ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมบังคับคดี เตรียมปลดล็อกขายห้องชุดในโครงการคอนโดฯ รอแก้กฎหมาย ผู้ซื้อไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายหนี้ส่วนกลาง เหตุเป็นความผิดของเจ้าเดิม ด้าน ผู้บริหาร บสก.เชียร์ ช่วยจูงใจคนซื้อทรัพย์ ส่วนนายก ส.นักบริหาร อาคารชุดฯ ชี้ ระบายห้องชุดค้างกรมฯ แต่นิติบุคคลอาคารชุดอาจจะขาดรายได้
ในช่วงที่ผ่านมา การประมูลซื้อห้องชุดจากกรมบังคับคดี ค่อนข้างจะมีปัญหาและอุปสรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประมูลซื้อทรัพย์ห้องชุดรายใหม่จะไม่ได้รับรู้เลยว่าห้องชุดดังกล่าวมีภาระ หนี้สินส่วนกลางที่เจ้าของเดิมคงค้างไว้กับนิติบุคคลอาคารชุด และเมื่อเวลาล่วงเลยมาหลายปี หนี้ ดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น จนอาจจะมากพอๆ กับราคาประมูลขายห้องชุดก็ได้
ล่าสุด กรมบังคับคดี ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการ ปลดล็อกภาระผู้ซื้อห้องชุด โดยได้ มีการเสนอเรื่องการแก้ไขกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ.... ซึ่งหลักการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้อง แจ้งนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่น ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โอนทรัพย์สิน หรือแก้ไขทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ (เพิ่มเติม 309 จัตวา วรรคหนึ่ง)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ซื้อจากการ ขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยไม่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับกรณีนี้ (เพิ่มเติมมาตรา 309 จัตวา วรรคสอง)
นายสิรวัต จันทรัฐ อธิบดีกรม บังคับคดี เปิดเผยว่า ทางกรมฯได้เสนอเรื่องการแก้ไขกฎหมายไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อความเห็นชอบต่อการ ปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว เนื่องจาก ในบทบัญญัติในกฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังมีข้อขัดข้อง ก่อให้เกิด ความไม่เป็นธรรม อันทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน เพื่อให้กระบวนการโอนทรัพย์สินมีทะเบียนหรือเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเพื่อเป็นการคุ้มครองให้ผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาด ไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ก่อนการจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากความรับผิดดังกล่าวเป็นของเจ้าของเดิม
'กรมบังคับคดีต้องการให้กระบวนการขายทรัพย์ห้องชุดมีความคล่องตัวมากขึ้น การเสนอเรื่องแก้ไขกฎหมายก็เพื่อคุ้มครอง ผู้ซื้อ แทนที่จะต้องรอหนังสือรับรองการปลดหนี้จากนิติบุคคล อาคารชุด การแก้ไขกฎหมายนี้ไม่ต้องรอแล้ว สามารถดำเนินการโอน กรรมสิทธิ์ได้ ล่าสุดทางรองปลัดกระทรวงยุติธรรมก็ยืนยันว่า เรื่องกำลังดำเนินการอยู่ แต่เนื่องจากเป็นการแก้ไขกฎหมายใหญ่ ก็คิดว่า ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง ทั้งหมดแล้ว เราหวังเพื่อให้ทรัพย์เกิดผลดีต่อผู้ซื้อ ดีในการนำไปใช้ แทนที่จะเป็นซากค้างอยู่ในระบบ' นายสิรวัตกล่าว
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยว่า เป็นเรื่อง ที่ดีในการลดอุปสรรคของการประมูลห้องชุด เนื่องจากผู้ซื้อบางรายอาจจะกังวลต่อภาระหนี้ส่วนกลางที่ตนมิได้เป็นผู้ก่อ ทำให้ตัวเลขรวมในการประมูลสูงเกินไป ทำให้ไม่จูงใจในการประมูลซื้อทรัพย์
นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์ นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร แสดงความเห็นว่า เป็นการปลดล็อกกฎเหล็กเกี่ยว- กับห้องชุด ซึ่งน่าจะช่วยระบายให้ การโอนห้องชุดเกิดขึ้นเร็วแทนที่จะปล่อยให้ทรัพย์เหล่านี้มูลค่าลดลงไปอย่างต่อเนื่อง
'แม้จะเป็นเรื่องดี แต่ข้อระวังก็คือ ทรัพย์ห้องชุดที่กรมบังคับคดีดูแลอยู่นั้น บางทรัพย์ก็นานแล้ว นิติบุคคลอาคารชุดที่บริหารอยู่ก็ขาดรายได้ ตรงนี้ การจะไล่บี้เจ้าของเดิมก็อาจจะต้อง ใช้เวลาที่นาน ดังนั้น น่าจะมีทาง ออกที่ดีทั้งเจ้าของเดิม นิติบุคคลอาคารชุด' นายพิสิฐกล่าว
ในช่วงที่ผ่านมา การประมูลซื้อห้องชุดจากกรมบังคับคดี ค่อนข้างจะมีปัญหาและอุปสรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประมูลซื้อทรัพย์ห้องชุดรายใหม่จะไม่ได้รับรู้เลยว่าห้องชุดดังกล่าวมีภาระ หนี้สินส่วนกลางที่เจ้าของเดิมคงค้างไว้กับนิติบุคคลอาคารชุด และเมื่อเวลาล่วงเลยมาหลายปี หนี้ ดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น จนอาจจะมากพอๆ กับราคาประมูลขายห้องชุดก็ได้
ล่าสุด กรมบังคับคดี ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการ ปลดล็อกภาระผู้ซื้อห้องชุด โดยได้ มีการเสนอเรื่องการแก้ไขกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่..) พ.ศ.... ซึ่งหลักการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้อง แจ้งนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่น ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โอนทรัพย์สิน หรือแก้ไขทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ (เพิ่มเติม 309 จัตวา วรรคหนึ่ง)
2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ซื้อจากการ ขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยไม่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับกรณีนี้ (เพิ่มเติมมาตรา 309 จัตวา วรรคสอง)
นายสิรวัต จันทรัฐ อธิบดีกรม บังคับคดี เปิดเผยว่า ทางกรมฯได้เสนอเรื่องการแก้ไขกฎหมายไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อความเห็นชอบต่อการ ปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว เนื่องจาก ในบทบัญญัติในกฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับคดีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังมีข้อขัดข้อง ก่อให้เกิด ความไม่เป็นธรรม อันทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน เพื่อให้กระบวนการโอนทรัพย์สินมีทะเบียนหรือเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเพื่อเป็นการคุ้มครองให้ผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาด ไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ก่อนการจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากความรับผิดดังกล่าวเป็นของเจ้าของเดิม
'กรมบังคับคดีต้องการให้กระบวนการขายทรัพย์ห้องชุดมีความคล่องตัวมากขึ้น การเสนอเรื่องแก้ไขกฎหมายก็เพื่อคุ้มครอง ผู้ซื้อ แทนที่จะต้องรอหนังสือรับรองการปลดหนี้จากนิติบุคคล อาคารชุด การแก้ไขกฎหมายนี้ไม่ต้องรอแล้ว สามารถดำเนินการโอน กรรมสิทธิ์ได้ ล่าสุดทางรองปลัดกระทรวงยุติธรรมก็ยืนยันว่า เรื่องกำลังดำเนินการอยู่ แต่เนื่องจากเป็นการแก้ไขกฎหมายใหญ่ ก็คิดว่า ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง ทั้งหมดแล้ว เราหวังเพื่อให้ทรัพย์เกิดผลดีต่อผู้ซื้อ ดีในการนำไปใช้ แทนที่จะเป็นซากค้างอยู่ในระบบ' นายสิรวัตกล่าว
นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยว่า เป็นเรื่อง ที่ดีในการลดอุปสรรคของการประมูลห้องชุด เนื่องจากผู้ซื้อบางรายอาจจะกังวลต่อภาระหนี้ส่วนกลางที่ตนมิได้เป็นผู้ก่อ ทำให้ตัวเลขรวมในการประมูลสูงเกินไป ทำให้ไม่จูงใจในการประมูลซื้อทรัพย์
นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์ นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร แสดงความเห็นว่า เป็นการปลดล็อกกฎเหล็กเกี่ยว- กับห้องชุด ซึ่งน่าจะช่วยระบายให้ การโอนห้องชุดเกิดขึ้นเร็วแทนที่จะปล่อยให้ทรัพย์เหล่านี้มูลค่าลดลงไปอย่างต่อเนื่อง
'แม้จะเป็นเรื่องดี แต่ข้อระวังก็คือ ทรัพย์ห้องชุดที่กรมบังคับคดีดูแลอยู่นั้น บางทรัพย์ก็นานแล้ว นิติบุคคลอาคารชุดที่บริหารอยู่ก็ขาดรายได้ ตรงนี้ การจะไล่บี้เจ้าของเดิมก็อาจจะต้อง ใช้เวลาที่นาน ดังนั้น น่าจะมีทาง ออกที่ดีทั้งเจ้าของเดิม นิติบุคคลอาคารชุด' นายพิสิฐกล่าว