นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วย ความปรองดองแห่งชาติ หรือกฎหมายนิรโทษกรรมว่า ที่ผิดปกติอยู่คือ มีการ นิรโทษกรรมการกระทำไปจนถึงวันที่ 5 พ.ค. นี้ ซึ่งตนก็แปลกใจอยู่ สำหรับตน ไม่เห็นด้วย และไม่คิดว่าจะเป็นทางออกในขณะนี้ เพราะจะเป็นการจุดชนวนขึ้นมา ให้คนกลุ่มหนึ่งคัดค้าน ตนก็ยืนยันเหมือนเดิมว่า ให้ไปตั้งต้นบนเวทีกลาง หากวันนี้ (26 มี.ค.)ประธานและผู้เกี่ยวข้องประสานงานนัดหมายกันได้จะมาคุยกับฝ่ายค้าน
ส่วนที่มี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลร่วมลงชื่อด้วยนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นสิทธิของ ส.ส.ในการเข้าไปเสนอกฎหมายต่างๆ ตามระบบ แต่ในแง่ของรัฐบาล ถ้าเรื่องนี้เข้าไปตนคิดว่าจะไม่ปรองดอง จะขัดแย้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่าในแง่กฎหมายที่ระบุให้นิรโทษกรรมจนถึงวันที่ 5 พ.ค. เป็นเรื่องแปลก นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่าใช่ ถือว่าแปลกจากวันนี้ถึงวันที่ 5 พ.ค. ทำไมต้องนิรโทษกรรม ส่วนเพราะอะไรต้องไปถามผู้เสนอร่างกฎหมายนี้ ส่วนทำให้เราคิดว่าจะมีอะไรรุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่ตนไม่ทราบ ต้องถามผู้เสนอว่าทำไมถึงนิรโทษกรรมล่วงหน้าไปถึงวันที่ 5 พ.ค.
ผู้สื่อข่าวถามว่าประเมินเตรียมการรับมืออย่างไรก่อนวันที่ 5 พ.ค. นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่มีความประมาทอะไรเลย ทางนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้เตรียมการประชุมติดตามใกล้ชิดมาประมาณ1สัปดาห์แล้ว เมื่อถามว่า นายกฯจะติดตามกับประธานสภาว่าจะบรรจุวาระนี้เข้าประชุมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่แทรกแซงกิจการสภา
ต่อข้อถามว่าแต่ดูเหมือนว่า การเสนอจะเป็นการบีบและต่อรอง นายกรัฐมนตรีมีหลักการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่คิดเรื่องต่อรอง แต่ถ้าคุยกันด้วยเหตุและผลก็คุยกัน ความจริงก็มีคนเสนอกฎหมาย ในวันที่มีการประชุมกับสถาบันพระปกเกล้าก็มาคุยกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าวันที่ 5 พ.ค. เป็นวันดี เพราะเป็นวันฉัตรมงคลเหมาะแก่การนิรโทษกรรมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สามารถให้กฎหมายมีผลวันนั้นได้ ไม่เห็นจะต้องนิรโทษกรรมเหตุการณ์จนถึงวันที่ 5 พ.ค. เมื่อถามว่า คิดว่าจะทำให้การปฏิรูปการเมืองสะดุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ กลับมองว่าต้องมาคุยกัน เห็นชัดว่าแนวทางการที่เป็นไปได้มากกว่าคือปฏิรูปการเมือง เพราะตรงนี้ไม่ตอบโจทย์ เรื่องรัฐธรรมนูญอยู่ดี
ส่วนหลังสถานการณ์หน้าสิ่วหนาขวานเช่นนี้คนไทยจะมองสถานการณ์ การเมืองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนก็หวังว่าเราจะทำให้ทุกคนมองเห็นว่า วันนี้ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองคือเดินไปข้างหน้า ส่วนใครที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขอให้เรามีโอกาสดูแลให้ความเป็นธรรมกับเขา ถ้ามีส่วนใดที่เข้าใจคลาดเคลื่อน ก็ต้องมาคุยด้วยเหตุและผล คงต้องเดินไปในแนวนั้น
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการเสนอพ.ร.บ.ว่าด้วย ความปรองดองแห่งชาติของ ส.ส.ฝ่ายค้านนั้น ต้องดูไปก่อนว่า เขามีเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์อย่างไร เราจะรีบไปบอกว่าเขายื่นกฎหมายนี้มาเพื่อต้องการต่อรอง ก็จะกลายเป็นว่าเราไปหาเรื่อง ส่วนจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ตนยังไม่ได้คุยกัน แต่จุดยืนของตนเห็นว่าการนิรโทษกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ เพราะเป็นเรื่องของความผิดที่เกิดขึ้น และกระบวนการยุติธรรมได้ดำเนินการ ไปจนถึงที่สุดแล้ว ศาลได้พิพากษาแล้ว อยู่ๆ จะเอาตัวแทนของประชาชนซึ่งเป็นเสียงข้างมากของเราไปช่วยให้คนทำผิดพ้นโทษ วันข้างหน้าก็จะมีปัญหาอีก เพราะไม่เป็นธรรมกับประชาชนโดยทั่วไปที่เมื่อทำผิดแล้วก็ต้องรับโทษ เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้มีอิทธิพล หรือมีอิทธิฤทธิ์ ที่จะสั่งให้ ส.ส.มาออกกฎหมาย ยกโทษให้ ดังนั้นโดยหลักจึงไม่น่าจะเป็นไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้พูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ เพราะมี ส.ส. ของพรรคร่วมรัฐบาลร่วมลงชื่อสนับสนุนกฎหมายนิรโทษกรรมด้วย นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่ได้คุย เพราะเรื่องเพิ่งเกิดขึ้นก็ต้องดูกัน และเมื่อถึงเวลาก็ต้องคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลเป็นธรรมดา เพราะเราอยู่ด้วยกัน ก็ต้องถามว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ในกฎหมายเหล่านี้ แต่ว่าสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของ ส.ส.แต่ละคน ก็เป็นสิทธิของแต่ละพรรค
ส่วนกฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ก็ไม่ต้องกังวลใจ ไม่มีอะไรที่จะเป็นชนวนความแตกแยกอย่างที่กังวลใจ และเมื่อถึงเวลาก็คงต้องนั่งคุยกันในพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อชั่งน้ำหนักว่าอะไรจะเป็นผลดีผลเสียกับประเทศมากกว่ากัน เพราะทุกพรรคการเมืองก็มีหน้าที่ช่วยกันแก้ปัญหา เหมือนกับที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของประเทศก็มีหน้าที่เหมือนกัน
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่าการนัดตัวแทน พรรคการเมืองเพื่อประชุมวางกรอบปฏิรูปการเมืองและ การตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและการเมืองการปกครองคงจะหารือกัน ประมาณต้น เม.ย. จากที่เดิมนัดกันไว้วันที่ 26 มี.ค.เนื่องจากขณะนี้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาในฐานะสถาบันพระปกเกล้าที่รับหน้าที่ในการประสานงานเบื้องต้นยังไม่สามารถนัดตัวแทนทุกพรรคมาร่วมหารือกันได้ทันในสัปดาห์นี้ได้ ขณะที่สัปดาห์หน้านาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ติดภารกิจประชุมจี 20 ที่ประเทศอังกฤษ
นายชินวรณ์ กล่าวว่า จากการประสานกับนายวิทยุ บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ทราบว่าฝ่ายค้าพร้อมจะเข้าร่วม โดยเสนอให้มีการเชิญตัวแทนแต่ละพรรคเข้าร่วมประชุมด้วยอีกทั้งยังได้เร่งรัดให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระฯด้วย ส่วนปัญหาเรื่องตัวบุคคล เช่น การไม่ยอมรับนายสุจิต บุญบงการ ประธานสถาบันพัฒนาการเมือง มาเป็นประธานกรรมการอิสระฯ นั้นยังไม่มีการลงลึกเรื่องตัวบุคคล เพียงแต่มีแนวความคิดว่าคณะกรรมกรรดังกล่าวต้องได้บุคคลทีมีความเป็นกลาง เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของทุกฝ่าย
ยืนยันว่ารัฐบาลมีความจริงใจที่จะปฏิรูปการเมืองให้เป็นรูปธรรม อย่างเร็วที่สุดและปัญหาเรื่องบุคคลที่ถูกทาบทามเป็นกรรมการทยอยถอนตัวนั้นเป็นเพียงขั้นตอนการทาบทาม แต่ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนโยบายควรจะร่วมรับผิดชอบในการแสวงหาบุคคลที่เหมาะสมเข้าเป็นกรรมการ
นายชินวรณ์ กล่าวถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ของฝ่ายค้านค้านว่าพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า การเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว ต่อสภาฯ ไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ เนื่องจาก การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและความเดือนร้อนของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญกว่า อีกทั้งเห็นว่าการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว สอดคล้องกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง
ขอตั้งข้อสังเกตเนื้อหาของร่างกฎหมายยังต้องการการนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำความผิด ตั้งแต่เหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 ไปจนถึง 5 พฤษภาคม 2552 ซึ่งเป็นการคาดเดาล่วงหน้ากับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ด้าน นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา และประธาน วิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติว่า มีการเซ็นชื่อร่วมกันของ ส.ส.หลายพรรค ซึ่งเท่าที่ตนทราบมีไม่ต่ำกว่า 4 พรรค เพราะแต่ละพรรคเจตนาที่จะให้ยุติความขัดแย้งจึงไม่อยากให้มองไปในทางที่ไม่ดี แต่ถือว่าเป็นทางออกหนึ่ง ของบ้านเมือง และยืนยันว่าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของแผนตากสิน
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดจึงต้องกำหนดให้มีการนิรโทษกรรมระหว่างวันที่ 19 ก.ย.2549 ถึงเฉพาะวันที่ 5 พ.ค. 2552 ซึ่งตรงกับวันฉัตรมงคลนั้น นายวิทยา กล่าวว่า เรื่องนี้มีการเตรียมการไว้ก่อนนานแล้ว เพียงแต่รอให้ตกผลึก ทางความคิดเห็น โดยเอามาดูกันว่าแต่ละร่างนั้นมีประเด็นไหนบ้างที่ตรงกัน ซึ่งมีการพูดคุยกันนอกรอบพอสมควร
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่เกิดประโยชน์หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่หยุดการพูดผ่านวีดีโอลิงก์นั้น นายวิทยา กล่าวว่า ไม่จริง หากนายกรัฐมนตรีแสดงเจตนาที่จะแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นต้องนำเสนอ เข้าสู่สภาด้วยซ้ำ แต่ที่ผ่านมาก็ไม่เห็นมีการพูดถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเลย
สำหรับเรื่องการปฏิรูปการเมืองนั้น นายวิทยา กล่าวว่า ต้องรอให้มีการเสนอ มาก่อน เพราะที่นายกรัฐมนตรีแจ้งไว้วันนั้นเป็นเพียงบอกว่าจะมีการคุยกับประธานส.ส.พรรคเพื่อไทยและประธานวิปฝ่ายค้านของพรรคเพื่อไทย ดังนั้นคงต้องฟังดูก่อนจึงจะตัดสินใจได้ว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมด้วย
ด้านนายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การบรรจุวาระการประชุมร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ เป็นหน้าที่ของ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนการหยิบยก พ.ร.บ.มาพิจารณาเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับวิปรัฐบาลจะพิจารณา ซึ่งส.ส.ที่ไปศึกษาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวหากเห็นว่าประเทศชาติ ต้องการความปรองดองก็อาจจะเข้ามาสนับสนุนเรื่องนี้ เพราะตามรัฐธรรมนูญ ส.ส.มีเอกสิทธิ์ที่ไม่ต้องฟังมติพรรค
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการกำหนดวันนิรโทษกรรมถึงวันที่ 5 พ.ค. 2552 เป็นการนิรโทษกรรมล่วงหน้า โดยเฉพาะให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะก่อความรุนแรงในช่วงนี้นั้น นายประเกียรติ กล่าวว่า การนิรโทษกรรมจะดูเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง แต่หากเป็นกรณีกลุ่มเสื้อแดงบุกยึดทำเนียบฯเช่นเดียวกับกรณีของกลุ่มคนเสื้อเหลืองจะคุ้มครองเช่นเดีวยกันหรือไม่นั้น ตรงนี้ต้องเป็นเรื่องๆ ไป เราจะนิรโทษกรรมเฉพาะเรื่องที่เป็นการเมืองเท่านั้น ทั้งนี้ หากกระบวนการในการ พิจารณายืดออกไปเกินวันที่ 5 พ.ค. ตนยืนยันว่าจะไม่มีการยืดกรอบเวลา ในการนิรโทษกรรมออกไปอย่างแน่นอน
ส่วนที่มี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลร่วมลงชื่อด้วยนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นสิทธิของ ส.ส.ในการเข้าไปเสนอกฎหมายต่างๆ ตามระบบ แต่ในแง่ของรัฐบาล ถ้าเรื่องนี้เข้าไปตนคิดว่าจะไม่ปรองดอง จะขัดแย้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่าในแง่กฎหมายที่ระบุให้นิรโทษกรรมจนถึงวันที่ 5 พ.ค. เป็นเรื่องแปลก นายอภิสิทธิ์ ยอมรับว่าใช่ ถือว่าแปลกจากวันนี้ถึงวันที่ 5 พ.ค. ทำไมต้องนิรโทษกรรม ส่วนเพราะอะไรต้องไปถามผู้เสนอร่างกฎหมายนี้ ส่วนทำให้เราคิดว่าจะมีอะไรรุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่ตนไม่ทราบ ต้องถามผู้เสนอว่าทำไมถึงนิรโทษกรรมล่วงหน้าไปถึงวันที่ 5 พ.ค.
ผู้สื่อข่าวถามว่าประเมินเตรียมการรับมืออย่างไรก่อนวันที่ 5 พ.ค. นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่มีความประมาทอะไรเลย ทางนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้เตรียมการประชุมติดตามใกล้ชิดมาประมาณ1สัปดาห์แล้ว เมื่อถามว่า นายกฯจะติดตามกับประธานสภาว่าจะบรรจุวาระนี้เข้าประชุมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่แทรกแซงกิจการสภา
ต่อข้อถามว่าแต่ดูเหมือนว่า การเสนอจะเป็นการบีบและต่อรอง นายกรัฐมนตรีมีหลักการอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่คิดเรื่องต่อรอง แต่ถ้าคุยกันด้วยเหตุและผลก็คุยกัน ความจริงก็มีคนเสนอกฎหมาย ในวันที่มีการประชุมกับสถาบันพระปกเกล้าก็มาคุยกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าวันที่ 5 พ.ค. เป็นวันดี เพราะเป็นวันฉัตรมงคลเหมาะแก่การนิรโทษกรรมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สามารถให้กฎหมายมีผลวันนั้นได้ ไม่เห็นจะต้องนิรโทษกรรมเหตุการณ์จนถึงวันที่ 5 พ.ค. เมื่อถามว่า คิดว่าจะทำให้การปฏิรูปการเมืองสะดุดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ กลับมองว่าต้องมาคุยกัน เห็นชัดว่าแนวทางการที่เป็นไปได้มากกว่าคือปฏิรูปการเมือง เพราะตรงนี้ไม่ตอบโจทย์ เรื่องรัฐธรรมนูญอยู่ดี
ส่วนหลังสถานการณ์หน้าสิ่วหนาขวานเช่นนี้คนไทยจะมองสถานการณ์ การเมืองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนก็หวังว่าเราจะทำให้ทุกคนมองเห็นว่า วันนี้ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองคือเดินไปข้างหน้า ส่วนใครที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขอให้เรามีโอกาสดูแลให้ความเป็นธรรมกับเขา ถ้ามีส่วนใดที่เข้าใจคลาดเคลื่อน ก็ต้องมาคุยด้วยเหตุและผล คงต้องเดินไปในแนวนั้น
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการเสนอพ.ร.บ.ว่าด้วย ความปรองดองแห่งชาติของ ส.ส.ฝ่ายค้านนั้น ต้องดูไปก่อนว่า เขามีเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์อย่างไร เราจะรีบไปบอกว่าเขายื่นกฎหมายนี้มาเพื่อต้องการต่อรอง ก็จะกลายเป็นว่าเราไปหาเรื่อง ส่วนจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ตนยังไม่ได้คุยกัน แต่จุดยืนของตนเห็นว่าการนิรโทษกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ เพราะเป็นเรื่องของความผิดที่เกิดขึ้น และกระบวนการยุติธรรมได้ดำเนินการ ไปจนถึงที่สุดแล้ว ศาลได้พิพากษาแล้ว อยู่ๆ จะเอาตัวแทนของประชาชนซึ่งเป็นเสียงข้างมากของเราไปช่วยให้คนทำผิดพ้นโทษ วันข้างหน้าก็จะมีปัญหาอีก เพราะไม่เป็นธรรมกับประชาชนโดยทั่วไปที่เมื่อทำผิดแล้วก็ต้องรับโทษ เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้มีอิทธิพล หรือมีอิทธิฤทธิ์ ที่จะสั่งให้ ส.ส.มาออกกฎหมาย ยกโทษให้ ดังนั้นโดยหลักจึงไม่น่าจะเป็นไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้พูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ เพราะมี ส.ส. ของพรรคร่วมรัฐบาลร่วมลงชื่อสนับสนุนกฎหมายนิรโทษกรรมด้วย นายสุเทพ กล่าวว่า ยังไม่ได้คุย เพราะเรื่องเพิ่งเกิดขึ้นก็ต้องดูกัน และเมื่อถึงเวลาก็ต้องคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลเป็นธรรมดา เพราะเราอยู่ด้วยกัน ก็ต้องถามว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ในกฎหมายเหล่านี้ แต่ว่าสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนของ ส.ส.แต่ละคน ก็เป็นสิทธิของแต่ละพรรค
ส่วนกฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ก็ไม่ต้องกังวลใจ ไม่มีอะไรที่จะเป็นชนวนความแตกแยกอย่างที่กังวลใจ และเมื่อถึงเวลาก็คงต้องนั่งคุยกันในพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อชั่งน้ำหนักว่าอะไรจะเป็นผลดีผลเสียกับประเทศมากกว่ากัน เพราะทุกพรรคการเมืองก็มีหน้าที่ช่วยกันแก้ปัญหา เหมือนกับที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของประเทศก็มีหน้าที่เหมือนกัน
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่าการนัดตัวแทน พรรคการเมืองเพื่อประชุมวางกรอบปฏิรูปการเมืองและ การตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและการเมืองการปกครองคงจะหารือกัน ประมาณต้น เม.ย. จากที่เดิมนัดกันไว้วันที่ 26 มี.ค.เนื่องจากขณะนี้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาในฐานะสถาบันพระปกเกล้าที่รับหน้าที่ในการประสานงานเบื้องต้นยังไม่สามารถนัดตัวแทนทุกพรรคมาร่วมหารือกันได้ทันในสัปดาห์นี้ได้ ขณะที่สัปดาห์หน้านาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ติดภารกิจประชุมจี 20 ที่ประเทศอังกฤษ
นายชินวรณ์ กล่าวว่า จากการประสานกับนายวิทยุ บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ทราบว่าฝ่ายค้าพร้อมจะเข้าร่วม โดยเสนอให้มีการเชิญตัวแทนแต่ละพรรคเข้าร่วมประชุมด้วยอีกทั้งยังได้เร่งรัดให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระฯด้วย ส่วนปัญหาเรื่องตัวบุคคล เช่น การไม่ยอมรับนายสุจิต บุญบงการ ประธานสถาบันพัฒนาการเมือง มาเป็นประธานกรรมการอิสระฯ นั้นยังไม่มีการลงลึกเรื่องตัวบุคคล เพียงแต่มีแนวความคิดว่าคณะกรรมกรรดังกล่าวต้องได้บุคคลทีมีความเป็นกลาง เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของทุกฝ่าย
ยืนยันว่ารัฐบาลมีความจริงใจที่จะปฏิรูปการเมืองให้เป็นรูปธรรม อย่างเร็วที่สุดและปัญหาเรื่องบุคคลที่ถูกทาบทามเป็นกรรมการทยอยถอนตัวนั้นเป็นเพียงขั้นตอนการทาบทาม แต่ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนโยบายควรจะร่วมรับผิดชอบในการแสวงหาบุคคลที่เหมาะสมเข้าเป็นกรรมการ
นายชินวรณ์ กล่าวถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ของฝ่ายค้านค้านว่าพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า การเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว ต่อสภาฯ ไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ เนื่องจาก การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและความเดือนร้อนของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญกว่า อีกทั้งเห็นว่าการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว สอดคล้องกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง
ขอตั้งข้อสังเกตเนื้อหาของร่างกฎหมายยังต้องการการนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำความผิด ตั้งแต่เหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 ไปจนถึง 5 พฤษภาคม 2552 ซึ่งเป็นการคาดเดาล่วงหน้ากับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ด้าน นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา และประธาน วิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติว่า มีการเซ็นชื่อร่วมกันของ ส.ส.หลายพรรค ซึ่งเท่าที่ตนทราบมีไม่ต่ำกว่า 4 พรรค เพราะแต่ละพรรคเจตนาที่จะให้ยุติความขัดแย้งจึงไม่อยากให้มองไปในทางที่ไม่ดี แต่ถือว่าเป็นทางออกหนึ่ง ของบ้านเมือง และยืนยันว่าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของแผนตากสิน
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดจึงต้องกำหนดให้มีการนิรโทษกรรมระหว่างวันที่ 19 ก.ย.2549 ถึงเฉพาะวันที่ 5 พ.ค. 2552 ซึ่งตรงกับวันฉัตรมงคลนั้น นายวิทยา กล่าวว่า เรื่องนี้มีการเตรียมการไว้ก่อนนานแล้ว เพียงแต่รอให้ตกผลึก ทางความคิดเห็น โดยเอามาดูกันว่าแต่ละร่างนั้นมีประเด็นไหนบ้างที่ตรงกัน ซึ่งมีการพูดคุยกันนอกรอบพอสมควร
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่เกิดประโยชน์หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่หยุดการพูดผ่านวีดีโอลิงก์นั้น นายวิทยา กล่าวว่า ไม่จริง หากนายกรัฐมนตรีแสดงเจตนาที่จะแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นต้องนำเสนอ เข้าสู่สภาด้วยซ้ำ แต่ที่ผ่านมาก็ไม่เห็นมีการพูดถึงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญเลย
สำหรับเรื่องการปฏิรูปการเมืองนั้น นายวิทยา กล่าวว่า ต้องรอให้มีการเสนอ มาก่อน เพราะที่นายกรัฐมนตรีแจ้งไว้วันนั้นเป็นเพียงบอกว่าจะมีการคุยกับประธานส.ส.พรรคเพื่อไทยและประธานวิปฝ่ายค้านของพรรคเพื่อไทย ดังนั้นคงต้องฟังดูก่อนจึงจะตัดสินใจได้ว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมด้วย
ด้านนายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การบรรจุวาระการประชุมร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ เป็นหน้าที่ของ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนการหยิบยก พ.ร.บ.มาพิจารณาเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับวิปรัฐบาลจะพิจารณา ซึ่งส.ส.ที่ไปศึกษาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวหากเห็นว่าประเทศชาติ ต้องการความปรองดองก็อาจจะเข้ามาสนับสนุนเรื่องนี้ เพราะตามรัฐธรรมนูญ ส.ส.มีเอกสิทธิ์ที่ไม่ต้องฟังมติพรรค
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการกำหนดวันนิรโทษกรรมถึงวันที่ 5 พ.ค. 2552 เป็นการนิรโทษกรรมล่วงหน้า โดยเฉพาะให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะก่อความรุนแรงในช่วงนี้นั้น นายประเกียรติ กล่าวว่า การนิรโทษกรรมจะดูเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง แต่หากเป็นกรณีกลุ่มเสื้อแดงบุกยึดทำเนียบฯเช่นเดียวกับกรณีของกลุ่มคนเสื้อเหลืองจะคุ้มครองเช่นเดีวยกันหรือไม่นั้น ตรงนี้ต้องเป็นเรื่องๆ ไป เราจะนิรโทษกรรมเฉพาะเรื่องที่เป็นการเมืองเท่านั้น ทั้งนี้ หากกระบวนการในการ พิจารณายืดออกไปเกินวันที่ 5 พ.ค. ตนยืนยันว่าจะไม่มีการยืดกรอบเวลา ในการนิรโทษกรรมออกไปอย่างแน่นอน