตในการจัดจำหน่ายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ให้กับเกษตรกรอื่นๆที่สนใจ ทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ใครอบครัว อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เป็นวิทยากรผู้อบรมการเลี้ยงผึ้งจิ๋วแก่ต้นกล้าอาชีพรุ่นน้อง รวมไปถึงให้กับหน่วยงานราชการต่างๆที่พร้อมใจทำงานเพื่ออบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรง เช่น โครงการต้นกล้าอาชีพ ร่วมกับกปร. ศูนย์พัฒนาอาชีพการเกษตร (ผึ้ง) ที่ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อเร็วๆนี้ จนกล่าวได้ว่าชีวิตผมตอนนี้มีรายได้แบบกระโดดขึ้นมาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10,000 - 20,000 บาท ”
“ผมจึงอยากให้โครงการต้นกล้า โครงการดีดีแบบนี้เข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรอีกหลายหมื่นชีวิต เพราะผมได้สัมผัสกับตนเองที่มีทั้งเชิญให้ผมไปสอน และติดต่อผมถึงการเข้าสมัครทำอย่างไร โดยที่หลายๆคนได้สมัครไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับโอกาส จึงวิงวอนให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องนี้อย่างเต็มที่ครับ”
นายวิสิทธิ์ ธนูอาจ เกษตรกรสวนผลไม้ ในฐานะประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นคนจันทบุรี ตำบล วังแซ่ม อำเภอ มะขาม จังหวัดจันทบุรี วัย 47 ปี เล่าว่า ตนเองซาบซึ้งกับโครงการต้นกล้าอาชีพ ที่ช่วยปลดล็อกพันธนาการความล้มเหลวในอาชีพชาวสวนเมื่อครั้งอดีตนานมาแล้วที่เคยมุ่งพึ่งใช้แต่ยาฆ่าแมลง จนทำให้ต้องสูญเสียผลผลิต และสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะเป็นหนี้กว่า 3 แสนบาท และชีวิตครอบครัวก็อยู่กันอย่างแร้นแค้นร่วมกับภรรยา และลูกน้อยอีก 2 คน
“ก่อนหน้านี้ผมหลงทางไปมาก เกิดวิกฤตการเงินครอบครัวอย่างมหันต์ ช่วงนั้นผมมีรายได้เพียงแค่แสนกว่าบาท เฉลี่ยเหลือเดือนไม่ถึงหมื่นบาท ไม่พอส่งเสียลูกสาวคนโต ร่ำเรียนหนังสือได้ ขณะที่ลูกชายยังเล็กมาก จึงต้องตัดใจเลิกอาชีพเกษตรกรบนพื้นที่ขนาดเล็กๆของผมเอง เพียง 20 ไร่ ซึ่งปลูกเงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกองทั้งหมด และหันไปรับจ้างเป็นพนักงานขับรถให้กับโครงการในพระราชดำริ ที่อ่าวคุ้งกระเบน อำเภอ ท่าใหม่ รับเงินเดือนเลี้ยงทั้งครอบครัวเพียง 4,700 บาท และเคราะห์ซ้ำกำซัดต่อโชคชะตาอีก เมื่อวันหนึ่งที่เข้าสวนไปตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดที่มีความแรงมาก ปรากฎว่าเศษไม้กระเด็นเข้าตา เป็นเหตุให้ตาผมมืดสนิดไปหนึ่งข้างจนถึงทุกวันนี้ ชีวิตคนขับรถก็อวสานลง และก็ต้องดิ้นรนหาอาชีพใหม่ทันที คราวนั้นได้เข้าไปเป็นลูกจ้างรายวันทีศูนย์พัฒนาอาชีพการเกษตร (ผึ้ง) ทำทุกอย่างที่มีให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นตัดหญ้า หรือเลี้ยงผึ้ง รายได้ก็ลดลงอีกเหลือเพียงเดือนละ 4,100 บาท ยิ่งไม่พอเลี้ยงครอบครัวมากขึ้น”
เมื่อหวนคิดถึงในหลวง โครงการของพระองค์ฯ ในเมื่อท่านยังทรงอุตสาหะพลิกฟื้นแผ่นดินที่เสียของอ่าวคุ้งกระเบน ให้เป็นผืนดินที่ชุ่มช่ำและสร้างงานแก่พี่น้องอย่างมากมาย ทำให้ วิสิทธิ์ คิดพลิกฟื้นสวนบ้าน และนั่นเองกลายเป็นจุดเปลี่ยนความคิดใหม่ ที่ทำให้วิสิทธิ์คืนสู่บ้านเกิดทันที และเริ่มนำความรู้ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ได้จากงานทั้ง 2 แห่ง มาใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ พร้อมกับเอื้อเฟื้อความรู้แก่เพื่อนบ้าน ผ่านรูปแบบการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชน อ.มะขาม ซึ่งเน้นการใช้เศรษฐกิจพอเพียง อาศัยการเลี้ยงชีพแบบพึ่งพาธรรมชาติ ชีวิตดีขึ้น เพราะพื้นน้ำ พื้นดินกลับมาดีเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยที่ดีในการทำสวน หรือการเพาะพันธุ์ผึ้งชันโรง เพื่อผสมเกสร ที่ช่วยต่อการขยายพันธุ์พืชผล แต่ก็ยังไม่ได้ช่วยให้เกิดผลผลิต 100 % เพราะโดยสภาพรวมของพื้นที่ที่ผมอยู่นี้ ป่าถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก ประกอบกับความรู้ที่ได้นำมาพัฒนาก็เป็นแบบงูๆปลาๆ เท่านั้น
แล้ววันฟ้าใสก็บังเกิด เมื่อได้เข้าร่วมโครงการต้นกล้ารุ่นที่ 1 ซึ่งได้พบกับ รศ.ดร. สำนึก บุญเกิด อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เชี่ยวชาญคนแรกและเป็นอันดับต้นๆในประเทศไทย ผู้ฝึกสอนวิชาเลี้ยงผึ้งจิ๋วผลิตน้ำผึ้งอินทรีย์ หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ ชันโรง” แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำให้รู้ถึงวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องทุกกระบวนการและสามารถนำมาต่อยอดความรู้ให้กับภรรยา และลูกๆ โดยยึดเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน จนทำให้ขณะนี้ครอบครัวผมสามารถขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ไปจนถึงส่วนต่างไม่ว่าจะเป็นน้ำชันโรง ซึ่งเป็นผลผลิตส่วนต้นที่นำไปพัฒนาเป็นน้ำผึ้งชันโรง 100 % วางขายทั้งหน้าศูนย์ฯภายในบ้านของผมเอง และส่งขายให้กับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่รับซื้อในราคาขวดละ 500 บาท และจากการออกร้านเคลื่อนที่ที่จังหวัดจัดให้มีขึ้นในเทศกาลต่างๆ
เขาเสริมต่อด้วยความสุขใจว่า “ โครงการต้นกล้าอาชีพ มีพระคุณกับเกษตรกรอย่างผมมากมาย เพราะอบรมเพียงไม่นาน ผมก็ได้รับโอกาสดีดีที่สามารถสร้างรากฐานใหม่อย่างเห็นได้ชัดทันที ทั้งในด้านการเพาะพันธุ์ผึ้งเพื่อใช้เป็นแม่เหล็กสำคัญในการขยายพันธุ์ผลไม้ของตนเองแล้ว ยังก่อเกิดผลผลิตในการจัดจำหน่ายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ให้กับเกษตรกรอื่นๆที่สนใจ ทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ใครอบครัว อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เป็นวิทยากรผู้อบรมการเลี้ยงผึ้งจิ๋วแก่ต้นกล้าอาชีพรุ่นน้อง รวมไปถึงให้กับหน่วยงานราชการต่างๆที่พร้อมใจทำงานเพื่ออบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรง เช่น โครงการต้นกล้าอาชีพ ร่วมกับกปร. ศูนย์พัฒนาอาชีพการเกษตร (ผึ้ง) ที่ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อเร็วๆนี้ จนกล่าวได้ว่าชีวิตผมตอนนี้มีรายได้แบบกระโดดขึ้นมาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10,000 - 20,000 บาท ”
“ผมจึงอยากให้โครงการต้นกล้า โครงการดีดีแบบนี้เข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรอีกหลายหมื่นชีวิต เพราะผมได้สัมผัสกับตนเองที่มีทั้งเชิญให้ผมไปสอน และติดต่อผมถึงการเข้าสมัครทำอย่างไร โดยที่หลายๆคนได้สมัครไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับโอกาส จึงวิงวอนให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องนี้อย่างเต็มที่ครับ”