รอยเตอร์- ผู้แทนจากหลายชาติพร้อมใจเดินออกจากห้องประชุมต่อต้านการเหยียดผิวขององค์การสหประชาชาติที่นครเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันจันทร์(20) หลังจากประธานาธิบดีมะห์มูด อะห์มาดิเนจัดแห่งอิหร่านขึ้นกล่าวสุนทรพจน์โจมตีอิสราเอลด้วยถ้อยคำรุนแรง
การ "วอล์กเอาต์ " ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่อะห์มาดิเนจัด ซึ่งเคยออกมาเรียกร้องให้ลบรัฐยิวออกจากแผนที่โลก ได้กล่าวสุนทรพจน์กลางที่ประชุมว่า ประเทศอิสราเอลซึ่งก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1948 ถือเป็นชาติที่มีรัฐบาลที่กดขี่และเหยียดผิวอย่างร้ายแรงที่สุด
ผู้นำอิหร่านซึ่งมีวัย 52 ปี กล่าวโจมตีอิสราเอลว่า หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวนำเรื่องความทุกข์จากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพนาซีมาบังหน้า แล้วใช้การรุกรานทางทหาร ทำให้ชาวปาเลสไตน์ต้องกลายเป็นประชาชนที่ไร้บ้าน จากนั้นก็นำผู้อพยพชาวยิวจากยุโรป สหรัฐอเมริกาและจากส่วนต่างๆของโลก เข้ามาสร้างรัฐบาลที่เหยียดผิวเต็มตัว ในดินแดนปาเลสไตน์ที่ตนยึดครองไว้
หลังจาก อะห์มาดิเนจัด เริ่มกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมได้ไม่นาน นักการทูตจากหลายสิบประเทศ รวมทั้ง ตัวแทนจากสหภาพยุโรป พากันเดินออกจากห้องประชุมทันที เพื่อแสดงการประท้วงซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในเวทีการประชุมของสหประชาชาติ
ผู้แทนส่วนใหญ่ได้กลับเข้าห้องประชุมเมื่ออะห์มาดิเนจัด กล่าวจบ ขณะที่นักการ
ทูตของหลายชาติ อาทิ สาธารณรัฐเช็ก ประกาศจะไม่เข้าร่วมประชุมอีก
ด้านบันคีมุน เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ ตำหนิสุนทรพจน์ของผู้นำอิหร่าน และกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีประเทศใดสามารถทำให้ที่ประชุมปั่นป่วนได้เช่นนี้
นอกจากนั้น ยังกล่าวว่ารู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่อะห์มาดิเนจัดไม่สนใจคำขอร้องของเขาในช่วงก่อนขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่ไม่ต้องการให้ผู้นำอิหร่านสร้างปัญหาใดๆ ให้กับที่ประชุม
อย่างไรก็ตาม แม้เลขาธิการสหประชาชาติจะกล่าวตำหนิสุนทรพจน์ของผู้นำอิหร่าน แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างผลกระทบทางการทูตอย่างมาก โดยล่าสุดในวันจันทร์ (20)ทางการอิสราเอลได้เรียกเอกอัครราชทูตของตนประจำสวิตเซอร์แลนด์กลับประเทศ เพื่อประท้วงการตัดสินใจของ ฮันส์ รูดอล์ฟ แมร์ซ ประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ที่ยอมให้อะห์มาดิเนจัดเข้าพบเมื่อวันอาทิตย์(19)ที่ผ่านมา
รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ประณามสุนทรพจน์ในครั้งนี้ว่า "ชั่วร้ายและน่ารังเกียจ"ขณะที่สำนักวาติกันกล่าวว่า สุนทรพจน์ของผู้นำอิหร่านเป็นถ้อยแถลงของพวกหัวรุนแรงและไม่อาจจะยอมรับได้
นาวาเนเธม พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นชาวแอฟริกาใต้ ออกมาให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า รู้สึกตกใจและผิดหวังอย่างยิ่งกับทุกอย่างที่อะห์มาดิเนจัดพูดในที่ประชุม ขณะที่ปีเตอร์ กูเดอร์แรห์ม เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า อะห์มาดิเนจัด ไม่สมควรเข้าร่วมเวทีการประชุมเพื่อต่อต้านการเหยียดผิวและเชื้อชาติในครั้งนี้ด้วยซ้ำ เพราะ
คำพูดของเขาแสดงการเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม แม้การกระทำของผู้นำอิหร่านจะถูกจากชาติมหาอำนาจตะวันตกประณามอย่างรุนแรง แต่รายงานข่าวระบุว่า ยังมีผู้แทนจำนวนหนึ่งจากหลายประเทศชาติอื่นๆแสดงความชื่นชมโดยปรบมือตอบรับคำพูดของเขาเช่นกัน
ทังนี้ ก่อนหน้าที่การประชุมจะเริ่มขึ้น มีหลายประเทศประกาศจะคว่ำบาตรการประชุมในครั้งนี้ อาทิ สหรัฐฯ อิสราเอล แคนาดา เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และโปแลนด์ โดยเฉพาะสหรัฐฯซึ่งได้ประกาศไม่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ตั้งแต่เมื่อวันเสาร์ (18) ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า การประชุมในครั้งนี้คงจะถูกใช้เป็นเวทีเพื่อกล่าวโจมตีอิสราเอลอย่างไม่เป็นธรรม
การ "วอล์กเอาต์ " ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่อะห์มาดิเนจัด ซึ่งเคยออกมาเรียกร้องให้ลบรัฐยิวออกจากแผนที่โลก ได้กล่าวสุนทรพจน์กลางที่ประชุมว่า ประเทศอิสราเอลซึ่งก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1948 ถือเป็นชาติที่มีรัฐบาลที่กดขี่และเหยียดผิวอย่างร้ายแรงที่สุด
ผู้นำอิหร่านซึ่งมีวัย 52 ปี กล่าวโจมตีอิสราเอลว่า หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวนำเรื่องความทุกข์จากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพนาซีมาบังหน้า แล้วใช้การรุกรานทางทหาร ทำให้ชาวปาเลสไตน์ต้องกลายเป็นประชาชนที่ไร้บ้าน จากนั้นก็นำผู้อพยพชาวยิวจากยุโรป สหรัฐอเมริกาและจากส่วนต่างๆของโลก เข้ามาสร้างรัฐบาลที่เหยียดผิวเต็มตัว ในดินแดนปาเลสไตน์ที่ตนยึดครองไว้
หลังจาก อะห์มาดิเนจัด เริ่มกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมได้ไม่นาน นักการทูตจากหลายสิบประเทศ รวมทั้ง ตัวแทนจากสหภาพยุโรป พากันเดินออกจากห้องประชุมทันที เพื่อแสดงการประท้วงซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในเวทีการประชุมของสหประชาชาติ
ผู้แทนส่วนใหญ่ได้กลับเข้าห้องประชุมเมื่ออะห์มาดิเนจัด กล่าวจบ ขณะที่นักการ
ทูตของหลายชาติ อาทิ สาธารณรัฐเช็ก ประกาศจะไม่เข้าร่วมประชุมอีก
ด้านบันคีมุน เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ ตำหนิสุนทรพจน์ของผู้นำอิหร่าน และกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีประเทศใดสามารถทำให้ที่ประชุมปั่นป่วนได้เช่นนี้
นอกจากนั้น ยังกล่าวว่ารู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่อะห์มาดิเนจัดไม่สนใจคำขอร้องของเขาในช่วงก่อนขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่ไม่ต้องการให้ผู้นำอิหร่านสร้างปัญหาใดๆ ให้กับที่ประชุม
อย่างไรก็ตาม แม้เลขาธิการสหประชาชาติจะกล่าวตำหนิสุนทรพจน์ของผู้นำอิหร่าน แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างผลกระทบทางการทูตอย่างมาก โดยล่าสุดในวันจันทร์ (20)ทางการอิสราเอลได้เรียกเอกอัครราชทูตของตนประจำสวิตเซอร์แลนด์กลับประเทศ เพื่อประท้วงการตัดสินใจของ ฮันส์ รูดอล์ฟ แมร์ซ ประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ที่ยอมให้อะห์มาดิเนจัดเข้าพบเมื่อวันอาทิตย์(19)ที่ผ่านมา
รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ประณามสุนทรพจน์ในครั้งนี้ว่า "ชั่วร้ายและน่ารังเกียจ"ขณะที่สำนักวาติกันกล่าวว่า สุนทรพจน์ของผู้นำอิหร่านเป็นถ้อยแถลงของพวกหัวรุนแรงและไม่อาจจะยอมรับได้
นาวาเนเธม พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นชาวแอฟริกาใต้ ออกมาให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า รู้สึกตกใจและผิดหวังอย่างยิ่งกับทุกอย่างที่อะห์มาดิเนจัดพูดในที่ประชุม ขณะที่ปีเตอร์ กูเดอร์แรห์ม เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า อะห์มาดิเนจัด ไม่สมควรเข้าร่วมเวทีการประชุมเพื่อต่อต้านการเหยียดผิวและเชื้อชาติในครั้งนี้ด้วยซ้ำ เพราะ
คำพูดของเขาแสดงการเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม แม้การกระทำของผู้นำอิหร่านจะถูกจากชาติมหาอำนาจตะวันตกประณามอย่างรุนแรง แต่รายงานข่าวระบุว่า ยังมีผู้แทนจำนวนหนึ่งจากหลายประเทศชาติอื่นๆแสดงความชื่นชมโดยปรบมือตอบรับคำพูดของเขาเช่นกัน
ทังนี้ ก่อนหน้าที่การประชุมจะเริ่มขึ้น มีหลายประเทศประกาศจะคว่ำบาตรการประชุมในครั้งนี้ อาทิ สหรัฐฯ อิสราเอล แคนาดา เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และโปแลนด์ โดยเฉพาะสหรัฐฯซึ่งได้ประกาศไม่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ตั้งแต่เมื่อวันเสาร์ (18) ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า การประชุมในครั้งนี้คงจะถูกใช้เป็นเวทีเพื่อกล่าวโจมตีอิสราเอลอย่างไม่เป็นธรรม