เอเอฟพี - บรรดานักวิเคราะห์ออกโรงเตือนว่าผู้นำกลุ่มจี 20 ที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่กรุงลอนดอนในวันนี้ (2) จะต้องหยุดดึงดันแตกแยกกันในเรื่องแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ และลงมือแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกในรอบหลายทศวรรษนี้ในทันที
"กลุ่มจี 20 จะต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด เนื่องจากวิกฤตคราวนี้ยังห่างไกลจากการยุติดับมอด และเศรษฐกิจโลกก็อยู่ในสภาพบอบบาง หนำซ้ำยังกำลังเผชิญกับแรงกดดันให้ตกต่ำลงอย่างหนักด้วย" เจอราร์ด ลีองส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์กล่าว
ทั้งนี้ วิกฤตการเงินครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2007 โดยมีต้นตออยู่ที่การลงทุนผิดพลาดในตลาดตราสารหนี้ที่อิงกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทซับไพรม์ แล้วตราสารหนี้เหล่านี้ก็ล้มครืนเป็นแถว จนส่งผลให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930
การประชุมจี 20 ครั้งนี้จึงมีเดิมพันสูงมาก เพราะจะเป็นเวทีให้พวกผู้นำประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่รายใหญ่ๆ ได้มาหารือกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษผู้เป็นเจ้าภาพ ก็ได้เรียกร้องให้ทั่วโลกจัดทำ "ข้อตกลงใหม่" (new deal) เพื่อเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจโลกอันเลวร้ายในขณะนี้ และเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา บราวน์ยังเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมกันวางพื้นฐานเพื่อการสร้างระบบการเงินที่จะมีระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม พวกผู้นำทั้งหลายก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมากเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา กล่าวคือ บราวน์และประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯนั้น สนับสนุนแนวคิดที่เน้นให้ใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ ประสานความร่วมมือกัน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจโลกเดินหน้าต่อไป เช่นเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ต้องการให้ทั่วโลกดำเนินแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยควรจะมีมูลค่าไม่เกินร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)
ทว่าเรื่องนี้ถูกคัดค้านอย่างหนักแน่นจากหลายประเทศ โดยเฉพาะเยอรมนี ซึ่งเป็นห่วงภาระหนี้สาธารณะของตน จึงต้องการรอดูผลของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเสียก่อน แล้วค่อยผลักดันแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ต่อไป นอกจากนั้นกลุ่มนี้ยังเห็นว่าเรื่องสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการ ควรจะเป็นการปฏิรูประบบการเงินโลก
"หลายสัปดาห์มาแล้วที่มีการพูดกันว่าการประชุมสุดยอดจี 20 จะเป็นโอกาสสำคัญให้ประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจได้ประสานความร่วมมือกันเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจ แต่ดูเหมือนในความเป็นจริงจะไม่ใช่เช่นนั้นเสียแล้วเพราะต่างฝ่ายต่างยังมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจกับการวางระเบียบทางด้านการเงิน"นาริมาน เบห์ราเวช นักเศรษฐศาสตร์ของ ไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ กล่าว
"ครั้งนี้จะเป็นการประชุมสุดยอดในต่างประเทศครั้งสำคัญครั้งแรกของโอบามา เลยมีคนคาดหวังกันไว้สูงมากว่าจะมีการพูดถึงข้อตกลงใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้งทั่วโลกจะลงมือปรับปรุงระบบการเงินให้ถูกต้อง" เขากล่าวต่อ
ขณะที่ลีองส์เสนอว่ากลุ่มจี 20 จะต้องบรรลุพันธกิจสำคัญ 3 ประการด้วยกันคือ "จะต้องสัญญาว่าจะผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปเพื่อเพิ่มปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดและป้องกันไม่ให้คนว่างงานเพิ่มขึ้น"
นอกจากนั้น จี 20 "จะต้องสัญญาว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการค้า และป้องกันไม่ให้เกิดลัทธิกีดกันทางการค้า" และ "จะต้องสัญญาว่าจะวางระเบียบทางการเงินอันสมเหตุสมผลและโปร่งใสอย่างเต็มที่ เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจและทำให้เกิดการไหลเวียนของการกู้ยืมอีกครั้ง"
ส่วนจูเลียน เจสซอป นักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศแห่งบริษัทที่ปรึกษาแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ก็เตือนว่ากลุ่มจี 20 "กำลังตกอยู่ในอันตรายจากการที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ต่างๆ นานา แต่ทำตามคำสัญญาได้น้อยกว่าที่ควร"
เขายังเห็นว่าโอกาสที่จะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลกเพิ่มเติมคงมีน้อย อีกทั้งยังไม่มีสัญญาณใดๆ บ่งชี้ว่าจะมีข้อตกลงในเรื่องวิธีการที่ดีที่สุดในการสนับสนุนและปฏิรูประบบการเงินโลกด้วย แต่ที่ต้องจับตาดูก็คืออาจมีความริเริ่มในส่วนที่จะฟื้นฟูการค้าโลกขึ้นมาได้
"กลุ่มจี 20 จะต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด เนื่องจากวิกฤตคราวนี้ยังห่างไกลจากการยุติดับมอด และเศรษฐกิจโลกก็อยู่ในสภาพบอบบาง หนำซ้ำยังกำลังเผชิญกับแรงกดดันให้ตกต่ำลงอย่างหนักด้วย" เจอราร์ด ลีองส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์กล่าว
ทั้งนี้ วิกฤตการเงินครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2007 โดยมีต้นตออยู่ที่การลงทุนผิดพลาดในตลาดตราสารหนี้ที่อิงกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทซับไพรม์ แล้วตราสารหนี้เหล่านี้ก็ล้มครืนเป็นแถว จนส่งผลให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930
การประชุมจี 20 ครั้งนี้จึงมีเดิมพันสูงมาก เพราะจะเป็นเวทีให้พวกผู้นำประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่รายใหญ่ๆ ได้มาหารือกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษผู้เป็นเจ้าภาพ ก็ได้เรียกร้องให้ทั่วโลกจัดทำ "ข้อตกลงใหม่" (new deal) เพื่อเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจโลกอันเลวร้ายในขณะนี้ และเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา บราวน์ยังเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมกันวางพื้นฐานเพื่อการสร้างระบบการเงินที่จะมีระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม พวกผู้นำทั้งหลายก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมากเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา กล่าวคือ บราวน์และประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯนั้น สนับสนุนแนวคิดที่เน้นให้ใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ ประสานความร่วมมือกัน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจโลกเดินหน้าต่อไป เช่นเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ต้องการให้ทั่วโลกดำเนินแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยควรจะมีมูลค่าไม่เกินร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)
ทว่าเรื่องนี้ถูกคัดค้านอย่างหนักแน่นจากหลายประเทศ โดยเฉพาะเยอรมนี ซึ่งเป็นห่วงภาระหนี้สาธารณะของตน จึงต้องการรอดูผลของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเสียก่อน แล้วค่อยผลักดันแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ต่อไป นอกจากนั้นกลุ่มนี้ยังเห็นว่าเรื่องสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการ ควรจะเป็นการปฏิรูประบบการเงินโลก
"หลายสัปดาห์มาแล้วที่มีการพูดกันว่าการประชุมสุดยอดจี 20 จะเป็นโอกาสสำคัญให้ประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจได้ประสานความร่วมมือกันเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจ แต่ดูเหมือนในความเป็นจริงจะไม่ใช่เช่นนั้นเสียแล้วเพราะต่างฝ่ายต่างยังมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจกับการวางระเบียบทางด้านการเงิน"นาริมาน เบห์ราเวช นักเศรษฐศาสตร์ของ ไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ กล่าว
"ครั้งนี้จะเป็นการประชุมสุดยอดในต่างประเทศครั้งสำคัญครั้งแรกของโอบามา เลยมีคนคาดหวังกันไว้สูงมากว่าจะมีการพูดถึงข้อตกลงใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้งทั่วโลกจะลงมือปรับปรุงระบบการเงินให้ถูกต้อง" เขากล่าวต่อ
ขณะที่ลีองส์เสนอว่ากลุ่มจี 20 จะต้องบรรลุพันธกิจสำคัญ 3 ประการด้วยกันคือ "จะต้องสัญญาว่าจะผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปเพื่อเพิ่มปริมาณความต้องการสินค้าในตลาดและป้องกันไม่ให้คนว่างงานเพิ่มขึ้น"
นอกจากนั้น จี 20 "จะต้องสัญญาว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการค้า และป้องกันไม่ให้เกิดลัทธิกีดกันทางการค้า" และ "จะต้องสัญญาว่าจะวางระเบียบทางการเงินอันสมเหตุสมผลและโปร่งใสอย่างเต็มที่ เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจและทำให้เกิดการไหลเวียนของการกู้ยืมอีกครั้ง"
ส่วนจูเลียน เจสซอป นักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศแห่งบริษัทที่ปรึกษาแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ก็เตือนว่ากลุ่มจี 20 "กำลังตกอยู่ในอันตรายจากการที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ต่างๆ นานา แต่ทำตามคำสัญญาได้น้อยกว่าที่ควร"
เขายังเห็นว่าโอกาสที่จะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลกเพิ่มเติมคงมีน้อย อีกทั้งยังไม่มีสัญญาณใดๆ บ่งชี้ว่าจะมีข้อตกลงในเรื่องวิธีการที่ดีที่สุดในการสนับสนุนและปฏิรูประบบการเงินโลกด้วย แต่ที่ต้องจับตาดูก็คืออาจมีความริเริ่มในส่วนที่จะฟื้นฟูการค้าโลกขึ้นมาได้