รถตำรวจเมืองผู้ดีติดอาวุธใหม่สุดไฮเทค กล้องสอดแนมความแรงสูงคอยสอดส่ายสายตาค้นหาผู้ขับขี่ที่สมาธิวอกแวกจากการจราจรเบื้องหน้า
รถอัจฉริยะที่ติดตั้งกล้องสอดแนมที่สามารถซูมระยะไกลไว้บนเสาวิทยุจะคอยตรวจตราหาผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ กินอาหาร แต่งหน้า หรือขับรถผิดกฎจราจรและถ่ายภาพเป็นหลักฐานไว้
ตำรวจอังกฤษอวดอ้างว่ารถรุ่นใหม่นี้ ซึ่งใช้เทคโนโลยีคล้ายกับที่กูเกิลใช้ทำแผนที่เมืองและถนนหนทาง จะช่วยลดจำนวนการเสียชีวิตบนท้องถนน ขณะที่ผู้ขับขี่โวยว่ารถ ‘บิ๊กบราเธอร์’ เป็นเพียงเครื่องมือใหม่ในการหาเงินของรัฐบาล และ ‘ภาษี’ ที่ขูดรีดจากผู้ขับขี่
ปัจจุบัน กระทรวงคลังมีรายได้จากค่าปรับบนท้องถนนกว่า 105 ล้านปอนด์ต่อปี
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ทางการอังกฤษได้เริ่มนำร่องทดสอบรถตำรวจอัจฉริยะในเกรทเตอร์แมนเชสเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่าผู้ขับขี่ที่ขาดสมาธิเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุกว่า 400 กรณีในรอบสองปีที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส 25 ราย
ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือจะถูกส่งค่าปรับเรียกเก็บเงินถึงบ้าน 60 ปอนด์ และถูกหักคะแนน 3 แต้มในใบขับขี่ ส่วนผู้ที่กล้องสอดแนมจับได้ว่าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยหรือกินอาหารขณะขับรถจะถูกปรับ 30 ปอนด์ และผู้ที่ไม่ยอมไปจ่ายค่าปรับจะถูกนำตัวขึ้นศาล
คาเรน เดลานีย์ จากกลุ่มรณรงค์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ไดรฟ์เซฟ สนับสนุนแผนการใช้รถตำรวจอัจฉริยะเต็มที่
“รถมากมายในขณะนี้ติดตั้งอุปกรณ์ไฮเทคที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าในบ้านหรือที่ทำงานเสียอีก เช่น ระบบนำทางด้วยดาวเทียม ระบบสื่อสารและระบบเสียงที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุด แถมยังมีสิ่งดึงดูดความสนใจอื่นๆ อีกเพียบ เช่น หน้าปัดที่มีระบบการทำงานซับซ้อน กาแฟร้อนๆ และการคุยกับคนที่ร่วมทางไปด้วย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ขับขี่บางคนไม่สนใจกับการจราจรเบื้องหน้า
“นอกจากนี้ รถตำรวจอัจฉริยะยังนำไปใช้ในพื้นที่ที่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระบุว่ามีสถิติการชนจากการที่ผู้ขับขี่เสียสมาธิสูง”
แต่สำหรับไนเจล ฮัมฟรีส์ จากสมาคมผู้ขับขี่แห่งอังกฤษ มองต่างกัน
“นี่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลชัดๆ ทางการอาจติดตั้งระบบบางอย่างในรถเพื่อตรวจสอบว่าผู้ขับขี่คิดอะไรอยู่ จะได้รู้ว่าคนขับมีสมาธิกับการขับรถหรือไม่ หรือว่ากำลังคิดเรื่องอื่น เทคโนโลยีนอกเหนือจากนั้นผมว่าเปล่าประโยชน์ ผมคิดว่าไม่ควรมีข้ออ้างที่จะไม่มีตำรวจคอยสอดส่องผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยประมาทบนท้องถนน”
เช่นเดียวกับปีเตอร์ โรเบิร์ตส์ จากกลุ่มไดรฟ์เวอร์ส อัลลิแอนซ์
“ไม่ว่าใครก็ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับกล้องสอดแนมที่สามารถสอดส่องเข้าไปในรถว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ผมว่าวิธีเดิมๆ ในการที่ตำรวจคอยจับตาอยู่ริมถนนว่าคนขับรถคนไหนใช้มือถือน่าจะดีกว่า”
รถอัจฉริยะที่ติดตั้งกล้องสอดแนมที่สามารถซูมระยะไกลไว้บนเสาวิทยุจะคอยตรวจตราหาผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ กินอาหาร แต่งหน้า หรือขับรถผิดกฎจราจรและถ่ายภาพเป็นหลักฐานไว้
ตำรวจอังกฤษอวดอ้างว่ารถรุ่นใหม่นี้ ซึ่งใช้เทคโนโลยีคล้ายกับที่กูเกิลใช้ทำแผนที่เมืองและถนนหนทาง จะช่วยลดจำนวนการเสียชีวิตบนท้องถนน ขณะที่ผู้ขับขี่โวยว่ารถ ‘บิ๊กบราเธอร์’ เป็นเพียงเครื่องมือใหม่ในการหาเงินของรัฐบาล และ ‘ภาษี’ ที่ขูดรีดจากผู้ขับขี่
ปัจจุบัน กระทรวงคลังมีรายได้จากค่าปรับบนท้องถนนกว่า 105 ล้านปอนด์ต่อปี
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ทางการอังกฤษได้เริ่มนำร่องทดสอบรถตำรวจอัจฉริยะในเกรทเตอร์แมนเชสเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่าผู้ขับขี่ที่ขาดสมาธิเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุกว่า 400 กรณีในรอบสองปีที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส 25 ราย
ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือจะถูกส่งค่าปรับเรียกเก็บเงินถึงบ้าน 60 ปอนด์ และถูกหักคะแนน 3 แต้มในใบขับขี่ ส่วนผู้ที่กล้องสอดแนมจับได้ว่าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยหรือกินอาหารขณะขับรถจะถูกปรับ 30 ปอนด์ และผู้ที่ไม่ยอมไปจ่ายค่าปรับจะถูกนำตัวขึ้นศาล
คาเรน เดลานีย์ จากกลุ่มรณรงค์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ไดรฟ์เซฟ สนับสนุนแผนการใช้รถตำรวจอัจฉริยะเต็มที่
“รถมากมายในขณะนี้ติดตั้งอุปกรณ์ไฮเทคที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าในบ้านหรือที่ทำงานเสียอีก เช่น ระบบนำทางด้วยดาวเทียม ระบบสื่อสารและระบบเสียงที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุด แถมยังมีสิ่งดึงดูดความสนใจอื่นๆ อีกเพียบ เช่น หน้าปัดที่มีระบบการทำงานซับซ้อน กาแฟร้อนๆ และการคุยกับคนที่ร่วมทางไปด้วย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ขับขี่บางคนไม่สนใจกับการจราจรเบื้องหน้า
“นอกจากนี้ รถตำรวจอัจฉริยะยังนำไปใช้ในพื้นที่ที่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระบุว่ามีสถิติการชนจากการที่ผู้ขับขี่เสียสมาธิสูง”
แต่สำหรับไนเจล ฮัมฟรีส์ จากสมาคมผู้ขับขี่แห่งอังกฤษ มองต่างกัน
“นี่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลชัดๆ ทางการอาจติดตั้งระบบบางอย่างในรถเพื่อตรวจสอบว่าผู้ขับขี่คิดอะไรอยู่ จะได้รู้ว่าคนขับมีสมาธิกับการขับรถหรือไม่ หรือว่ากำลังคิดเรื่องอื่น เทคโนโลยีนอกเหนือจากนั้นผมว่าเปล่าประโยชน์ ผมคิดว่าไม่ควรมีข้ออ้างที่จะไม่มีตำรวจคอยสอดส่องผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยประมาทบนท้องถนน”
เช่นเดียวกับปีเตอร์ โรเบิร์ตส์ จากกลุ่มไดรฟ์เวอร์ส อัลลิแอนซ์
“ไม่ว่าใครก็ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับกล้องสอดแนมที่สามารถสอดส่องเข้าไปในรถว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ผมว่าวิธีเดิมๆ ในการที่ตำรวจคอยจับตาอยู่ริมถนนว่าคนขับรถคนไหนใช้มือถือน่าจะดีกว่า”