ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.รับหน้าที่ตัวกลางเก็บข้อมูลบุคคลที่นำเช็คช่วยชาติมาขอขึ้นเงินให้แก่แบงก์กรุงเทพ มั่นใจรองรับปริมาณเช็คได้มากถึง 800,000-1,000,000 ฉบับต่อวัน ด้านแบงก์กรุงเทพมั่นใจมีเงินเพียงพอรองรับคนแห่เอาเช็คช่วยชาติมาขึ้นเงิน พร้อมตั้งโต๊ะรับแลกใกล้ๆ จุดเปิดรับเช็ค หนุนให้ขึ้นเงินสดเพื่อใช้สอยแทนการฝากเพราะอัตราดอกเบี้ยน้อย
วานนี้(16มี.ค.) เวลา 09.30-12.00 น. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เป็นสื่อกลางเชิญผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องเช็คของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกศูนย์หักบัญชีหรือระบบเครียร์ริ่งเช็คจำนวน 40 แห่ง เข้ามาร่วมรับฟังนโยบายและวิธีดำเนินการเรื่องเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท จำนวน 10.4 ล้านฉบับจากกรมบัญชีกลาง ซึ่งรัฐบาลจะนำเข้าสู่ระบบในวันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและหารืออุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธปท. กล่าวว่า ภายหลังจากการหารือร่วมกันว่าในการเตรียมความพร้อมการนำเช็คช่วยชาติมาขึ้นเงินสดจะแยกออกมาต่างหากกับธุรกรรมเช็คทั่วไปปกติ โดยธปท.จะทำเพียงหน้าที่รับคัดแยกเช็คช่วยชาติ ซึ่งเป็นการบันทึกและเก็บข้อมูลบุคคลที่นำเช็คมาขอขึ้นเงินให้แก่ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงจากกรมบัญชีกลางหรือรัฐบาล และธปท.จะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราถูกเฉพาะธนาคารกรุงเทพเท่านั้น ส่วนประชาชนที่นำเงินมาขึ้นทางสถาบันการเงินจะไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
“ธปท.คาดว่าจากเครื่องคัดแยกเช็คที่มีอยู่ เพื่อนำมาช่วยแบงกกรุงเทพเฉพาะเรื่องเช็คช่วยชาตินี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 5 เครื่องจะสามารถรองรับปริมาณเช็คได้มากถึง 800,000-1,000,000 ฉบับต่อวัน จากช่วงที่ผ่านมาที่เคยมีเช็คเข้ามาในระบบมากถึง 600,000 ฉบับต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วงที่มีการจ่ายเงินเดือนหรือเงินโบนัสให้แก่พนักงาน อย่างไรก็ตาม แม้แบงก์บางแห่งหนักใจบ้าง เพราะห่วงว่าวันที่ 26 มี.ค.เป็นช่วงใกล้กับช่วงปลายเดือน ซึ่งอาจมีธุรกรรมการจ่ายเงินเดือนเยอะ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะแยกคนละบัญชีกับเช็คทั่วไป”
ทั้งนี้ ประชาชนที่นำเช็คช่วยชาติมาขอขึ้นเงินสดกับธนาคารกรุงเทพเท่านั้นที่จะสามารถได้รับเงินทันที แต่ถ้าประชาชนต้องการจะนำไปขึ้นเงินกับสถาบันการเงินอื่นจะสามารถโอนเข้าบัญชีสถาบันการเงินนั้นๆ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่เก็บรวบรวมของพนักงานในบริษัทมาขอขึ้นเงินกับธนาคารกรุงเทพก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะได้รับเงินภายใน 5 วันนับตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบการมาขอขึ้นเงิน ทั้งนี้ สถาบันการเงินอื่นที่ได้รับเช็คช่วยชาติจะทยอยนำส่งธนาคารกรุงเทพ และหลังจากนั้นธปท.จะทำหน้าที่คัดแยกเช็คดังกล่าวต่อไป
นอกจากนี้ ขณะนี้ทางธนาคารกรุงเทพกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำคู่มือ เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์เช็คช่วยชาติที่จะนำมาขึ้นเงิน เพื่อความสะดวกให้แก่ประชาชนและสาขาธนาคารทั่วไปด้วย
ด้านนายธีระ อภัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ธนาคารมีความพร้อมในการรองรับการเบิกเงินสดจากประชาชนที่ได้รับเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท โดยในด้านของเงินสดนั้นไม่มีปัญหาเพียงพอในการรองรับอยู่แล้ว
ทั้งนี้ประชาชนควรนำเช็คมาขึ้นเงินโดยตรงกับธนาคารกรุงเทพ เพราะหากเป็นเช็คข้ามธนาคารอาจจะต้องใช้เวลาในการนำเงินเข้าบัญชีถึง 5 วันทำการ แต่หากเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพสามารถเข้าได้ในวันรุ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนควรนำเช็คมาแลกเป็นเงินสด เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยดีกว่า ซึ่งมีห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ ที่ร่วมรายการมากมาย เพราะหากนำเข้าบัญชีก็ได้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่มากนัก จึงควรสนองนโยบายรัฐบาลดีกว่าทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพได้ประสานไปยังสาขาทั่วประเทศแล้ว ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของประชาชนที่จะนำเช็คมาขึ้นเงินได้ และในวันที่ 26 มี.ค.นี้ ทางธนาคารกรุงเทพมีแนวคิดจะออกไปรับแลกเช็คช่วยชาติเป็นเงินสดในจุดเดียวกับที่รัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนมารับเช็ค เพื่อสร้างความสะดวกและทำให้เงินเข้าสู่ระบบรวดเร็วขึ้น
ธปท.แนะแบงก์อย่าบังคับทำบัตรเดบิต
นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็ม ซึ่งจะได้ค่าธรรมเนียมบัตรรายปีเพิ่มขึ้นเป็น 150 บาท และในอนาคตคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 200 บาทต่อปีว่า ธนาคารพาณิชย์ควรถามความสมัครใจของลูกค้าในการขอบริการ เนื่องจากบัตรเดบิตจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้นจากวิธีการสร้างความปลอดภัยของข้อมูลมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ธนาคารพาณิชย์ต้องอธิบายให้ลูกค้าทราบถึงข้อดีข้อเสียและสุดท้ายต้องให้ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจ
“ยอมรับกรณีนี้ทำให้ลูกค้ามีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งหากแบงก์จะมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมบัตรเพิ่มจริง ก็ต้องมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น เช่นบัตรเดบิตมีชิฟปลอมแปลงได้ยาก ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเห็นข้อดีและตัดสินใจได้อย่างเต็มใจ”นายฉิมกล่าว
วานนี้(16มี.ค.) เวลา 09.30-12.00 น. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เป็นสื่อกลางเชิญผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องเช็คของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกศูนย์หักบัญชีหรือระบบเครียร์ริ่งเช็คจำนวน 40 แห่ง เข้ามาร่วมรับฟังนโยบายและวิธีดำเนินการเรื่องเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท จำนวน 10.4 ล้านฉบับจากกรมบัญชีกลาง ซึ่งรัฐบาลจะนำเข้าสู่ระบบในวันที่ 26 มี.ค.-8 เม.ย.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและหารืออุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธปท. กล่าวว่า ภายหลังจากการหารือร่วมกันว่าในการเตรียมความพร้อมการนำเช็คช่วยชาติมาขึ้นเงินสดจะแยกออกมาต่างหากกับธุรกรรมเช็คทั่วไปปกติ โดยธปท.จะทำเพียงหน้าที่รับคัดแยกเช็คช่วยชาติ ซึ่งเป็นการบันทึกและเก็บข้อมูลบุคคลที่นำเช็คมาขอขึ้นเงินให้แก่ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงจากกรมบัญชีกลางหรือรัฐบาล และธปท.จะคิดค่าธรรมเนียมในอัตราถูกเฉพาะธนาคารกรุงเทพเท่านั้น ส่วนประชาชนที่นำเงินมาขึ้นทางสถาบันการเงินจะไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
“ธปท.คาดว่าจากเครื่องคัดแยกเช็คที่มีอยู่ เพื่อนำมาช่วยแบงกกรุงเทพเฉพาะเรื่องเช็คช่วยชาตินี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 5 เครื่องจะสามารถรองรับปริมาณเช็คได้มากถึง 800,000-1,000,000 ฉบับต่อวัน จากช่วงที่ผ่านมาที่เคยมีเช็คเข้ามาในระบบมากถึง 600,000 ฉบับต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วงที่มีการจ่ายเงินเดือนหรือเงินโบนัสให้แก่พนักงาน อย่างไรก็ตาม แม้แบงก์บางแห่งหนักใจบ้าง เพราะห่วงว่าวันที่ 26 มี.ค.เป็นช่วงใกล้กับช่วงปลายเดือน ซึ่งอาจมีธุรกรรมการจ่ายเงินเดือนเยอะ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะแยกคนละบัญชีกับเช็คทั่วไป”
ทั้งนี้ ประชาชนที่นำเช็คช่วยชาติมาขอขึ้นเงินสดกับธนาคารกรุงเทพเท่านั้นที่จะสามารถได้รับเงินทันที แต่ถ้าประชาชนต้องการจะนำไปขึ้นเงินกับสถาบันการเงินอื่นจะสามารถโอนเข้าบัญชีสถาบันการเงินนั้นๆ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่เก็บรวบรวมของพนักงานในบริษัทมาขอขึ้นเงินกับธนาคารกรุงเทพก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะได้รับเงินภายใน 5 วันนับตั้งแต่วันที่ผู้ประกอบการมาขอขึ้นเงิน ทั้งนี้ สถาบันการเงินอื่นที่ได้รับเช็คช่วยชาติจะทยอยนำส่งธนาคารกรุงเทพ และหลังจากนั้นธปท.จะทำหน้าที่คัดแยกเช็คดังกล่าวต่อไป
นอกจากนี้ ขณะนี้ทางธนาคารกรุงเทพกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำคู่มือ เพื่อตรวจสอบและพิสูจน์เช็คช่วยชาติที่จะนำมาขึ้นเงิน เพื่อความสะดวกให้แก่ประชาชนและสาขาธนาคารทั่วไปด้วย
ด้านนายธีระ อภัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BBL กล่าวว่า ธนาคารมีความพร้อมในการรองรับการเบิกเงินสดจากประชาชนที่ได้รับเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท โดยในด้านของเงินสดนั้นไม่มีปัญหาเพียงพอในการรองรับอยู่แล้ว
ทั้งนี้ประชาชนควรนำเช็คมาขึ้นเงินโดยตรงกับธนาคารกรุงเทพ เพราะหากเป็นเช็คข้ามธนาคารอาจจะต้องใช้เวลาในการนำเงินเข้าบัญชีถึง 5 วันทำการ แต่หากเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพสามารถเข้าได้ในวันรุ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนควรนำเช็คมาแลกเป็นเงินสด เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยดีกว่า ซึ่งมีห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ ที่ร่วมรายการมากมาย เพราะหากนำเข้าบัญชีก็ได้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่มากนัก จึงควรสนองนโยบายรัฐบาลดีกว่าทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพได้ประสานไปยังสาขาทั่วประเทศแล้ว ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของประชาชนที่จะนำเช็คมาขึ้นเงินได้ และในวันที่ 26 มี.ค.นี้ ทางธนาคารกรุงเทพมีแนวคิดจะออกไปรับแลกเช็คช่วยชาติเป็นเงินสดในจุดเดียวกับที่รัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนมารับเช็ค เพื่อสร้างความสะดวกและทำให้เงินเข้าสู่ระบบรวดเร็วขึ้น
ธปท.แนะแบงก์อย่าบังคับทำบัตรเดบิต
นายฉิม ตันติยาสวัสดิกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็ม ซึ่งจะได้ค่าธรรมเนียมบัตรรายปีเพิ่มขึ้นเป็น 150 บาท และในอนาคตคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 200 บาทต่อปีว่า ธนาคารพาณิชย์ควรถามความสมัครใจของลูกค้าในการขอบริการ เนื่องจากบัตรเดบิตจะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้นจากวิธีการสร้างความปลอดภัยของข้อมูลมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ธนาคารพาณิชย์ต้องอธิบายให้ลูกค้าทราบถึงข้อดีข้อเสียและสุดท้ายต้องให้ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจ
“ยอมรับกรณีนี้ทำให้ลูกค้ามีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งหากแบงก์จะมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมบัตรเพิ่มจริง ก็ต้องมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หรือได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น เช่นบัตรเดบิตมีชิฟปลอมแปลงได้ยาก ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเห็นข้อดีและตัดสินใจได้อย่างเต็มใจ”นายฉิมกล่าว