เอเอฟพี/เอเยนซีส์-นักวิเคราะห์ชี้ผู้นำสหรัฐฯเจอทางตันในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ กรณีเกาหลีเหนือและอิหร่าน และการโน้มน้าวให้ทั้ง 2 ชาติยอมเจรจาถือเป็น"งานช้าง"
แอล.กอร์ดอน เฟลค ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแมนส์ฟิลด์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเคยให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาในเรื่องนโยบายต่อเกาหลีเหนือในช่วงหาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ออกมาระบุว่า ปัญหาเกาหลีเหนือและอิหร่านกำลังทำให้โอบามาเจอกับทางตันในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และคงเป็นเรื่องที่ยากระดับ"งานช้าง"หากโอบามาจะดึงทั้ง 2 ชาติมาขึ้นโต๊ะเจรจาหรือยอมยุติโครงการนิวเคลียร์
เฟลคชี้ว่าการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเมื่อวันจันทร์(25) และการที่ประธานาธิบดีมะห์มูด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำอิหร่านออกมายืนยันในวันเดียวกันว่าจะไม่ยอมเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์กับสหรัฐฯเป็นอันขาด ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าโอบามามีโอกาสน้อยเต็มทีที่จะเปลี่ยนท่าทีของผู้นำทั้ง 2 ชาติ และทำให้บรรดานักการเมือง "สายเหยี่ยว"ในสภาคองเกรสเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมและจุดยืนของโอบามาที่ยืนยันมาโดยตลอด ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า"พร้อมเจรจากับทุกประเทศที่เป็นศัตรู"
เฟลคยืนยันว่า การทดลองนิวเคลียร์และขีปนาวุธครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือ และท่าทีล่าสุดจากผู้นำอิหร่านแสดงให้เห็นว่าทั้ง2ชาติยังไม่ต้องการเจรจาใดๆกับสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จุดยืนในด้านนโยบายต่างประเทศของโอบามาที่ต้องการการแก้ปัญหาอย่างสันติ ประสบกับภาวะชะงักงันจนไม่สามารถเดินหน้า-ถอยหลังใดๆได้เลย
นอกจากนั้น เฟลคยังระบุว่า คิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ ยังมีเรื่องในประเทศของตนที่มีความสำคัญมากกว่าให้ต้องคำนึงถึง ซึ่งก็คือปัญหาสุขภาพของเขาที่เริ่มสั่นคลอนความมั่นคงของอนาคตทางการเมืองของเขาและบุตรชาย ส่วนมะห์มุด อาห์มาดิเนจัดก็มีศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในวันที่ 12 มิถุนายนรออยู่ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้นำอิหร่านจะชนะการเลือกตั้งอีกสมัย หากเขาเปลี่ยนท่าทีมาเป็นมิตรกับโอบามาและรัฐบาลสหรัฐฯในช่วงนี้
ทางด้าน วิคเตอร์ ชา อดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ด้านนโยบายเกาหลีและปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ยืนยันว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะตีความว่าเกาหลีเหนือทดลองนิวเคลียร์เผื่อเรียกร้องความสนใจจากโอบามา อันจะนำไปสู่การเจรจาแบบ"ตัวต่อตัว" กับสหรัฐฯ ในอนาคต เพราะเกาหลีเหนือมีเจตนาให้สหรัฐฯ ยอมรับสถานะของการเป็นชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองแล้วมากกว่า
ส่วน สกอตต์ สไนเดอร์ นักวิจัยจาก สภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ หรือ " ซีเอฟอาร์ "
ระบุว่า อิหร่านกำลังจับตาดูท่าทีของสหรัฐฯ และนานาชาติ เกี่ยวกับเรื่องการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิด เพราะอิหร่านเองก็กำลังมีปัญหาในเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นการเจรจาระหว่างทั้ง2ชาติกับสหรัฐฯจึงแทบเป็นศูนย์
จอห์น โบลตัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติสมัยประธานาธิบดีบุช ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวคิดขวาจัด และเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในกลุ่มอนุรักษนิยมใหม่ ได้ออกมากล่าวโจมตีโอบามาว่าทำผิดพลาดครั้งใหญ่ เนื่องจากนโยบายต่างประเทศแบบใช้การทูตเป็นหลักของโอบามา ทำให้เกาหลีเหนือและอิหร่านมองว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันอ่อนแอเกินไป จนทำให้เกาหลีเหนือกล้าทดลองอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 2 และตามติดด้วยการทดสอบขีปนาวุธแบบไม่สนใจคำประณามของชาวโลก เช่นเดียวกับท่าทีของผู้นำอิหร่านที่นับวันจะมีแต่แข็งกร้าวมากขึ้น ซึ่งทำให้โอบามาต้องเจอทางตันในการดำเนินนโยบายต่อทั้ง 2 ชาติอยู่ในเวลานี้
แอล.กอร์ดอน เฟลค ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแมนส์ฟิลด์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเคยให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาในเรื่องนโยบายต่อเกาหลีเหนือในช่วงหาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้ออกมาระบุว่า ปัญหาเกาหลีเหนือและอิหร่านกำลังทำให้โอบามาเจอกับทางตันในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และคงเป็นเรื่องที่ยากระดับ"งานช้าง"หากโอบามาจะดึงทั้ง 2 ชาติมาขึ้นโต๊ะเจรจาหรือยอมยุติโครงการนิวเคลียร์
เฟลคชี้ว่าการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเมื่อวันจันทร์(25) และการที่ประธานาธิบดีมะห์มูด อาห์มาดิเนจัด ผู้นำอิหร่านออกมายืนยันในวันเดียวกันว่าจะไม่ยอมเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์กับสหรัฐฯเป็นอันขาด ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าโอบามามีโอกาสน้อยเต็มทีที่จะเปลี่ยนท่าทีของผู้นำทั้ง 2 ชาติ และทำให้บรรดานักการเมือง "สายเหยี่ยว"ในสภาคองเกรสเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมและจุดยืนของโอบามาที่ยืนยันมาโดยตลอด ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า"พร้อมเจรจากับทุกประเทศที่เป็นศัตรู"
เฟลคยืนยันว่า การทดลองนิวเคลียร์และขีปนาวุธครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือ และท่าทีล่าสุดจากผู้นำอิหร่านแสดงให้เห็นว่าทั้ง2ชาติยังไม่ต้องการเจรจาใดๆกับสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จุดยืนในด้านนโยบายต่างประเทศของโอบามาที่ต้องการการแก้ปัญหาอย่างสันติ ประสบกับภาวะชะงักงันจนไม่สามารถเดินหน้า-ถอยหลังใดๆได้เลย
นอกจากนั้น เฟลคยังระบุว่า คิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ ยังมีเรื่องในประเทศของตนที่มีความสำคัญมากกว่าให้ต้องคำนึงถึง ซึ่งก็คือปัญหาสุขภาพของเขาที่เริ่มสั่นคลอนความมั่นคงของอนาคตทางการเมืองของเขาและบุตรชาย ส่วนมะห์มุด อาห์มาดิเนจัดก็มีศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในวันที่ 12 มิถุนายนรออยู่ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้นำอิหร่านจะชนะการเลือกตั้งอีกสมัย หากเขาเปลี่ยนท่าทีมาเป็นมิตรกับโอบามาและรัฐบาลสหรัฐฯในช่วงนี้
ทางด้าน วิคเตอร์ ชา อดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ด้านนโยบายเกาหลีและปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ยืนยันว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะตีความว่าเกาหลีเหนือทดลองนิวเคลียร์เผื่อเรียกร้องความสนใจจากโอบามา อันจะนำไปสู่การเจรจาแบบ"ตัวต่อตัว" กับสหรัฐฯ ในอนาคต เพราะเกาหลีเหนือมีเจตนาให้สหรัฐฯ ยอมรับสถานะของการเป็นชาติที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองแล้วมากกว่า
ส่วน สกอตต์ สไนเดอร์ นักวิจัยจาก สภาความสัมพันธ์ต่างประเทศ หรือ " ซีเอฟอาร์ "
ระบุว่า อิหร่านกำลังจับตาดูท่าทีของสหรัฐฯ และนานาชาติ เกี่ยวกับเรื่องการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิด เพราะอิหร่านเองก็กำลังมีปัญหาในเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นการเจรจาระหว่างทั้ง2ชาติกับสหรัฐฯจึงแทบเป็นศูนย์
จอห์น โบลตัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติสมัยประธานาธิบดีบุช ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวคิดขวาจัด และเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในกลุ่มอนุรักษนิยมใหม่ ได้ออกมากล่าวโจมตีโอบามาว่าทำผิดพลาดครั้งใหญ่ เนื่องจากนโยบายต่างประเทศแบบใช้การทูตเป็นหลักของโอบามา ทำให้เกาหลีเหนือและอิหร่านมองว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันอ่อนแอเกินไป จนทำให้เกาหลีเหนือกล้าทดลองอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 2 และตามติดด้วยการทดสอบขีปนาวุธแบบไม่สนใจคำประณามของชาวโลก เช่นเดียวกับท่าทีของผู้นำอิหร่านที่นับวันจะมีแต่แข็งกร้าวมากขึ้น ซึ่งทำให้โอบามาต้องเจอทางตันในการดำเนินนโยบายต่อทั้ง 2 ชาติอยู่ในเวลานี้