หมอหลายคนที่พยายามไขความลับของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอินเดียที่มีฝาแฝดกว่า 220 คู่จากเพียง 2,000 ครอบครัว หรือเกือบหกเท่าของอัตราการเกิดเฉลี่ยของฝาแฝดทั่วโลก ต้องกลับออกไปพร้อมความงุนงงสงสัยที่ยังไม่มีวิธีมาคลี่คลาย
ในช่วง 5 ปีล่าสุด หมู่บ้านโคดินฮีในรัฐเคอราลาทางใต้ของแดนภารตะ ให้กำเนิดฝาแฝด 60 คู่ สถิตินี้เพิ่มขึ้นทุกปี เฉพาะปี 2008 มีฝาแฝดคลอดออกมา 15 คู่ จากแม่ 300 คน และคาดว่าปีนี้สถิติจะสูงขึ้นกว่าเดิม
ดร.กฤษนัน ศรีบิชู แพทย์ในท้องถิ่นและผู้ฝักใฝ่ในเรื่องราวเกี่ยวกับฝาแฝด ได้ศึกษาปรากฎการณ์น่าพิศวงทางการแพทย์ของหมู่บ้านโคดินฮีมาตลอดสองปี และเชื่อว่าจริงๆ แล้วหมู่บ้านแห่งนี้น่าจะมีฝาแฝดอยู่ราว 300-350 คู่
จากปากคำของชาวบ้าน ปรากฏการณ์ฝาแฝดเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 60-70 ปี
“การที่ไม่มีเครื่องมือวิเคราะห์รายละเอียดทางชีวเคมี ทำให้ไม่สามารถระบุเหตุผลที่แน่นอนได้ แต่ผมคิดว่าน่าจะมาจากสิ่งที่ชาวบ้านดื่มกินกัน ซึ่งหากเป็นแบบนี้จริงๆ ต่อไปเราอาจมีวิธีใหม่ในการช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาในการมีบุตร”
ดร.ศรีบิชู เชื่อว่านี่เป็นปรากฏการณ์ความผิดปกติตามธรรมชาติ ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมรวมถึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะที่ว่าสาเหตุอาจมาจากมลพิษ เนื่องจากฝาแฝดส่วนใหญ่ที่เกิดในหมู่บ้านนี้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี
คุณหมอวัย 40 ปีแจงว่า ลักษณะที่โดดเด่นของปรากฏการณ์ฝาแฝดของหมู่บ้านโคดินฮีคือ จำนวนฝาแฝดที่อยู่ที่ราว 45:1,000 กรณีการเกิด ทั้งที่อินเดียหรือกระทั่งเอเชียทั้งหมด เป็นภูมิภาคที่มีสถิติฝาแฝดต่ำสุดของโลกคือเพียง 4: 1,000 เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังไม่เคยมีการผสมเทียมในหลอดแก้วในหมู่บ้านแห่งนี้ ขณะที่อัตราการเกิดของฝาแฝดทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยี
“ฝาแฝดที่นี่ยังเกิดจากผู้หญิงที่มีความสูงเฉลี่ยเกิน 157 เซนติเมตร โดยผู้หญิงในหมู่บ้านนี้มีความสูงเฉลี่ย 150 เซนติเมตร”
ปรากฏการณ์ชวนพิศวงนี้ทำให้ชาวบ้านเรียกขานบ้านเกิดว่า ‘เมืองฝาแฝด’ และถึงขั้นตั้งสมาคมฝาแฝดและเครือญาติ (ทากะ) ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือฝาแฝดและครอบครัวในหมู่บ้าน
“ด้วยความที่เป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ในชุมชน เราจึงรู้สึกว่าควรจับกลุ่มกันเพื่อให้แน่ใจว่าฝาแฝดในหมู่บ้านนี้มีศูนย์กลางที่จะมารวมตัวกัน
“ฝาแฝดยังหมายถึงปัญหาทางการเงิน และปัญหาซับซ้อนทางการแพทย์สำหรับแม่ผู้ให้กำเนิด ทากะสามารถให้ความรู้และความช่วยเหลือแก่ประชาชนในหมู่บ้าน เพราะเรามีฝาแฝดมากกว่าที่อื่นใดในโลก” ปุลานี ภาสการัน วัย 50 ปี ประธานสมาคมที่มีลูกฝาแฝดสองคน กล่าว
ด้วยจำนวนสมาชิกที่มาขึ้นทะเบียนกว่า 220 คู่ อายุตั้งแต่หนึ่งเดือนจนถึง 65 ปี และอีก 30 คู่ที่อยู่ระหว่างการยื่นเรื่อง ทากะคาดว่าจำนวนสมาชิกทั้งหมดจะเกินกว่า 600 คนเมื่อนับรวมพ่อแม่ของฝาแฝดเข้าไปด้วย
“ผมเริ่มวางแผนเกี่ยวกับสมาคมนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้วและเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม เพราะคิดว่าฝาแฝดของที่นี่ควรสมัครสมานสามัคคีกันเพื่อค้นหาว่าทำไมพวกเขาถึงถือกำเนิดขึ้นที่นี่” ภาสการันเสริม
“ตอนอยู่โรงเรียนประถม ผมเจอนักเรียนที่เป็นฝาแฝดเหมือนกันอีก 30-40 คู่ อานู ภาสการัน วัย 16 ปี ลูกชายของประธานทากะ เล่า
“ผมรู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษ แต่สิ่งที่ชอบที่สุดจากการเป็นฝาแฝดคือ การหลอกเพื่อนและครู” อาบี คู่แฝดของอานูสำทับ
“ครูชอบจำเราสลับกัน บางครั้งที่เรารู้สึกแผลงขึ้นมา เราจะสลับห้องเรียนกันเพื่อให้เพื่อนๆ กับครูงงเล่น” ชาฮาลาและชาฮานา คู่แฝดวัย 5 ขวบช่วยกันเล่า
ในช่วง 5 ปีล่าสุด หมู่บ้านโคดินฮีในรัฐเคอราลาทางใต้ของแดนภารตะ ให้กำเนิดฝาแฝด 60 คู่ สถิตินี้เพิ่มขึ้นทุกปี เฉพาะปี 2008 มีฝาแฝดคลอดออกมา 15 คู่ จากแม่ 300 คน และคาดว่าปีนี้สถิติจะสูงขึ้นกว่าเดิม
ดร.กฤษนัน ศรีบิชู แพทย์ในท้องถิ่นและผู้ฝักใฝ่ในเรื่องราวเกี่ยวกับฝาแฝด ได้ศึกษาปรากฎการณ์น่าพิศวงทางการแพทย์ของหมู่บ้านโคดินฮีมาตลอดสองปี และเชื่อว่าจริงๆ แล้วหมู่บ้านแห่งนี้น่าจะมีฝาแฝดอยู่ราว 300-350 คู่
จากปากคำของชาวบ้าน ปรากฏการณ์ฝาแฝดเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 60-70 ปี
“การที่ไม่มีเครื่องมือวิเคราะห์รายละเอียดทางชีวเคมี ทำให้ไม่สามารถระบุเหตุผลที่แน่นอนได้ แต่ผมคิดว่าน่าจะมาจากสิ่งที่ชาวบ้านดื่มกินกัน ซึ่งหากเป็นแบบนี้จริงๆ ต่อไปเราอาจมีวิธีใหม่ในการช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหาในการมีบุตร”
ดร.ศรีบิชู เชื่อว่านี่เป็นปรากฏการณ์ความผิดปกติตามธรรมชาติ ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมรวมถึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะที่ว่าสาเหตุอาจมาจากมลพิษ เนื่องจากฝาแฝดส่วนใหญ่ที่เกิดในหมู่บ้านนี้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี
คุณหมอวัย 40 ปีแจงว่า ลักษณะที่โดดเด่นของปรากฏการณ์ฝาแฝดของหมู่บ้านโคดินฮีคือ จำนวนฝาแฝดที่อยู่ที่ราว 45:1,000 กรณีการเกิด ทั้งที่อินเดียหรือกระทั่งเอเชียทั้งหมด เป็นภูมิภาคที่มีสถิติฝาแฝดต่ำสุดของโลกคือเพียง 4: 1,000 เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังไม่เคยมีการผสมเทียมในหลอดแก้วในหมู่บ้านแห่งนี้ ขณะที่อัตราการเกิดของฝาแฝดทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยี
“ฝาแฝดที่นี่ยังเกิดจากผู้หญิงที่มีความสูงเฉลี่ยเกิน 157 เซนติเมตร โดยผู้หญิงในหมู่บ้านนี้มีความสูงเฉลี่ย 150 เซนติเมตร”
ปรากฏการณ์ชวนพิศวงนี้ทำให้ชาวบ้านเรียกขานบ้านเกิดว่า ‘เมืองฝาแฝด’ และถึงขั้นตั้งสมาคมฝาแฝดและเครือญาติ (ทากะ) ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือฝาแฝดและครอบครัวในหมู่บ้าน
“ด้วยความที่เป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ในชุมชน เราจึงรู้สึกว่าควรจับกลุ่มกันเพื่อให้แน่ใจว่าฝาแฝดในหมู่บ้านนี้มีศูนย์กลางที่จะมารวมตัวกัน
“ฝาแฝดยังหมายถึงปัญหาทางการเงิน และปัญหาซับซ้อนทางการแพทย์สำหรับแม่ผู้ให้กำเนิด ทากะสามารถให้ความรู้และความช่วยเหลือแก่ประชาชนในหมู่บ้าน เพราะเรามีฝาแฝดมากกว่าที่อื่นใดในโลก” ปุลานี ภาสการัน วัย 50 ปี ประธานสมาคมที่มีลูกฝาแฝดสองคน กล่าว
ด้วยจำนวนสมาชิกที่มาขึ้นทะเบียนกว่า 220 คู่ อายุตั้งแต่หนึ่งเดือนจนถึง 65 ปี และอีก 30 คู่ที่อยู่ระหว่างการยื่นเรื่อง ทากะคาดว่าจำนวนสมาชิกทั้งหมดจะเกินกว่า 600 คนเมื่อนับรวมพ่อแม่ของฝาแฝดเข้าไปด้วย
“ผมเริ่มวางแผนเกี่ยวกับสมาคมนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้วและเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม เพราะคิดว่าฝาแฝดของที่นี่ควรสมัครสมานสามัคคีกันเพื่อค้นหาว่าทำไมพวกเขาถึงถือกำเนิดขึ้นที่นี่” ภาสการันเสริม
“ตอนอยู่โรงเรียนประถม ผมเจอนักเรียนที่เป็นฝาแฝดเหมือนกันอีก 30-40 คู่ อานู ภาสการัน วัย 16 ปี ลูกชายของประธานทากะ เล่า
“ผมรู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษ แต่สิ่งที่ชอบที่สุดจากการเป็นฝาแฝดคือ การหลอกเพื่อนและครู” อาบี คู่แฝดของอานูสำทับ
“ครูชอบจำเราสลับกัน บางครั้งที่เรารู้สึกแผลงขึ้นมา เราจะสลับห้องเรียนกันเพื่อให้เพื่อนๆ กับครูงงเล่น” ชาฮาลาและชาฮานา คู่แฝดวัย 5 ขวบช่วยกันเล่า