ASTVผู้จัดการรายวัน – สพท.จ้องฟันกองถ่ายหนังนอกรีต หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 แล้วอย่างเป็นทางการ หวังสร้างแรงจูงใจและขอความร่วมมือรัฐและเอกชนให้ได้รับรู้วงกว้างและปฎิบัติตามระบุโทษปรับสูงสุด 1 ล้านบาท จำคุก 1 ปี
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สพท.อยู่ระหว่างการเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ถึงข้อกฎหมายใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ส.2551 เฉพาะในส่วนที่ สพท.รับผิดชอบ นอกจากนั้น ยังให้กองกิจการภาพยนตร์ ได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดในอนุบัญญัติกฎเกณฑ์การขออนุญาติถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายลูกที่จะใช้บังคับภายใต้พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย
พร้อมกันนั้นยังได้เตรียมกำหนดจัดสัมมนาช่วงปลายเดือยเม.ย.นี้ เพื่อให้ความรู้แก่หน่วยงานราชการและภาคเอกชน
“ในอดีตการถ่ายทำภาพยนตร์และธุรกิจภาพยนตร์ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จึงไม่มีบทลงโทษชัดเจน แต่จะพิจารณาตามความผิดที่เกิดขึ้นว่าตรงกับข้อกฎหมายใด แต่เมื่อประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 ก็ต้องการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มารับทราบ เพื่อจะได้ปฎิบัติตาม”
ที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดมากกับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย คือ เนื้อเรื่องของภาพยนตร์ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศต้องเสื่อมเสีย เช่น เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด การค้าประเวณี เนื้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ก่อให้เกิดแตกความสามัคคี เหยียดหยามศาสนา ขัดต่อศีลธรรมและวัฒนธรรม เพราะกองถ่ายทำภาพยนตร์ไม่ได้ชี้แจงเนื้อหาโดยละเอียดในการขออนุญาตถ่ายทำ ประกอบกับสถานที่ถ่ายทำบางแห่งเป็นของภาคเอกชน ซึ่งทั้งเจ้าของสถานที่และกองถ่ายทำก็ไม่เห็นความจำเป็นในการขออนุญาต เพราะเป็นที่ส่วนตัว แต่เมื่อถูกตัดต่อออกมาเป็นภาพยนตร์ภาพที่ออกไปคือประเทศไทย ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศในวงกว้าง เช่นนี้เป็นต้น ดังนั้นกฎหมายใหม่ที่ออกมาจะใช้บังคับให้ภาพยนตร์ทุกเรื่องต้องมีการขออนุญาติถ่ายทำในทุกสถานที่ รวมถึงเจ้าของสถานที่ก็ต้องแจ้งให้กองกิจการภาพยนตร์ได้รับทราบด้วย
“หน่วยงานที่เราต้องการขอความร่วมมือมากที่สุด ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีอำนาจครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวังของตัวเอง ให้ช่วยสอดส่องดูแล และกรมศุลกากร ในกรณีที่มีการนำภาพยนตร์ที่ถ่ายทำเสร็จแล้วออกไปต่างประเทศ โดยต้องขอตรวจสอบว่าภาพยนตร์ดังกล่าวมีใบอนุญาตถ่ายทำในประเทศไทยจริงหรือไม่ หรือเป็นภาพยนตร์ที่นำมาตัดต่อ อัดเสียงทำโพสต์โปรดักส์ชั่น ก็ต้องมีหลักฐานแสดง เพื่อป้องกันการลักลอบนำภาพยนตร์ออกต่างประเทศ”
สำหรับบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด ในกรณีที่เนื้อหาภาพยนตร์ไม่ตรงกับที่ขออนุญาตไว้ โดยเนื้อหาจะกระทบต่อความมั่นคง ภาพลักษณ์ ของประเทศ และสถาบันพระมหากษัตริย์ มีโทษปรับ 1 แสน ถึง 1 ล้านบาท จำคุก 1 ปี ขึ้นอยู่กับความผิดนั้นจะหนักหรือเบาเพียงใด หรือในกรณีไม่ขออนุญาตมีโทษปรับ 1-5 แสนบาท ทั้งนี้การขออนุญาตไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่ภาครัฐต้องการทราบและควบคุมภาพยนตร์ต่างชาติที่มีเนื้อหาในทางไม่ดี ไม่ให้เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยเท่านั้น จึงเชื่อว่ากองถ่ายทำภาพยนตร์และผู้ประกอบการน่าจะให้ความร่วมมือปฎิบัติตามข้อกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในต้นเดือนเม.ย.นี้ จะมีการประชุม คณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธาน ซึ่งจะมีการพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบในวาระอนุบัญญัติกฎเกณฑ์การขออนุญาติถ่ายทำภาพยนตร์ ที่กองกิจการภาพยนตร์ ได้จัดทำนี้ด้วย
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สพท.อยู่ระหว่างการเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ถึงข้อกฎหมายใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ส.2551 เฉพาะในส่วนที่ สพท.รับผิดชอบ นอกจากนั้น ยังให้กองกิจการภาพยนตร์ ได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดในอนุบัญญัติกฎเกณฑ์การขออนุญาติถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายลูกที่จะใช้บังคับภายใต้พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย
พร้อมกันนั้นยังได้เตรียมกำหนดจัดสัมมนาช่วงปลายเดือยเม.ย.นี้ เพื่อให้ความรู้แก่หน่วยงานราชการและภาคเอกชน
“ในอดีตการถ่ายทำภาพยนตร์และธุรกิจภาพยนตร์ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จึงไม่มีบทลงโทษชัดเจน แต่จะพิจารณาตามความผิดที่เกิดขึ้นว่าตรงกับข้อกฎหมายใด แต่เมื่อประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 ก็ต้องการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มารับทราบ เพื่อจะได้ปฎิบัติตาม”
ที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดมากกับการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย คือ เนื้อเรื่องของภาพยนตร์ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศต้องเสื่อมเสีย เช่น เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด การค้าประเวณี เนื้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำลายความมั่นคงของประเทศ ก่อให้เกิดแตกความสามัคคี เหยียดหยามศาสนา ขัดต่อศีลธรรมและวัฒนธรรม เพราะกองถ่ายทำภาพยนตร์ไม่ได้ชี้แจงเนื้อหาโดยละเอียดในการขออนุญาตถ่ายทำ ประกอบกับสถานที่ถ่ายทำบางแห่งเป็นของภาคเอกชน ซึ่งทั้งเจ้าของสถานที่และกองถ่ายทำก็ไม่เห็นความจำเป็นในการขออนุญาต เพราะเป็นที่ส่วนตัว แต่เมื่อถูกตัดต่อออกมาเป็นภาพยนตร์ภาพที่ออกไปคือประเทศไทย ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศในวงกว้าง เช่นนี้เป็นต้น ดังนั้นกฎหมายใหม่ที่ออกมาจะใช้บังคับให้ภาพยนตร์ทุกเรื่องต้องมีการขออนุญาติถ่ายทำในทุกสถานที่ รวมถึงเจ้าของสถานที่ก็ต้องแจ้งให้กองกิจการภาพยนตร์ได้รับทราบด้วย
“หน่วยงานที่เราต้องการขอความร่วมมือมากที่สุด ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีอำนาจครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวังของตัวเอง ให้ช่วยสอดส่องดูแล และกรมศุลกากร ในกรณีที่มีการนำภาพยนตร์ที่ถ่ายทำเสร็จแล้วออกไปต่างประเทศ โดยต้องขอตรวจสอบว่าภาพยนตร์ดังกล่าวมีใบอนุญาตถ่ายทำในประเทศไทยจริงหรือไม่ หรือเป็นภาพยนตร์ที่นำมาตัดต่อ อัดเสียงทำโพสต์โปรดักส์ชั่น ก็ต้องมีหลักฐานแสดง เพื่อป้องกันการลักลอบนำภาพยนตร์ออกต่างประเทศ”
สำหรับบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิด ในกรณีที่เนื้อหาภาพยนตร์ไม่ตรงกับที่ขออนุญาตไว้ โดยเนื้อหาจะกระทบต่อความมั่นคง ภาพลักษณ์ ของประเทศ และสถาบันพระมหากษัตริย์ มีโทษปรับ 1 แสน ถึง 1 ล้านบาท จำคุก 1 ปี ขึ้นอยู่กับความผิดนั้นจะหนักหรือเบาเพียงใด หรือในกรณีไม่ขออนุญาตมีโทษปรับ 1-5 แสนบาท ทั้งนี้การขออนุญาตไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่ภาครัฐต้องการทราบและควบคุมภาพยนตร์ต่างชาติที่มีเนื้อหาในทางไม่ดี ไม่ให้เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยเท่านั้น จึงเชื่อว่ากองถ่ายทำภาพยนตร์และผู้ประกอบการน่าจะให้ความร่วมมือปฎิบัติตามข้อกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในต้นเดือนเม.ย.นี้ จะมีการประชุม คณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธาน ซึ่งจะมีการพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบในวาระอนุบัญญัติกฎเกณฑ์การขออนุญาติถ่ายทำภาพยนตร์ ที่กองกิจการภาพยนตร์ ได้จัดทำนี้ด้วย