เอเอฟพี - อดีตกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เรียกร้องเมื่อวานนี้(9) ให้มีองค์การระดับยักษ์ใหญ่แห่งใหม่ ที่จะเป็นตัวแทนของทุกๆ ประเทศ ทำหน้าที่ช่วยเหลือไม่ให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเงินทั่วโลกเฉกเช่นปัจจุบันนี้ขึ้นมาอีก
ระหว่างกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ อดีตบิ๊กบอสไอเอ็มเอฟ มิเชล กองเดส์ซูส์ บอกว่า "กลุ่มธรรมาภิบาลระดับโลก" แห่งนี้ จะติดตามเฝ้าระวังเรื่องสภาพทางการเงินและทางเงินตราของทุกๆ ประเทศ
นี่อาจหมายความว่า "จะต้องมีการขยายอำนาจหน้าที่ของไอเอ็มเอฟ จากเพียงแค่เรื่องเงินตรา ก็ให้มายังประเด็นทางด้านการเงินด้วย" เขากล่าว
และเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมาย องค์การใหม่นี้ควรที่จะ "มีรากเหง้าอยู่ในโครงสร้างของยุคเบรตตันวูดส์" แทนที่จะอยู่ในลักษณะเป็นกลุ่มความร่วมมือของหลายๆ ประเทศ แบบเดียวกับ จี8 หรือ จี20
"เราต้องทำให้แน่ใจว่าทุกๆ ประเทศต่างมีตัวแทนอยู่ในทุกๆ ระดับของธรรมาภิบาลในระบบนี้ รวมทั้งในระดับปลายสูงสุดด้วย" เขาบอกต่อที่ประชุมสัมมนา
เขายอมรับว่าบางประเทศ โดยเฉพาะพวกทางยุโรป จะมีอิทธิพลน้อยลงและมีสิทธิเสียงน้อยลงในองค์การใหม่นี้เมื่อเทียบกับที่พวกเขาเคยมีอยู่ในไอเอ็มเอฟ แต่เขาก็ยืนยันว่าพวกประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในเอเชีย ควรจะต้องผลักดันให้เกิดกลุ่มชนิดนี้ขึ้นมา
"เอเชียกำลังนั่งอยู่ในที่นั่งคนขับ" เขาบอก พร้อมกับยกตัวอย่างต่างๆ ที่ชี้ว่าทวีปนี้กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นมากมายในเศรษฐกิจของโลก
กองเดส์ซูส์กล่าวว่า อันที่จริงความจำเป็นที่จะต้องมีองค์การเช่นนี้ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว ภายหลังจากวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1997 "แต่ทันทีที่วิกฤตยุติลง เราก็ลืมเรื่องการปฏิรูปไปแล้ว"
"เรากำลังจ่ายเงินสำหรับการละเลยดังกล่าว" เขาบอกพร้อมกับชี้ว่า วิกฤตคราวนี้ถือเป็น "วิกฤตระดับสากลครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ"
ระหว่างกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ อดีตบิ๊กบอสไอเอ็มเอฟ มิเชล กองเดส์ซูส์ บอกว่า "กลุ่มธรรมาภิบาลระดับโลก" แห่งนี้ จะติดตามเฝ้าระวังเรื่องสภาพทางการเงินและทางเงินตราของทุกๆ ประเทศ
นี่อาจหมายความว่า "จะต้องมีการขยายอำนาจหน้าที่ของไอเอ็มเอฟ จากเพียงแค่เรื่องเงินตรา ก็ให้มายังประเด็นทางด้านการเงินด้วย" เขากล่าว
และเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมาย องค์การใหม่นี้ควรที่จะ "มีรากเหง้าอยู่ในโครงสร้างของยุคเบรตตันวูดส์" แทนที่จะอยู่ในลักษณะเป็นกลุ่มความร่วมมือของหลายๆ ประเทศ แบบเดียวกับ จี8 หรือ จี20
"เราต้องทำให้แน่ใจว่าทุกๆ ประเทศต่างมีตัวแทนอยู่ในทุกๆ ระดับของธรรมาภิบาลในระบบนี้ รวมทั้งในระดับปลายสูงสุดด้วย" เขาบอกต่อที่ประชุมสัมมนา
เขายอมรับว่าบางประเทศ โดยเฉพาะพวกทางยุโรป จะมีอิทธิพลน้อยลงและมีสิทธิเสียงน้อยลงในองค์การใหม่นี้เมื่อเทียบกับที่พวกเขาเคยมีอยู่ในไอเอ็มเอฟ แต่เขาก็ยืนยันว่าพวกประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในเอเชีย ควรจะต้องผลักดันให้เกิดกลุ่มชนิดนี้ขึ้นมา
"เอเชียกำลังนั่งอยู่ในที่นั่งคนขับ" เขาบอก พร้อมกับยกตัวอย่างต่างๆ ที่ชี้ว่าทวีปนี้กำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นมากมายในเศรษฐกิจของโลก
กองเดส์ซูส์กล่าวว่า อันที่จริงความจำเป็นที่จะต้องมีองค์การเช่นนี้ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว ภายหลังจากวิกฤตการเงินเอเชียในปี 1997 "แต่ทันทีที่วิกฤตยุติลง เราก็ลืมเรื่องการปฏิรูปไปแล้ว"
"เรากำลังจ่ายเงินสำหรับการละเลยดังกล่าว" เขาบอกพร้อมกับชี้ว่า วิกฤตคราวนี้ถือเป็น "วิกฤตระดับสากลครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ"