ห้องเรียนนี้แปลกกว่าที่อื่น เพราะนักเรียนต้องคอยระวังหน้าระแวงหลัง และอุปกรณ์การสอนสำคัญคือ งูพิษตัวเป็นๆ
เรขา เบ วัย 6 ขวบ ไม่ต่างจากเด็กทุกคนในเผ่าวาดิของอินเดีย ที่จะต้องทำความรู้จักงูเห่าตั้งแต่อายุ 2 ขวบ
เด็กวาดิทุกคนจะต้องใช้เวลาสิบปีเรียนรู้ประเพณีที่จะปลูกฝังให้เด็กผู้ชายเติบโตขึ้นเป็นหมองูเต็มตัว ที่จะอาศัยทักษะพิเศษในการเป่าปี่กล่อมงูให้สงบลง ขณะที่เด็กผู้หญิงเรียนรู้วิธีเลี้ยงและจัดการกับงู เมื่อสามีหรือพี่ชายไม่อยู่ที่บ้าน
“การฝึกจะเริ่มต้นเมื่อเด็กอายุสองขวบ โดยเด็กจะได้เรียนรู้วิธีการที่สืบทอดกันมาแต่โบราณในการกล่อมงูจนกว่าจะพร้อมรับบทบาทในชุมชนของเรา” บาบานาถ มิถุนาถ มาดารี หัวหน้าผู้ฝึกสอน วัย 60 ปี เล่าและว่า
“เมื่ออายุ 12 ปี เด็กจะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับงู และพร้อมสืบทอดประเพณีของเผ่าวาดิที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมานับพันปีตั้งแต่ยุคมหาราชา”
วาดิ ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนและมีประชากรอยู่ราว 600 คน อาศัยอยู่ในรัฐคุชรัต ทางใต้ของอินเดีย พวกเขาภาคภูมิใจในชื่อเสียงของตัวเองที่เกี่ยวโยงกับเรื่องอสรพิษร้าย
ชาววาดิที่ไม่เคยปักหลักอยู่ที่ไหนเกินหกเดือน มีความผูกผันที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นตำนานกับงู โดยเฉพาะงูเห่า
“ตอนกลางคืน เราจะนั่งล้อมวงกันในกระท่อมในทะเลทรายกว้างใหญ่ และเล่าถึงข้อตกลงที่บรรพบุรุษของเราให้คำมั่นไว้กับพญานาค เจ้าแห่งงูทั้งปวง
“เราอธิบายให้ลูกหลานฟังว่า เราจะจับงูจากป่ามาเพียงไม่เกิน 7 เดือน ถ้าเกินกว่านั้นถือว่าเราไม่ให้ความเคารพงู ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากหมองูและงูต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ชนิดที่เรียกได้ว่าฝากชีวิตกันและกันไว้” มาดารีเล่าขานความเป็นมา
งูเห่าที่จับมาจะถูกเลี้ยงด้วยสมุนไพรผสมที่ทำให้พิษของมันไม่มีอันตรายอีกต่อไป
“เราจะไม่ตัดเขี้ยวงู เพราะโหดร้ายเกินไป เราไม่ทำอันตรายเพราะพวกเขาก็เหมือนลูกหลานของเรา
“ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ผมเคยได้ยินว่ามีผู้ชายคนเดียวถูกงูกัด เพราะอุตริจับงูไว้เกิน 7 เดือน”
แต่ความที่การโชว์สยบงูเป็นสิ่งผิดกฎหมายในอินเดียนับจากปี 1991 ชาวเผ่าวาดิจึงถูกกดดันอย่างหนักจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง
“ตำรวจมักขอตรวจค้นเมื่อใดก็ตามที่เจอเรา
“ตอนนี้เราอยู่ห่างจากเมืองราชคตประมาณ 25 กิโลเมตร และทุกครั้งที่เราพยายามจะเข้าไปหาอาหารและน้ำดื่มในหมู่บ้าน พวกชาวบ้านจะไล่เราออกมาทุกครั้ง
“เรื่องนี้ทำให้ผมเศร้ามาก เพราะหมู่บ้านนั้นเป็นบ้านเกิดของมหาตมะ คานธี บิดาของประเทศเรา
“พวกเขาจะให้เราละทิ้งประเพณีของเราหรือ? คนรวยในอินเดียไม่มีเวลาให้คนจนอีกต่อไปแล้ว”
เรขา เบ วัย 6 ขวบ ไม่ต่างจากเด็กทุกคนในเผ่าวาดิของอินเดีย ที่จะต้องทำความรู้จักงูเห่าตั้งแต่อายุ 2 ขวบ
เด็กวาดิทุกคนจะต้องใช้เวลาสิบปีเรียนรู้ประเพณีที่จะปลูกฝังให้เด็กผู้ชายเติบโตขึ้นเป็นหมองูเต็มตัว ที่จะอาศัยทักษะพิเศษในการเป่าปี่กล่อมงูให้สงบลง ขณะที่เด็กผู้หญิงเรียนรู้วิธีเลี้ยงและจัดการกับงู เมื่อสามีหรือพี่ชายไม่อยู่ที่บ้าน
“การฝึกจะเริ่มต้นเมื่อเด็กอายุสองขวบ โดยเด็กจะได้เรียนรู้วิธีการที่สืบทอดกันมาแต่โบราณในการกล่อมงูจนกว่าจะพร้อมรับบทบาทในชุมชนของเรา” บาบานาถ มิถุนาถ มาดารี หัวหน้าผู้ฝึกสอน วัย 60 ปี เล่าและว่า
“เมื่ออายุ 12 ปี เด็กจะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับงู และพร้อมสืบทอดประเพณีของเผ่าวาดิที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมานับพันปีตั้งแต่ยุคมหาราชา”
วาดิ ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนและมีประชากรอยู่ราว 600 คน อาศัยอยู่ในรัฐคุชรัต ทางใต้ของอินเดีย พวกเขาภาคภูมิใจในชื่อเสียงของตัวเองที่เกี่ยวโยงกับเรื่องอสรพิษร้าย
ชาววาดิที่ไม่เคยปักหลักอยู่ที่ไหนเกินหกเดือน มีความผูกผันที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นตำนานกับงู โดยเฉพาะงูเห่า
“ตอนกลางคืน เราจะนั่งล้อมวงกันในกระท่อมในทะเลทรายกว้างใหญ่ และเล่าถึงข้อตกลงที่บรรพบุรุษของเราให้คำมั่นไว้กับพญานาค เจ้าแห่งงูทั้งปวง
“เราอธิบายให้ลูกหลานฟังว่า เราจะจับงูจากป่ามาเพียงไม่เกิน 7 เดือน ถ้าเกินกว่านั้นถือว่าเราไม่ให้ความเคารพงู ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากหมองูและงูต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ชนิดที่เรียกได้ว่าฝากชีวิตกันและกันไว้” มาดารีเล่าขานความเป็นมา
งูเห่าที่จับมาจะถูกเลี้ยงด้วยสมุนไพรผสมที่ทำให้พิษของมันไม่มีอันตรายอีกต่อไป
“เราจะไม่ตัดเขี้ยวงู เพราะโหดร้ายเกินไป เราไม่ทำอันตรายเพราะพวกเขาก็เหมือนลูกหลานของเรา
“ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ผมเคยได้ยินว่ามีผู้ชายคนเดียวถูกงูกัด เพราะอุตริจับงูไว้เกิน 7 เดือน”
แต่ความที่การโชว์สยบงูเป็นสิ่งผิดกฎหมายในอินเดียนับจากปี 1991 ชาวเผ่าวาดิจึงถูกกดดันอย่างหนักจากรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง
“ตำรวจมักขอตรวจค้นเมื่อใดก็ตามที่เจอเรา
“ตอนนี้เราอยู่ห่างจากเมืองราชคตประมาณ 25 กิโลเมตร และทุกครั้งที่เราพยายามจะเข้าไปหาอาหารและน้ำดื่มในหมู่บ้าน พวกชาวบ้านจะไล่เราออกมาทุกครั้ง
“เรื่องนี้ทำให้ผมเศร้ามาก เพราะหมู่บ้านนั้นเป็นบ้านเกิดของมหาตมะ คานธี บิดาของประเทศเรา
“พวกเขาจะให้เราละทิ้งประเพณีของเราหรือ? คนรวยในอินเดียไม่มีเวลาให้คนจนอีกต่อไปแล้ว”