ASTVผู้จัดการรายวัน-ญี่ปุ่นต้องการนำเข้าเอนาทอลเพิ่มปีหน้า หลังรัฐบาลออกกฎหมายให้ใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ทำความต้องการใช้พุ่งจาก 50 ล้านลิตรต่อปีเพิ่มเป็น 840 ล้านลิตรต่อปี “อลงกรณ์”ได้ทีดึงผู้นำเข้าญี่ปุ่นเจรจาผู้ผลิตไทย หวังใช้ข้อได้เปรียบขายเอทานอลป้อนญี่ปุ่นแข่งบราซิล ปากีสถาน
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเยือนประเทศญี่ปุ่นว่า ได้หารือกับ นายซานาเอะ ทาอิคาอิชิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (เมติ) และกลุ่มผู้บริหารบริษัท ซูมิโตโม คอร์เปอเรชัน โดยเสนอให้ญี่ปุ่นนำเข้าเอทานอลจากไทยเพิ่มขึ้นในปีหน้า เพราะปี 2553 รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายให้ใช้เอทานอลผสมน้ำมันเพิ่มอีก 3% ทำให้มีความต้องการนำเข้าเอทานอลเพิ่มจาก 50 ล้านลิตรต่อปี เป็น 840 ล้านลิตร จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งออกเพิ่ม ขณะเดียวกัน ในปีหน้า ผู้ประกอบการเอทานอลในไทย มีแผนขยายกำลังผลิตเพิ่มจาก 1.8 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 4 ล้านตัน ซึ่งมีผลผลิตเพียงพอที่จะส่งออกได้
“ได้แสดงความพร้อมว่าไทยพร้อมจะส่งออกเอทานอลให้กับญี่ปุ่น เพราะปัจจุบันไทยผลิตได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก และมีแผนตั้งโรงผลิตพลังงานทดแทนอีก 12 แห่ง ซึ่งภาคเอกชน และรัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสนใจมาก เพราะปีหน้าญี่ปุ่นจะบังคับใช้กฎหมายใช้เอทานอลผสมน้ำมัน ซึ่งต้องนำเข้าเอทานอลเพิ่ม ประกอบกับไทยได้เปรียบ มีต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่าคู่แข่งหลายประเทศ เช่น บราซิล ปากีสถาน เพราะระยะทางใกล้กว่า นอกจากนี้ ไทยยังเสนอให้ญี่ปุ่นเพิ่มการใช้เอทานอล เป็นอี 10 อย่างที่ไทยใช้เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนด้วย”นายอลงกรณ์กล่าว
ปัจจุบันไทยส่งออกเอทานอล ไปญี่ปุ่นเป็นอันดับสาม มีส่วนแบ่งตลาดที่ 12% รองจากบราซิลมี 50% ปากีสถาน 22% แต่ปีหน้าไทยจะเพิ่มปริมาณการส่งออกให้มากขึ้น โดยจะใช้ข้อได้เปรียบทางภาษีในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ที่สามารถส่งออกเอทานอลไปญี่ปุ่นโดยไม่เสียภาษี และหลังจากนี้จะทำหนังสือยืนยันไปถึงเมติ ให้ช่วยประสานนำสมาคมผู้นำเข้าเอทานอล จากญี่ปุ่นมาเจรจาธุรกิจกับสมาคมผู้ผลิตพลังงานทดแทนของไทย
นายอลงกรณ์กล่าวว่า หลังรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศกฎหมายการใช้พลังงานทดแทนในน้ำมัน ทำให้ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าพลังงานทดแทนใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งไทยจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อส่งออกเพราะได้เปรียบค่าขนส่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง บราซิล และสหรัฐฯ โดยปีหน้าคาดว่า หากไทยรักษาส่วนแบ่งตลาดได้ ทำให้มูลค่าส่งออกพลังงานทดแทนเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 10 เท่า ซึ่งส่งผลดีต่อเนื่องถึงเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ที่ขายพืชผลได้ราคาดีขึ้น เพราะแนวโน้มราคาเอทานอลยังน่าปรับขึ้นอีกจากปัจจุบันที่อยู่ 450 เหรียญต่อตัน อีกทั้งช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการแทรกแซงราคาด้วย
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเยือนประเทศญี่ปุ่นว่า ได้หารือกับ นายซานาเอะ ทาอิคาอิชิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (เมติ) และกลุ่มผู้บริหารบริษัท ซูมิโตโม คอร์เปอเรชัน โดยเสนอให้ญี่ปุ่นนำเข้าเอทานอลจากไทยเพิ่มขึ้นในปีหน้า เพราะปี 2553 รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายให้ใช้เอทานอลผสมน้ำมันเพิ่มอีก 3% ทำให้มีความต้องการนำเข้าเอทานอลเพิ่มจาก 50 ล้านลิตรต่อปี เป็น 840 ล้านลิตร จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งออกเพิ่ม ขณะเดียวกัน ในปีหน้า ผู้ประกอบการเอทานอลในไทย มีแผนขยายกำลังผลิตเพิ่มจาก 1.8 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 4 ล้านตัน ซึ่งมีผลผลิตเพียงพอที่จะส่งออกได้
“ได้แสดงความพร้อมว่าไทยพร้อมจะส่งออกเอทานอลให้กับญี่ปุ่น เพราะปัจจุบันไทยผลิตได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก และมีแผนตั้งโรงผลิตพลังงานทดแทนอีก 12 แห่ง ซึ่งภาคเอกชน และรัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสนใจมาก เพราะปีหน้าญี่ปุ่นจะบังคับใช้กฎหมายใช้เอทานอลผสมน้ำมัน ซึ่งต้องนำเข้าเอทานอลเพิ่ม ประกอบกับไทยได้เปรียบ มีต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่าคู่แข่งหลายประเทศ เช่น บราซิล ปากีสถาน เพราะระยะทางใกล้กว่า นอกจากนี้ ไทยยังเสนอให้ญี่ปุ่นเพิ่มการใช้เอทานอล เป็นอี 10 อย่างที่ไทยใช้เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนด้วย”นายอลงกรณ์กล่าว
ปัจจุบันไทยส่งออกเอทานอล ไปญี่ปุ่นเป็นอันดับสาม มีส่วนแบ่งตลาดที่ 12% รองจากบราซิลมี 50% ปากีสถาน 22% แต่ปีหน้าไทยจะเพิ่มปริมาณการส่งออกให้มากขึ้น โดยจะใช้ข้อได้เปรียบทางภาษีในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ที่สามารถส่งออกเอทานอลไปญี่ปุ่นโดยไม่เสียภาษี และหลังจากนี้จะทำหนังสือยืนยันไปถึงเมติ ให้ช่วยประสานนำสมาคมผู้นำเข้าเอทานอล จากญี่ปุ่นมาเจรจาธุรกิจกับสมาคมผู้ผลิตพลังงานทดแทนของไทย
นายอลงกรณ์กล่าวว่า หลังรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศกฎหมายการใช้พลังงานทดแทนในน้ำมัน ทำให้ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าพลังงานทดแทนใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งไทยจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อส่งออกเพราะได้เปรียบค่าขนส่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง บราซิล และสหรัฐฯ โดยปีหน้าคาดว่า หากไทยรักษาส่วนแบ่งตลาดได้ ทำให้มูลค่าส่งออกพลังงานทดแทนเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 10 เท่า ซึ่งส่งผลดีต่อเนื่องถึงเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ที่ขายพืชผลได้ราคาดีขึ้น เพราะแนวโน้มราคาเอทานอลยังน่าปรับขึ้นอีกจากปัจจุบันที่อยู่ 450 เหรียญต่อตัน อีกทั้งช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการแทรกแซงราคาด้วย