อย่าแปลกใจ ถ้าออฟฟิศวันนี้มีการประจบสอพลอในดีกรีสูงกว่าปกติ โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าพฤติกรรม ‘เลียนาย’ มีแนวโน้มระบาดรุนแรงขึ้น เนื่องจากพนักงานพยายามรักษาเก้าอี้ของตัวเองไว้ให้ได้ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ
“คนที่มีแนวโน้มสอพลอจะแสดงพฤติกรรมนี้โดดเด่นขึ้น เพราะอยากแน่ใจว่าคนอื่นเห็นสิ่งที่ตนเองทำและต้องการสื่อ” แม็กซ์ คาลด์เวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสิทธิภาพบุคลากรของบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ ทาวเวอร์ส เพอร์ริน บอกและสำทับว่า
“ออกจะจิตหน่อยๆ ประมาณว่าฉันไม่ได้แค่อยากทำงานให้ได้ดีเท่านั้น แต่ฉันอยากให้คนอื่นเห็นว่าฉันทำงานดีด้วย”
เจนนิเฟอร์ แชตแมน ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เบิร์กเลย์ เสริมว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะชัดเจนขึ้นเมื่อมีเดิมพันสูง
“เป็นสิ่งที่เราทำเมื่อรู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัยหรืออาจได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของคนอื่น ฉันคาดได้เลยว่าถ้าเราลองเก็บข้อมูลในขณะนี้ เราจะพบการประจบประแจงในที่ทำงานมากขึ้นเพราะคนรู้สึกไม่มั่นใจในตำแหน่งงานของตนมากขึ้น”
ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว มีแนวโน้มมากขึ้นว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะเยินยอแม้กระทั่งเป็นการตัดสินใจหรือใช้วิจารณญาณผิดๆ ของเจ้านาย หรือหลีกเลี่ยงการรับหน้าที่แจ้งข่าวร้ายหรือไม่ก็ไม่กล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งแชตแมนบอกว่าไม่ใช่แนวทางที่ดีเลยสำหรับธุรกิจ
แต่สำหรับนักวิจัยบางคน การพยายามทำตัวเป็นที่โปรดปรานของผู้บังคับบัญชาได้ผลคุ้มค่า
ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยเทกซัสพบว่า การท้าทายประธานบริหารให้น้อยลง แต่ชมมากขึ้น และเป็นธุระจัดการเรื่องส่วนตัวให้ซีอีโอ ทำให้พนักงานผู้นั้นมีแนวโน้มได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารเพิ่มขึ้น 64%
ขณะที่ในการศึกษาของแชตแมนพบว่า คนที่หางานทำและใช้พฤติกรรมประจบเอาใจมีแนวโน้มได้งานมากขึ้น 20%
“เป็นธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวคือผู้ที่ให้ข้อมูลแง่บวกที่ทำให้เจ้านายรู้สึกดีกับการตัดสินใจของตัวเอง ซึ่งทำให้เจ้านายมั่นใจในตนเองมากขึ้น มีแนวโน้มได้ดิบได้ดีกว่าพนักงานคนอื่น” แชตแมนสรุป
ฟรานเชส โคล โจนส์ โค้ชด้านวิชาชีพการทำงาน รับลูกว่าไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะไปทำงานเช้าขึ้น กลับช้าหน่อย เข้าประชุมและอาสาทำงานเพิ่มในขณะที่เศรษฐกิจยังออกอาการน่าเป็นห่วงเช่นปัจจุบัน
“ในช่วงเวลาแบบนี้ สิ่งที่ควรทำคือเอาใจนาย พนักงานต้องยืดหยุ่น คล่องแคล่ว สร้างสรรค์และมุ่งมั่น”
สตีเฟน วิสคูซี ผู้เขียน ‘บัลเล็ตพรูฟ ออฟ ยัวร์ จ็อบ’ แนะนำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานแบบง่ายๆ
“ถ้าคุณมาทำงานเร็วกว่าเจ้านายสัก 5 นาทีและกลับช้ากว่าสัก 5 นาที เจ้านายไม่รู้หรอกว่าคุณอยู่ที่ทำงานนานแค่ไหน เขารู้แค่ว่าคุณขยันขันแข็งทำงานเท่านั้น”
ฟรานซี ดาลตัน เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ ดาลตัน อัลลิแอนซ์ มองว่าการวิจารณ์เพื่อนร่วมงานว่าเลียนาย อาจทำให้พนักงานคนนั้นถูกมองว่าอิจฉาตาร้อนที่เห็นเพื่อนได้ดิบได้ดีมีผลงานโดดเด่นกว่า
ขณะที่บิลล์ แฮนโนเวอร์ นักเขียนเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมในที่ทำงาน ชี้ว่าคนที่เคารพในคุณค่าของตัวเอง เพื่อนร่วมงานและผู้นำ จะรู้สึกว่าการประจบนายเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเรื่องน่าละอายและไร้ค่า และจะไม่ยอมปล่อยให้เพื่อนทำแบบนั้น
“คนที่มีแนวโน้มสอพลอจะแสดงพฤติกรรมนี้โดดเด่นขึ้น เพราะอยากแน่ใจว่าคนอื่นเห็นสิ่งที่ตนเองทำและต้องการสื่อ” แม็กซ์ คาลด์เวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสิทธิภาพบุคลากรของบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ ทาวเวอร์ส เพอร์ริน บอกและสำทับว่า
“ออกจะจิตหน่อยๆ ประมาณว่าฉันไม่ได้แค่อยากทำงานให้ได้ดีเท่านั้น แต่ฉันอยากให้คนอื่นเห็นว่าฉันทำงานดีด้วย”
เจนนิเฟอร์ แชตแมน ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เบิร์กเลย์ เสริมว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะชัดเจนขึ้นเมื่อมีเดิมพันสูง
“เป็นสิ่งที่เราทำเมื่อรู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัยหรืออาจได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของคนอื่น ฉันคาดได้เลยว่าถ้าเราลองเก็บข้อมูลในขณะนี้ เราจะพบการประจบประแจงในที่ทำงานมากขึ้นเพราะคนรู้สึกไม่มั่นใจในตำแหน่งงานของตนมากขึ้น”
ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว มีแนวโน้มมากขึ้นว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะเยินยอแม้กระทั่งเป็นการตัดสินใจหรือใช้วิจารณญาณผิดๆ ของเจ้านาย หรือหลีกเลี่ยงการรับหน้าที่แจ้งข่าวร้ายหรือไม่ก็ไม่กล่าวถึงอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งแชตแมนบอกว่าไม่ใช่แนวทางที่ดีเลยสำหรับธุรกิจ
แต่สำหรับนักวิจัยบางคน การพยายามทำตัวเป็นที่โปรดปรานของผู้บังคับบัญชาได้ผลคุ้มค่า
ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยเทกซัสพบว่า การท้าทายประธานบริหารให้น้อยลง แต่ชมมากขึ้น และเป็นธุระจัดการเรื่องส่วนตัวให้ซีอีโอ ทำให้พนักงานผู้นั้นมีแนวโน้มได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารเพิ่มขึ้น 64%
ขณะที่ในการศึกษาของแชตแมนพบว่า คนที่หางานทำและใช้พฤติกรรมประจบเอาใจมีแนวโน้มได้งานมากขึ้น 20%
“เป็นธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวคือผู้ที่ให้ข้อมูลแง่บวกที่ทำให้เจ้านายรู้สึกดีกับการตัดสินใจของตัวเอง ซึ่งทำให้เจ้านายมั่นใจในตนเองมากขึ้น มีแนวโน้มได้ดิบได้ดีกว่าพนักงานคนอื่น” แชตแมนสรุป
ฟรานเชส โคล โจนส์ โค้ชด้านวิชาชีพการทำงาน รับลูกว่าไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะไปทำงานเช้าขึ้น กลับช้าหน่อย เข้าประชุมและอาสาทำงานเพิ่มในขณะที่เศรษฐกิจยังออกอาการน่าเป็นห่วงเช่นปัจจุบัน
“ในช่วงเวลาแบบนี้ สิ่งที่ควรทำคือเอาใจนาย พนักงานต้องยืดหยุ่น คล่องแคล่ว สร้างสรรค์และมุ่งมั่น”
สตีเฟน วิสคูซี ผู้เขียน ‘บัลเล็ตพรูฟ ออฟ ยัวร์ จ็อบ’ แนะนำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานแบบง่ายๆ
“ถ้าคุณมาทำงานเร็วกว่าเจ้านายสัก 5 นาทีและกลับช้ากว่าสัก 5 นาที เจ้านายไม่รู้หรอกว่าคุณอยู่ที่ทำงานนานแค่ไหน เขารู้แค่ว่าคุณขยันขันแข็งทำงานเท่านั้น”
ฟรานซี ดาลตัน เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ ดาลตัน อัลลิแอนซ์ มองว่าการวิจารณ์เพื่อนร่วมงานว่าเลียนาย อาจทำให้พนักงานคนนั้นถูกมองว่าอิจฉาตาร้อนที่เห็นเพื่อนได้ดิบได้ดีมีผลงานโดดเด่นกว่า
ขณะที่บิลล์ แฮนโนเวอร์ นักเขียนเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมในที่ทำงาน ชี้ว่าคนที่เคารพในคุณค่าของตัวเอง เพื่อนร่วมงานและผู้นำ จะรู้สึกว่าการประจบนายเพื่อให้ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเรื่องน่าละอายและไร้ค่า และจะไม่ยอมปล่อยให้เพื่อนทำแบบนั้น