ASTV ผู้จัดการรายวัน-นายกสมาคม สสวท. เผย วิกฤติเศรษฐกิจส่งผลต่อยอดขาย SMEs ลดลงอย่างต่อเนื่อง เชื่อผู้ประกอบการจะอยู่รอดได้จะต้องปรับตัว โดยเฉพาะการปรับองค์กรอย่างมีระบบ หันมาให้ความสำคัญกับตลาดเพื่อนบ้าน และตะวันออกกลาง ชี้ คาดการณ์ 3 ปีข้างหน้า ถ้าSMEs แก้วิกฤติอย่างมีแบบแผน จริยธรรม อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สสวท.) เปิดเผยว่า จากสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ค่อนข้างมาก โดยกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ยอดขาย SMEs ลดลงตามไปด้วย และเป็นที่แน่นอนว่าสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ส่งผลกระทบทั่วทุกประเทศ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการ ธุรกิจ SMEs จะต้องปรับตัว โดยเฉพาะในเชิงนโยบาย ควรจะทำให้องค์กรบริหารงานอย่างมีระบบ พร้อมไปกับการปรับโครงสร้างการดำเนินงานในด้านการตลาดในการเพิ่มองค์ความรู้ในการผลิต การสร้างนวัตกรรม และคิด Product ใหม่ ๆ สู่ตลาด และที่สำคัญ ควรจะได้มีการขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายตลาดใหม่ ๆ ในประเทศ อย่างจำพวกกลุ่ม Need Market ที่มีรายได้สูง หรือหันไปทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้านที่เรามีศักยภาพแข่งขันได้ อาทิ ลาว จีน พม่า เวียตนาม และ ตะวันออกกลาง
สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจ SMEs ในอีกสองสามปีข้างหน้า ทางสมาคมฯมองว่าถ้าผู้ประกอบการสามารถแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในปีนี้ได้อย่างมีแบบแผน ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยการเรียนรู้ ทำงานเป็นทีม มีเป้าหมาย จริยธรรม และความเป็นตัวของตัวเอง บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีเหตุผล คาดว่ากิจการของผู้ประกอบการSMEs จะสามารถเติบโตและผ่านพ้นวิกฤติในช่วงนี้ไปได้อย่างแน่นอน
ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในไทยมีอยู่ประมาณ 2 ล้าน 5 แสนกว่าราย มีจำนวนแรงงานในระบบประมาณ 7 - 8 ล้านคน มียอดขายอยู่ประมาณ 4% ของจีดีพีการส่งออก ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการทำธุรกิจอยู่รอดประมาณ 5 - 10 % กลุ่มพอเพียงทำกิจการตามอัตภาพพออยู่ได้ประมาณ 30 % กลุ่มที่ได้มาตรฐานสามารถทำงานร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ได้ประมาณ 20 % และกลุ่มอื่นๆ ประมาณ 10 %
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สสวท.) เปิดเผยว่า จากสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ค่อนข้างมาก โดยกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ยอดขาย SMEs ลดลงตามไปด้วย และเป็นที่แน่นอนว่าสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ส่งผลกระทบทั่วทุกประเทศ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการ ธุรกิจ SMEs จะต้องปรับตัว โดยเฉพาะในเชิงนโยบาย ควรจะทำให้องค์กรบริหารงานอย่างมีระบบ พร้อมไปกับการปรับโครงสร้างการดำเนินงานในด้านการตลาดในการเพิ่มองค์ความรู้ในการผลิต การสร้างนวัตกรรม และคิด Product ใหม่ ๆ สู่ตลาด และที่สำคัญ ควรจะได้มีการขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายตลาดใหม่ ๆ ในประเทศ อย่างจำพวกกลุ่ม Need Market ที่มีรายได้สูง หรือหันไปทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้านที่เรามีศักยภาพแข่งขันได้ อาทิ ลาว จีน พม่า เวียตนาม และ ตะวันออกกลาง
สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจ SMEs ในอีกสองสามปีข้างหน้า ทางสมาคมฯมองว่าถ้าผู้ประกอบการสามารถแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในปีนี้ได้อย่างมีแบบแผน ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยการเรียนรู้ ทำงานเป็นทีม มีเป้าหมาย จริยธรรม และความเป็นตัวของตัวเอง บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีเหตุผล คาดว่ากิจการของผู้ประกอบการSMEs จะสามารถเติบโตและผ่านพ้นวิกฤติในช่วงนี้ไปได้อย่างแน่นอน
ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในไทยมีอยู่ประมาณ 2 ล้าน 5 แสนกว่าราย มีจำนวนแรงงานในระบบประมาณ 7 - 8 ล้านคน มียอดขายอยู่ประมาณ 4% ของจีดีพีการส่งออก ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการทำธุรกิจอยู่รอดประมาณ 5 - 10 % กลุ่มพอเพียงทำกิจการตามอัตภาพพออยู่ได้ประมาณ 30 % กลุ่มที่ได้มาตรฐานสามารถทำงานร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่ได้ประมาณ 20 % และกลุ่มอื่นๆ ประมาณ 10 %