เดลิเมล์ - สิ่งมีชีวิตน้อยๆ สวมผ้าอ้อมหน้าตาเศร้าสร้อยนอนให้น้ำเกลืออยู่บนเตียงที่มีลูกกรงกั้นกันตกท่ามกลางกิจกรรมวุ่นวายรอบตัว
ห่างออกไปไม่กี่ฟุต พยาบาลกำลังชงนม อีกคนเตรียมอ่างอาบน้ำ ที่โต๊ะใกล้ๆ กันมีปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันและขวดยาเรียงราย
ฉากแบบนี้อาจเห็นกันเป็นปกติในแผนกเด็กอ่อน แต่ที่ต่างกันคือสิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่มารับการรักษาที่นี่เป็นลูกอุรังอุตัง ไม่ใช่ทารกมนุษย์
แผนกเด็กอ่อนแห่งนี้ที่ตั้งอยู่กลางป่าในมาเลเซีย ในบูกิต เมอราห์ เลก ทาวน์ รีสอร์ต หรือที่เรียกขานกันว่าเกาะอุรังอุตัง เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางสำหรับอุรังอุตังเพียงแห่งเดียวในโลก
ผู้ป่วยทั้งหมดมาจากอุรังอุตังสายพันธุ์บอร์เนียว (Pongo Pygmaeus) ที่ใกล้สูญพันธุ์ และหากไม่มีโรงพยาบาลแห่งนี้ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 คงไม่มีอุรังอุตังค์สายพันธุ์นี้เหลือให้เห็นกันอีก
ลูกอุรังอุตังมากมายจากทั้งหมด 23 ตัวที่รับการรักษาอยู่ไม่ถูกแม่ทิ้งก็ถูกทำร้าย และถ้าไม่ได้กินนม พวกมันจะเป็นโรคขาดอาหารขั้นรุนแรง
ในโรงพยาบาล สัตว์เหล่านี้ได้รับการดูแลเช่นเดียวกับคนไข้ ทุกสองชั่วโมงจะมีการป้อนนมขวดและตรวจวัดสัญญาณชีพ ซึ่งรวมถึงความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือดและชีพจร
บนเตียงมีหมอนผ้าห่มพร้อม นอกจากนี้ยังมีตู้อบสำหรับลูกอุรังอุตังที่มีอุณหภูมิต่ำผิดปกติ
ทุกเช้า พยาบาลจะจับลูกอุรังอุตังอาบน้ำด้วยแชมพูอาบน้ำฆ่าเชื้อโรคและชั่งน้ำหนัก สัตว์แพทย์มาตรวจเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้นอนวันละ 15-22 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีเวลาให้เล่น โดยเอพริล วัย 10 เดือนที่ถูกแม่ทิ้ง และจูน จูเนียร์วัย 3 ขวบ สองตัวป่วนประจำโรงพยาบาล โปรดปรานการดึงสายตรวจวัดการเต้นของหัวใจอย่างที่สุด
ลูกอุรังอุตังสองตัวนี้เกิดในนิคมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนเกาะหลักของมาเลเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของอุรังอุตัง 12 ตัวล่าสุดที่ได้เข้าสู่นิคมนับจากเปิดตัวในเดือนมีนาคม 2004
เอพริลนั้นถูกแม่ทำร้ายและทอดทิ้ง แต่กรณีของจูน-จูเนียร์รุนแรงกว่า เพราะเกิดมาโดยมีน้ำหนักตัวแค่ 1.1 กิโลกรัมเท่านั้น อีกทั้งมีปัญหาระบบทางเดินหายใจจนต้องนำเข้าตู้อบเป็นประจำเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าระดับปกติที่ 36.5 องศา
ลูกอุรังอุตังทั้งหมดจะถูกย้ายไปยังแผนกพัฒนาการสัตว์อ่อนเมื่ออายุครบหนึ่งขวบ เพื่อเรียนรู้วิธีมีชีวิตรอดในป่า และลดการปฏิสัมพันธ์กับคนให้เหลือน้อยที่สุด
เวิลด์ไวด์ ฟันด์ ฟอร์ เนเจอร์ (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) ระบุว่าขณะนี้มีอุรังอุตังบอร์เนียวเหลืออยู่แค่ 3,000 ตัวทั่วโลก แต่โรงพยาบาลแห่งนี้ช่วยยับยั้งอัตราการลดลงของประชากรอุรังอุตังสายพันธุ์นี้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในโรงพยาบาลมีพยาบาล 7 คนที่อุทิศตนเพื่อดูแลลูอุรังอุตัง และบริหารโดยทีมสัตว์แพทย์ที่มีประสบการณ์ที่สุดในมาเลเซีย โรงพยาบาลแห่งนี้ยังทำงานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐซาราวัก
แผนการสำคัญที่สุดของโรงพยาบาลคือ การส่งลูกอุรังอุตัง 23 ตัวคืนป่าในสถานที่ลับบนเกาะบอร์เนียวในปีหน้า เพื่อความอยู่รอดของสัตว์สายพันธุ์นี้
อัตราการเกิดต่ำของอุรังอุตังและการรุกล้ำพื้นที่ป่า ทำให้ประชากรสัตว์สายพันธุ์นี้ลดลงจนเข้าข่ายใกล้สูญพันธุ์
แต่ละปีโรงพยาบาลแห่งนี้มีค่าใช้จ่ายเกือบ 156,000 บาท โดยได้รับอัดฉีดจากรายได้ของบูกิตเมอราห์ปาร์ก ซึ่งถือเป็นรีสอร์ตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ใหญ่ที่สุดของแดนเสือเหลือง
ห่างออกไปไม่กี่ฟุต พยาบาลกำลังชงนม อีกคนเตรียมอ่างอาบน้ำ ที่โต๊ะใกล้ๆ กันมีปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันและขวดยาเรียงราย
ฉากแบบนี้อาจเห็นกันเป็นปกติในแผนกเด็กอ่อน แต่ที่ต่างกันคือสิ่งมีชีวิตตัวน้อยที่มารับการรักษาที่นี่เป็นลูกอุรังอุตัง ไม่ใช่ทารกมนุษย์
แผนกเด็กอ่อนแห่งนี้ที่ตั้งอยู่กลางป่าในมาเลเซีย ในบูกิต เมอราห์ เลก ทาวน์ รีสอร์ต หรือที่เรียกขานกันว่าเกาะอุรังอุตัง เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางสำหรับอุรังอุตังเพียงแห่งเดียวในโลก
ผู้ป่วยทั้งหมดมาจากอุรังอุตังสายพันธุ์บอร์เนียว (Pongo Pygmaeus) ที่ใกล้สูญพันธุ์ และหากไม่มีโรงพยาบาลแห่งนี้ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2004 คงไม่มีอุรังอุตังค์สายพันธุ์นี้เหลือให้เห็นกันอีก
ลูกอุรังอุตังมากมายจากทั้งหมด 23 ตัวที่รับการรักษาอยู่ไม่ถูกแม่ทิ้งก็ถูกทำร้าย และถ้าไม่ได้กินนม พวกมันจะเป็นโรคขาดอาหารขั้นรุนแรง
ในโรงพยาบาล สัตว์เหล่านี้ได้รับการดูแลเช่นเดียวกับคนไข้ ทุกสองชั่วโมงจะมีการป้อนนมขวดและตรวจวัดสัญญาณชีพ ซึ่งรวมถึงความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือดและชีพจร
บนเตียงมีหมอนผ้าห่มพร้อม นอกจากนี้ยังมีตู้อบสำหรับลูกอุรังอุตังที่มีอุณหภูมิต่ำผิดปกติ
ทุกเช้า พยาบาลจะจับลูกอุรังอุตังอาบน้ำด้วยแชมพูอาบน้ำฆ่าเชื้อโรคและชั่งน้ำหนัก สัตว์แพทย์มาตรวจเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้นอนวันละ 15-22 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีเวลาให้เล่น โดยเอพริล วัย 10 เดือนที่ถูกแม่ทิ้ง และจูน จูเนียร์วัย 3 ขวบ สองตัวป่วนประจำโรงพยาบาล โปรดปรานการดึงสายตรวจวัดการเต้นของหัวใจอย่างที่สุด
ลูกอุรังอุตังสองตัวนี้เกิดในนิคมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนเกาะหลักของมาเลเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของอุรังอุตัง 12 ตัวล่าสุดที่ได้เข้าสู่นิคมนับจากเปิดตัวในเดือนมีนาคม 2004
เอพริลนั้นถูกแม่ทำร้ายและทอดทิ้ง แต่กรณีของจูน-จูเนียร์รุนแรงกว่า เพราะเกิดมาโดยมีน้ำหนักตัวแค่ 1.1 กิโลกรัมเท่านั้น อีกทั้งมีปัญหาระบบทางเดินหายใจจนต้องนำเข้าตู้อบเป็นประจำเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าระดับปกติที่ 36.5 องศา
ลูกอุรังอุตังทั้งหมดจะถูกย้ายไปยังแผนกพัฒนาการสัตว์อ่อนเมื่ออายุครบหนึ่งขวบ เพื่อเรียนรู้วิธีมีชีวิตรอดในป่า และลดการปฏิสัมพันธ์กับคนให้เหลือน้อยที่สุด
เวิลด์ไวด์ ฟันด์ ฟอร์ เนเจอร์ (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) ระบุว่าขณะนี้มีอุรังอุตังบอร์เนียวเหลืออยู่แค่ 3,000 ตัวทั่วโลก แต่โรงพยาบาลแห่งนี้ช่วยยับยั้งอัตราการลดลงของประชากรอุรังอุตังสายพันธุ์นี้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในโรงพยาบาลมีพยาบาล 7 คนที่อุทิศตนเพื่อดูแลลูอุรังอุตัง และบริหารโดยทีมสัตว์แพทย์ที่มีประสบการณ์ที่สุดในมาเลเซีย โรงพยาบาลแห่งนี้ยังทำงานร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐซาราวัก
แผนการสำคัญที่สุดของโรงพยาบาลคือ การส่งลูกอุรังอุตัง 23 ตัวคืนป่าในสถานที่ลับบนเกาะบอร์เนียวในปีหน้า เพื่อความอยู่รอดของสัตว์สายพันธุ์นี้
อัตราการเกิดต่ำของอุรังอุตังและการรุกล้ำพื้นที่ป่า ทำให้ประชากรสัตว์สายพันธุ์นี้ลดลงจนเข้าข่ายใกล้สูญพันธุ์
แต่ละปีโรงพยาบาลแห่งนี้มีค่าใช้จ่ายเกือบ 156,000 บาท โดยได้รับอัดฉีดจากรายได้ของบูกิตเมอราห์ปาร์ก ซึ่งถือเป็นรีสอร์ตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ใหญ่ที่สุดของแดนเสือเหลือง