รอยเตอร์/เอเอฟพี - บิ๊กบอสกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) กล่าววานนี้(10)ว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้น่าจะ "ต่ำกว่าศูนย์" เป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี ท่ามกลางวิกฤตที่เวลานี้ผู้คนจำนวนมากเรียกขานว่าเป็น "เศรษฐกิจถดถอยครั้งมโหฬาร" (Great Recession) อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มจี10 แถลงในวันจันทร์(9)ว่า แม้ขณะนี้ยังอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่อยู่ แต่เศรษฐกิจโลกก็กำลัง "เข้าใกล้" จุดที่จะฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว
"ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าอัตราเติบโตของทั่วโลกจะชะลอลงจนอยู่ต่ำกว่าระดับศูนย์ในปีนี้ อันจะเป็นผลประกอบการที่เลวร้ายที่สุดในเกือบจะตลอดช่วงชีวิตของเรา" กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ โดมินิก สเตราส์-คาห์น กล่าวปราศรัยเปิดการประชุมสัมมนาที่ประเทศแทนซาเนีย ว่าด้วยผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกต่อแอฟริกา
"การที่พวกสถาบันการเงินของโลกยังคงอยู่ในช่วงการผ่อนเพลาภาระหนี้สิน เมื่อบวกกับการที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจก็ล่มสลาย จึงกำลังกลายเป็นตัวบีบคั้นอุปสงค์ภายในประเทศตลอดทั่วทั้งโลก ขณะที่การค้าโลกก็กำลังทรุดฮวบลงในอัตราที่น่าอันตราย อีกทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็หล่นวูบเช่นกัน" สเตราส์-คาห์น กล่าวต่อ
เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง สเตราส์-คาห์นยังแสดงการคาดหมายว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเท่ากับ 0% ซึ่งก็ย่ำแย่กว่ารายงานที่ไอเอ็มเอฟเผยแพร่ออกมาในเดือนมกราคม ที่ประมาณการณ์ว่า ยังจะเติบโตในระดับ 0.5%
แต่เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจกำลังทรุดตัวอย่างรวดเร็วในทั่วโลก บิ๊กบอสไอเอ็มเอฟจึงแจงว่า ในรายงานฉบับต่อไปซึ่งน่าจะออกได้ในเดือนเมษายนนั้น "ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมา ทำให้เราต้องเชื่อว่า มันจะเปิดเผยให้เห็นอัตราเติบโตของทั่วโลกที่ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี" เขาบอกกับผู้สื่อข่าวที่กรุงดาร์-เอส-ซาลาม เมืองหลวงของแทนซาเนีย
อย่างไรก็ดี บรรดาผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี 10 ซึ่งประชุมกันที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) เมื่อวันจันทร์(9) ได้ระบุว่า เศรษฐกิจโลกกำลังใกล้ถึงจุดกระเตื้องขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รับรู้กัน เนื่องจากมีปัจจัยด้านบวกหลายๆ ตัวที่สามารถกระตุ้นการเติบโตได้ ยังมิได้ถูกนำมาคำนวณตีค่ากันอย่างจริงจัง
"เรามีองค์ประกอบต่างๆ จำนวนหนึ่งที่กำลังบ่งชี้ว่า เรากำลังเข้าใกล้จุดที่คุณจะได้เห็นการกระเตื้องขึ้น" ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ฌอง-โคลด ทริเชต์ กล่าวในฐานะโฆษกของเหล่าผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มจี10
เขาไม่ได้ระบุอย่างเจาะจงว่าจะถึงจุดกระเตื้องขึ้นกันที่ไหนเมื่อใด แต่ก็กล่าวว่า บรรดาผู้ว่าการธนาคารกลาง มิได้คิดเห็นแตกต่างไปจากการวินิจฉัยโรคของพวกสถาบันระดับโลก ที่ว่าอัตราการเติบโตของโลกในปีนี้จะใกล้ๆ 0% ก่อนที่จะกระเตื้องดีขึ้นในปีหน้า
กระนั้น ทริเชต์ก็ได้อธิบายต่อไปว่า เวลานี้ยังคงมีการประเมินค่าต่ำเกินไป ในเรื่องผลกระทบทางบวกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันที่ลดฮวบลงมา ตลอดจนจากมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ประกาศใช้
ทริเชต์ยังเน้นย้ำข้อดีอีกประการหนึ่ง ได้แก่การที่ทางการผู้รับผิดชอบทั้งหลายมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่ง ที่จะไม่ปล่อยให้พวกสถาบันซึ่งมีความสำคัญต่อระบบทั้งระบบ ต้องล้มครืนลงไป
"นี่เป็นความมุ่งมั่นผูกพันอย่างแรงกล้ามากๆ ของพวกฝ่ายบริหารของประเทศต่างๆ ซึ่งตลาดยังมิได้ตีค่าให้อย่างเต็มที่" เขาบอก
แต่ทริเชต์ก็ยอมรับว่า ในเวลานี้ทางผู้ว่าการธนาคารกลางต่างๆ ยังคงมองเห็นว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงเรื่อยๆ
"ระดับของความไม่แน่นอนยังคงสูงค่อนข้างมาก เราสังเกตเห็นว่าการค้าโลกกำลังทรุดต่ำลงไป ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจเอง และอีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัญหาสินเชื่อขาดแคลน"
ความไม่แน่นอนของตลาดเช่นนี้ ยังมีผลทำให้เกิดการสูญเสียความเชื่อมั่น "เรากำลังมองเห็นว่า ความไม่แน่นอนในระดับที่เป็นอยู่นี้ กำลังไปส่งเสริมภาวะขาดความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นปัจจัยใหญ่มากทีเดียวในบรรดาปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวลงคราวนี้" ทริเชต์กล่าว
"ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าอัตราเติบโตของทั่วโลกจะชะลอลงจนอยู่ต่ำกว่าระดับศูนย์ในปีนี้ อันจะเป็นผลประกอบการที่เลวร้ายที่สุดในเกือบจะตลอดช่วงชีวิตของเรา" กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ โดมินิก สเตราส์-คาห์น กล่าวปราศรัยเปิดการประชุมสัมมนาที่ประเทศแทนซาเนีย ว่าด้วยผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกต่อแอฟริกา
"การที่พวกสถาบันการเงินของโลกยังคงอยู่ในช่วงการผ่อนเพลาภาระหนี้สิน เมื่อบวกกับการที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจก็ล่มสลาย จึงกำลังกลายเป็นตัวบีบคั้นอุปสงค์ภายในประเทศตลอดทั่วทั้งโลก ขณะที่การค้าโลกก็กำลังทรุดฮวบลงในอัตราที่น่าอันตราย อีกทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็หล่นวูบเช่นกัน" สเตราส์-คาห์น กล่าวต่อ
เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง สเตราส์-คาห์นยังแสดงการคาดหมายว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเท่ากับ 0% ซึ่งก็ย่ำแย่กว่ารายงานที่ไอเอ็มเอฟเผยแพร่ออกมาในเดือนมกราคม ที่ประมาณการณ์ว่า ยังจะเติบโตในระดับ 0.5%
แต่เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจกำลังทรุดตัวอย่างรวดเร็วในทั่วโลก บิ๊กบอสไอเอ็มเอฟจึงแจงว่า ในรายงานฉบับต่อไปซึ่งน่าจะออกได้ในเดือนเมษายนนั้น "ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมา ทำให้เราต้องเชื่อว่า มันจะเปิดเผยให้เห็นอัตราเติบโตของทั่วโลกที่ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี" เขาบอกกับผู้สื่อข่าวที่กรุงดาร์-เอส-ซาลาม เมืองหลวงของแทนซาเนีย
อย่างไรก็ดี บรรดาผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี 10 ซึ่งประชุมกันที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) เมื่อวันจันทร์(9) ได้ระบุว่า เศรษฐกิจโลกกำลังใกล้ถึงจุดกระเตื้องขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รับรู้กัน เนื่องจากมีปัจจัยด้านบวกหลายๆ ตัวที่สามารถกระตุ้นการเติบโตได้ ยังมิได้ถูกนำมาคำนวณตีค่ากันอย่างจริงจัง
"เรามีองค์ประกอบต่างๆ จำนวนหนึ่งที่กำลังบ่งชี้ว่า เรากำลังเข้าใกล้จุดที่คุณจะได้เห็นการกระเตื้องขึ้น" ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ฌอง-โคลด ทริเชต์ กล่าวในฐานะโฆษกของเหล่าผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มจี10
เขาไม่ได้ระบุอย่างเจาะจงว่าจะถึงจุดกระเตื้องขึ้นกันที่ไหนเมื่อใด แต่ก็กล่าวว่า บรรดาผู้ว่าการธนาคารกลาง มิได้คิดเห็นแตกต่างไปจากการวินิจฉัยโรคของพวกสถาบันระดับโลก ที่ว่าอัตราการเติบโตของโลกในปีนี้จะใกล้ๆ 0% ก่อนที่จะกระเตื้องดีขึ้นในปีหน้า
กระนั้น ทริเชต์ก็ได้อธิบายต่อไปว่า เวลานี้ยังคงมีการประเมินค่าต่ำเกินไป ในเรื่องผลกระทบทางบวกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันที่ลดฮวบลงมา ตลอดจนจากมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ประกาศใช้
ทริเชต์ยังเน้นย้ำข้อดีอีกประการหนึ่ง ได้แก่การที่ทางการผู้รับผิดชอบทั้งหลายมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่ง ที่จะไม่ปล่อยให้พวกสถาบันซึ่งมีความสำคัญต่อระบบทั้งระบบ ต้องล้มครืนลงไป
"นี่เป็นความมุ่งมั่นผูกพันอย่างแรงกล้ามากๆ ของพวกฝ่ายบริหารของประเทศต่างๆ ซึ่งตลาดยังมิได้ตีค่าให้อย่างเต็มที่" เขาบอก
แต่ทริเชต์ก็ยอมรับว่า ในเวลานี้ทางผู้ว่าการธนาคารกลางต่างๆ ยังคงมองเห็นว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงเรื่อยๆ
"ระดับของความไม่แน่นอนยังคงสูงค่อนข้างมาก เราสังเกตเห็นว่าการค้าโลกกำลังทรุดต่ำลงไป ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจเอง และอีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัญหาสินเชื่อขาดแคลน"
ความไม่แน่นอนของตลาดเช่นนี้ ยังมีผลทำให้เกิดการสูญเสียความเชื่อมั่น "เรากำลังมองเห็นว่า ความไม่แน่นอนในระดับที่เป็นอยู่นี้ กำลังไปส่งเสริมภาวะขาดความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นปัจจัยใหญ่มากทีเดียวในบรรดาปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวลงคราวนี้" ทริเชต์กล่าว